ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมไกรสร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Joobjoob (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] กับเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ธิดาพระจักรีเมืองนครราชศรีธรรมราช พระองค์เจ้าไกรสรเกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 พระประวัติเมื่อทรงพระเยาวน์นั้น ก.ศ.ร. กุหลาบบันทึกไว้ว่า "พระองค์ท่านเปนจอมปราชญ์ จินตะกระวีบัณฑิตย์ ชาติ์ราชตระกูลสุริยวงศ์อันประเสริฐ" และจากวารสารภาษาอังกฤษที่ชื่อ ''Siam Repository'' กล่าวถึงความโดดเด่นโดยเฉพาะด้านการศาสนาและโหราศาสตร์ ว่า "ทรงมีความรู้ทางด้าน[[พุทธศาสนา]]อย่างดีเยี่ยม เหนือกว่าพระบรมวงศานุวงศ์อื่น ๆ"<ref>Siam J. Smith. ''Siam Repository'', Vol 1, January 1869, p. 337. </ref> ด้วยเหตุนี้รัชกาลที่ 2 จึงทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นรักษรณเรศร กำกับกรมสังฆการี ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงกำกับกรมวังและอธิบดีกรมพระคชบาลต่อจาก [[พระองค์เจ้าอภัยทัต กรมหลวงเทพพลภักดิ์]] ซึ่งเป็นพระเชษฐา
 
นอกจากนี้หม่อมไกรสรยัง เมื่อยังทรงเป็นกรมหมื่นรักษรณเรศรได้ทรงงานเคียงคู่กับ[[กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์]] (ร.3) มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และในฐานะ พระปิตุลา หรือ "อา" ทรงงานรับใช้ราชการเคียงคู่กับ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เกือบตลอดรัชกาล ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น '''กรมหลวงรักษ์รณเรศนรณเรศ''' และโปรดให้กำกับกรมวัง
 
ผลงานของหม่อมไกรสร ทรงมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งในทางการตัดสินคดีความ กำกับกรมวัง ดูแลการจ่ายเบี้ยหวัดประจำปีของ[[พระราชวงศ์]]และ[[ขุนนางไทย|ขุนนาง]] แต่ดูเหมือนในด้านงานการสงครามที่ในพระราช[[พงศาวดาร]]จะบันทึกไว้อย่างละเอียด ดูคล้ายกับว่ากรมหลวงรักษรณเรศรไม่ได้มีบทบาทหรือผลงานนัก เมื่อเทียบกับ[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา]]