ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แทนที่ข้อความทั้งหมดด้วย "สุเทพ ฆ่าประชาชน"
บรรทัด 1:
สุเทพ ฆ่าประชาชน
{{ผู้นำประเทศ
| image = Suthep Thaugsuban.jpg
| order = รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ <br/>ผู้กำกับการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน<br/>และผู้อำนวยการ ศอฉ.
| primeminister = [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]
| term_start = [[20 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]]
| term_end =
| predecessor = [[สมพงษ์ อมรวิวัฒน์]]<br />[[ชวรัตน์ ชาญวีรกูล]]<br />[[สนั่น ขจรประศาสน์]]<br />[[โอฬาร ไชยประวัติ]]
| successor = -
| order2 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม]]
| primeminister2 = [[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]]
| term_start2 = [[14 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2540]]
| term_end2 = [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2543]]
| predecessor2 = [[สุวัจน์ ลิปตพัลลภ]]
| successor2 = [[สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ]]
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2492|7|7}}
| birth_place = [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี|สุราษฎร์ธานี]] [[ประเทศไทย]]
| death_date =
| death_place =
| party = [[พรรคประชาธิปัตย์]]
| spouse = [[ศรีสกุล พร้อมพันธุ์|นางศรีสกุล พร้อมพันธุ์]]
| religion = [[พุทธ]]
| signature =
| footnotes =
}}
'''นายสุเทพ เทือกสุบรรณ''' รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เลขาธิการ[[พรรคประชาธิปัตย์]] และ ส.ส.สุราษฎร์ธานี หลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงคมนาคม]] และรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง
 
ในวัยหนุ่มนายสุเทพเคยดำรงตำแหน่ง กำนัน[[ตำบลท่าสะท้อน]] [[อำเภอพุนพิน]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] ด้วยวุฒิการศึกษา ระดับปริญญาโท จากสหรัฐอเมริกา ขณะที่ประเทศไทยในสมัยนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวงยังจบแค่ชั้น ป. 4 ทำให้จนถึงขณะนี้ บางครั้งยังมีคนเรียกนายสุเทพว่า "กำนันสุเทพ"
 
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มีชื่อเรียกเล่นๆ จาก[[สื่อมวลชน]]โดยทั่วไปว่า "'''เทพเทือก'''" ซึ่งเกิดจากการย่อ ชื่อและนามสกุล "สุ'''เทพ เทือก'''สุบรรณ" รวมเข้าด้วยกันนั่นเอง
 
[[เอนก เหล่าธรรมทัศน์|รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์]] แกนนำ[[พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา]] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยกล่าวถึง นายสุเทพ ไว้ในหนังสือ '''พิศการเมือง''' ความว่า
 
"คุณสุเทพเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้าที่สุดคนหนึ่ง เพียงแต่คนภายนอกอาจจะสัมผัสถึงได้ยาก กว่าคนภายใน ความจริงถ้า เสธ. และคุณสุเทพ สามารถจับมือกันได้ พรรคประชาธิปัตย์จะเข้มแข็ง จนเปลี่ยนแปลงการเมืองไปสู่มิติใหม่ๆ ได้อีกมาก"
 
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ประกาศจัดตั้ง [[รัฐบาลเงา|คณะรัฐมนตรีเงา]] หรือ [[รัฐบาลเงา|ครม.เงา]] ขึ้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ '''[[รัฐบาลเงา|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา]]'''
 
ปลายปี [[พ.ศ. 2552]] ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค[[พรรคพลังประชาชน]] ส่งผลให้รัฐบาล[[สมชาย วงศ์สวัสดิ์|นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์]] สิ้นสุดลง นายสุเทพ มีบทบาทสำคัญในการประสานงานให้เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ทำให้อดีตพรรคร่วมรัฐบาลสมชาย รวมถึง สส.[[กลุ่มเพื่อนเนวิน]] เปลี่ยนขั้วมาสนับสนุน[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] ขึ้นดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] และนายสุเทพได้ดำรงตำแหน่ง '''รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง'''
 
