ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น้ำประปา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bionext (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ในกรุงเทพมหานคร น้ำประปาผลิตมาจากน้ำดิบบริเวณ[[คลองเปรมประชากร]] สูบเข้าไปยังถังพักตกตะกอน และผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจึงเพิ่มแรงดันและส่งไปยังท่อน้ำต่างๆในบ้านของผู้ใช้น้ำ
น้ำประปามีสารที่เรียกว่า [[คลอรีน]] ผสมเพื่อยับยั้งเชื้อโรค น้ำประปาสามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้ มีข้อแนะนำว่าหากต้องการนำน้ำประปาไปบริโภค ควรนำไปต้มให้เดือดอีกครั้งเพื่อเป็นการกำจัดสารคลอรีน ที่ปะปนอยู่ และ ฆ่าเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบท่อส่งน้ำ
== ค่าน้ำประปา ==
อัตราค่าน้ำประปาในประเทศไทย ของการประปานครหลวง จะคำนวณตามหน่วยของน้ำที่ใช้ โดย 1 หน่วย = 1,000 ลิตร โดยแต่ละเดือน ตัวเลขในมาตรวัดน้ำจะถูกจด โดยเศษของหน่วยจะถูกตัดทิ้ง แต่จะสมทบไปในการคิดค่าน้ำเดือนถัดไป เช่น เดือนแรก ใช้ 2.7 หน่วย (2,700 ลิตร) ค่าน้ำเดือนแรกจะคิด 2 หน่วย อีก 0.7 หน่วย จะทดในเดือนถัดไป เช่นเดือนที่สอง ใช้ 2.5 หน่วย (2,500 ลิตร) ค่าน้ำจะคิก 2.5 + 0.7 = 3.2 หน่วย คิดค่าน้ำ 3 หน่วย อีก 0.2 ทดไปเดือนถัดไป เป็นต้น
 
* '''ค่าน้ำตามจำนวนหน่วยที่ใช้''' ในส่วนนี้ จะแบ่งการคิดคำนวณออกเป็น 2 ส่วน คือ R1 สำหรับเคหสถานประเภทที่อยู่อาศัย และ R2 สำหรับเคหสถานประเภทธุรกิจ ราชการ รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม และอื่นๆ
{| class="wikitable"
|-
! หน่วยที่ !! ค่าน้ำ R1 (บาท/หน่วย) !! ค่าน้ำ R2 (บาท/หน่วย)
|-
| 1-10 || rowspan="3"|8.50 || 9.50
|-
| 11-20 || 10.70
|-
| 21-30 || 10.95
|-
| 31-40 || 10.03 || 13.21
|-
| 41-50 || 10.35 || 13.54
|-
| 51-60 || 10.68 || 13.86
|-
| 61-70 || 11.00 || rowspan="2"|14.19
|-
| 71-80 || 11.33
|-
| 81-90 || 12.50 || rowspan="2"|14.51
|-
| 91-100 || 12.82
|-
| 101-120 || 13.15 || 14.84
|-
| 121-160 || 13.47 || 15.16
|-
| 161-200 || 13.80 || 15.49
|-
| 201 ขึ้นไป || 14.45 || 15.81
|-
|}
ทั้งนี้ มีค่าน้ำขั้นต่ำ คือ 45 บาท สำหรับ R1 และ 90 บาท สำหรับ R2
* '''ค่าน้ำดิบ''' คิดในอัตราคงตัว หน่วยละ 0.15 บาท
* '''ค่าบริการรายเดือน''' คิดตามขนาดมาตรวัดน้ำ โดยจะมีขนาดมาตรวัดน้ำ 11 ขนาด ซึ่งขนาดที่เล็กลง จะทำให้น้ำไหลเข้าถังน้ำช้าลง แต่ค่าบริการรายเดือนจะถูกลงด้วย การเลือกขนาดมาตรวัดน้ำจึงควรเลือกให้เหมาะสม หากเลือกขนาดมาตรใหญ่เกินไป จะเป็นการเสียค่าบริการมากเกินไปโดยใช่เหตุ แต่ถ้าเล็กเกินไป น้ำอาจไหลเข้าถังน้ำน้อยกว่าความต้องการของอาคารได้ ค่าบริการรายเดือนของมาตรแต่ละขนาดเป็นดังนี้
{| class="wikitable"
|-
! ขนาดมาตรวัดน้ำ (นิ้ว) !! ค่าบริการรายเดือน (บาท/เดือน)
|-
| 0.5 || 25
|-
| 0.75 || 40
|-
| 1 || 50
|-
| 1.5 || 80
|-
| 2 || 300
|-
| 3 || 400
|-
| 4 || 500
|-
| 6 || 900
|-
| 8 || 1,100
|-
| 12 || 3,500
|-
| 16 || 5,000
|}
* '''ภาษีมูลค่าเพิ่ม''' คำนวณจาก ค่าใช้จ่ายใน 3 ส่วนแรก รวมกัน แล้วคูณด้วย 0.07
[[หมวดหมู่:น้ำ]]
{{โครง}}