ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาเตอร์กิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ภาษากลุ่มเตอร์กิก'''เป็นกลุ่มของภาษาที่แพร่กระจายจาก[[ยุโรป...
 
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8:
[[Image:Altaic family2.svg|left|thumb|300px|การแพร่กระจายของ[[ตระกูลภาษาอัลไตอิก]] จาก [[ยูเรเชีย]] รวม[[ภาษาญี่ปุ่น]]และ [[ภาษาเกาหลี]]]]
===การบันทึกในยุคแรก===
บันทึกของภาษากลุ่มเตอร์กิกเริ่มพบเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 โดยเป็นจารึก[[อักษรออร์คอน]]ของ[[ชาวกอกเติร์ก]]เขียนด้วย[[ภาษาเตอร์กิกโบราณ]] ซึ่งค้นพบครั้งแรกเมือ พ.ศ. 2432 ที่[[หุบเขาออร์คอน]]ใน[[มองโกเลีย]] หนังสือ Compendium of the Turkic Dialects ( Divânü Lügati't-Türk) เขียนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 โดย Kaşgarlı Mahmud ของดินแดนการา-คานิดข่านเป็นเอกสารภาษาศาสตร์ชุดแรกของภาษากลุ่มนี้ซึ่งเน้นที่ภาษากลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ หนังสือ Cordex Cumanicus ได้กล่าวถึงสาขาตะวันตกเฉียงเหนือเทียบระหว่าง[[ภาษาเคียปชัก]] กับ[[ภาษาละติน]]ที่ใช้โดยมิชชันนารี[[นิกายโรมันคาทอลิก]]ซึ่งส่งไปยังคูมานที่อยู่ใน[[ฮังการี]]และ[[โรมาเนีย]] บันทึกรุ่นแรกของภาษาของชาวโวลกา บุลกาชิที่กลายมาเป็น[[ภาษาชูวาส]]ในปัจจุบัน เริ่มพบในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19
 
== การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์และพัฒนาการ ==
จากการแพร่กระจายของชาวเตอร์กในยุคกลางตอนต้น ภาษากลุ่มเตอร์กิกได้แพร่หลายไปทั่ว[[เอเชียกลาง]] เริ่มจาก[[ไซบีเรีย]] ([[สาธารณรัฐซาคา]]) ไปถึง[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] (เซลจุกเตอร์ก) หน่วยของภาษากลุ่มเตอร์กิก ได้แพร่หลายไปเป็นส่วนหนึ่งของ[[ภาษาฮังการี]] [[ภาษาเปอร์เซีย]] [[ภาษาอูรดู]] [[ภาษารัสเซีย]] [[ภาษาจีน]] และ[[ภาษาอาหรับ]]
 
== การจัดจำแนก ==
 
เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกได้เคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่อง และได้ติดต่อกับภาษาที่อยู่ใกล้เคียง ทั้ง[[ภาษากลุ่มอิหร่าน]] [[ภาษากลุ่มสลาฟ]] และ[[ภาษากลุ่มมองโกเลีย]] โดยทั่วไป ภาษากลุ่มเตอร์กิกแบ่งได้เป็น 6 สาขา คือ
* ภาษากลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ หรือ[[ภาษากลุ่มโอคุซ]]
* ภาษากลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ[[ภาษากลุ่มเคียบชัก]]
* ภาษากลุ่มตะวันออกเฉียงใต้ หรือ[[ภาษากลุ่มอุยกูร์]]
* ภาษากลุ่มตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ[[ภาษากลุ่มไซบีเรีย]]
* [[ภาษากลุ่มโอคูร์]]
* [[ภาษาอาร์คู]]
อาจรวมภาษากลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ ภาษากลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือ ภาษากลุ่มตะวันออกเฉียงใต้ และภาษากลุ่มโอคูร์เข้าเป็น[[ภาษากลุ่มเตอร์กิกตะวันตก]] ที่เหลือจัดเป็น[[ภาษากลุ่มเตอร์กิกตะวันออก]] ทางด้านภูมิศาสตร์และภาษาศาสตร์ จัดให้ ภาษากลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือ ภาษากลุ่มตะวันออกเฉียงใต้รวมเป็น[[ภาษากลุ่มเตอร์กิกกลาง]] ส่วนภาษากลุ่มตะวันออกเฉียงเหนือ และภาษาคาลาซจัดเป็นภาษาที่อยู่ที่ราบ
 
== การเปรียบเทียบคำศัพท์ ==