== ประวัติทั่วไป ==
"นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" เกิดวันที่ [[7 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2492]] เป็นบุตรนายจรัส เทือกสุบรรณกำนัน[[ตำบลท่าสะท้อน]] [[อำเภอพุนพิน]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] และนางละม้าย เทือกสุบรรณ มีพี่น้องท้องเดียวกัน 7 คนคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นางศิริรัตน์กับนางรัชนี (เป็นคู่แฝด) [[เชน เทือกสุบรรณ|นายเชน เทือกสุบรรณ]] นางจิราภรณ์ เทือกสุบรรณ [[ธานี เทือกสุบรรณ|นายธานี เทือกสุบรรณ]] และนางกิ่งกาญจน์ เทือกสุบรรณ
 
นายสุเทพสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2515]] และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2518]] หลังจากสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทกลับมา นายสุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนัน ขณะมีอายุเพียงประมาณ 26 ปี โดยมีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโทจากเมืองนอก ขณะที่ประเทศไทยในช่วงนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวง ยังจบการศึกษา แค่ประถมศึกษาปีที่ 4{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ต่อมานายสุเทพตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ตำแหน่งกำนันตำบลท่าสะท้อนว่างลง และมีน้าชายของนายสุเทพมาดำรงตำแหน่งต่อ และตามด้วย [[ธานี เทือกสุบรรณ|นายธานี เทือกสุบรรณ]] ผู้เป็นน้องชายของนายสุเทพ มาดำรงตำแหน่งต่ออีก 10 ปี จนลาออก เพื่อลงเล่นการเมืองระดับจังหวัด ในที่สุดกำนันจรัส บิดาของนายสุเทพ ได้กลับเข้าดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลท่าสะท้อน อีกครั้งหนึ่งด้วยวัย 76 ปี โดยได้รับเลือกตั้งอย่างไร้คู่แข่งขัน กลายเป็นเจ้าของสถิติ กำนันผู้มีอายุสูงที่สุดในประเทศไทย{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
ปัจจุบันนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สมรสกับ นาง[[ศรีสกุล พร้อมพันธุ์]] ซึ่งเป็นน้องสาวของนาย[[นิพนธ์ พร้อมพันธ์]] และอดีตภรรยาของนาย[[พรเทพ เตชะไพบูลย์]] มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน คือ นายแทน เทือกสุบรรณ, น.ส.น้ำตาล เทือกสุบรรณ และ น.ส.น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ <ref>http://www.prachathai.com/webboard/topic.php?id=682189</ref>
 
== การทำงานการเมืองระดับประเทศ ==
 
นายสุเทพ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]] 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงคมนาคม]]
 
สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือ [[พรรคชาติไทย]] ที่มี[[บรรหาร ศิลปอาชา|นายบรรหาร ศิลปอาชา]]เป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีเกิดการทุจริตในการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า สปก.4-01 โดยในครั้งนั้นพรรคชาติไทยมี [[เนวิน ชิดชอบ|นายเนวิน ชิดชอบ]] เป็นกำลังสำคัญนำอภิปรายใน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งส่งผลให้ [[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]] นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจ [[ยุบสภา]] ก่อนที่จะมีการลงมติ และจัดให้มีการ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2538 ซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น [[นายกรัฐมนตรี]] คนที่ 21 ของประเทศไทย ส่วนนายเนวินได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี เป็นครั้งแรกในชีวิต ด้วยตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงการคลัง]]
 
แม้ว่านับตั้งแต่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในปี [[พ.ศ. 2538]] นายสุเทพ ไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี สปก.4-01 แต่อย่างใด (แต่ศาลฎีกาพิพากษาสั่งให้ ทศพร เทพบุตร ออกจากที่ดินหลวงที่ยึดครองเป็นสมบัติส่วนตัวนานถึง 12 ปี) แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าว มาอ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด
 
นายสุเทพ เคยดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2548 และดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน
 
หลัง [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548|การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548]] [[พรรคประชาธิปัตย์]] ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหารพรรคครั้งใหญ่ นายสุเทพได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรค และพอดีกับมีบทบาทอย่างมากใน [[คดียุบพรรค]] โดยเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้อง [[พรรคไทยรักไทย]] และต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรค โดยกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
 
== ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ==
* เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี 9 สมัย (พ.ศ. 2522, 2526, 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2550)
* เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ 2 สมัย (พ.ศ. 2544 และ 2548)
* เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงพาณิชย์]] ([[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]]) พ.ศ. 2524
* เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]] ([[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]]) พ.ศ. 2524-2526
* เลขานุการรัฐมนตรีประจำ[[สำนักนายกรัฐมนตรี]] ([[บัญญัติ บรรทัดฐาน|นายบัญญัติ บรรทัดฐาน]]) พ.ศ. 2526-2529
* รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2529-2531
* ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตร พ.ศ. 2531
* รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2535-2537
* ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม พ.ศ. 2539
* รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงคมนาคม]] พ.ศ. 2540-2543
* รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2542-2546
* กรรมการสภาที่ปรึกษา[[พรรคประชาธิปัตย์]] พ.ศ. 2546-2548
* เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน
* [[รัฐบาลเงา|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา]] พ.ศ. 2551
* [[รองนายกรัฐมนตรี]] พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[ไฟล์:Order of the White Elephant - 3rd Class (Thailand) ribbon.png|80px]] พ.ศ. 2522 [[ตริตาภรณ์ช้างเผือก]]
* [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - 2nd Class (Thailand) ribbon.png|80px]] พ.ศ. 2524 [[ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย]]
* [[ไฟล์:Order of the White Elephant - 2nd Class (Thailand) ribbon.png|80px]] พ.ศ. 2526 [[ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก]]
* [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - 1st Class (Thailand) ribbon.png|80px]] พ.ศ. 2528 [[ประถมาภรณ์มงกุฎไทย]]
* [[ไฟล์:Order of the White Elephant - 1st Class (Thailand) ribbon.png|80px]] พ.ศ. 2529 [[ประถมาภรณ์ช้างเผือก]]
* [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png|80px]] พ.ศ. 2530 [[มหาวชิรมงกุฎ]]
* [[ไฟล์:Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png|80px]] พ.ศ. 2535 [[มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.shadowdp.com เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์]
* [http://www.thaiswatch.com/display/content.php?type=politicians&list=&pid=POL0000000850 เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com ]
 
== อ้างอิง ==
<references />
{{สืบตำแหน่งพิเศษเริ่ม}}
 
{{สืบตำแหน่งพิเศษ
| สี1 = #E9E9E9
| สี2 =
| สี3 = #E9E9E9
| รูปภาพ = Seal Prime Minister of Thailand.png
| ตำแหน่ง = [[รายนามรองนายกรัฐมนตรีของไทย|รองนายกรัฐมนตรี]] ([[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย|ครม. 59]])
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = <small>[[สมพงษ์ อมรวิวัฒน์]]<br />[[ชวรัตน์ ชาญวีรกูล]]<br />[[สนั่น ขจรประศาสน์]]<br />[[โอฬาร ไชยประวัติ]]</small>
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = —
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = [[20 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]] – ปัจจุบัน
}}
{{จบกล่อง}}
 
{{เกิดปี|2492}}{{alive}}
 
{{คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44 ของไทย}}
{{คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 ของไทย}}
{{คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 ของไทย}}
{{คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย}}
{{รองนายกรัฐมนตรีของไทย}}
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย}}
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์}}
{{คณะรัฐมนตรีเงาคณะที่ 1 ของไทย}}
{{พรรคประชาธิปัตย์}}
 
[[หมวดหมู่:ชาวสุราษฎร์ธานี]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคประชาธิปัตย์]]
[[หมวดหมู่:รองนายกรัฐมนตรีไทย]]
[[หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
 
[[de:Suthep Thaugsuban]]
[[en:Suthep Thaugsuban]]