ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแปรอักษร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sianz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sianz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''การแปรอักษร'''เป็นกิจกรรมที่มักจะทำใน[[สนามกีฬา]] โดยการแบ่งพื้นที่ของอัฒจันทน์ออกเป็นส่วนๆ ให้แต่ละคน โดยแต่ละคนต้องรับผิดชอบพื้นที่ของตน ซึ่งจะมีการแบ่งย่อยๆลงไปอีก เช่น 1คน รับผิดชอบ 16 ช่อง หรือ 20 ช่อง และเมื่อทุกคนเรียง[[สี]]ของตนให้ดีแล้ว เมื่อพลิกด้านออกมา จะได้เป็นภาพต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้
 
การแปรอักษรใน[[ประเทศไทย]]มีขึ้นครั้งแรกในปี 2487 โดย[[ม.เฉิด สุดารา]]แห่ง[[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] เป็น [["บิดาแห่งการแปรอักษร"]] โดยได้ความคิดมาจากศิลปะ Mosaic โดยการแปรอักษรครั้งแรกนั้น ม.เฉิดได้ให้[[นักเรียน]]แต่งชุดและหมวกสีขาวมานั่งเรียงเป็นพื้นแล้วเว้นช่องว่างเอาไว้เป็นคำว่า อ ส ช แล้วให้ยุวชน[[ทหาร]]ใส่ชุดสีกากีแกมเชียวมานั่งให้เต็มทำให้เกิดเป็นคำว่า อ ส ช อย่างชัดเจนและมีการพัฒนาเรื่อยมาในการแข่งขันฟุตบอลประเพณี[[สวนกุหลาบ]]-[[เทพศิรินทร์]] [[จตุรมิตรสามัคคี|งานฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี]] ตลอดจน [[งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์|การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์]] ในระยะแรกเป็นการแปรอักษรโดยใช้ผ้าสี มีการพัฒนาการแปรอักษรเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยใช้ร่ม หรือการปรบ[[มือ]]ซึ่ง [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] เป็นผู้ริเริ่มรูปแบบนี้ขึ้น ประกอบการร้อง[[เพลง]]เชียร์หรือการนับ
 
ส่วนการแปรอักษรเป็นภาพสี ในระยะแรกเป็นสมุดสีเย็บติดบนแผ่นไม้อัด ไม้อัดหนึ่งแผ่นมีสมุดสี 9 เล่มต่อด้าน เรียกว่า "เพลท 1:9" เวลาแปรอักษรจะใช้เพลทวางบนตักของผู้แปร ปัจจุบันเพลทแปรอักษรมักเป็นสมุดสีเย็บติดบนโครงลวด เพื่อให้มีน้ำหนักเบา เก็บรักษาและเคลื่อนย้ายสะดวก และมีช่องให้ผู้แปรสามารถมองเห็นกิจกรรมในสนามด้วย ความละเอียด 1:16 เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 เพลทแปรอักษรในปัจจุบันมักมีความละเอียด 1:16 มีขาตั้ง เพื่อความสะดวกสบายของผู้แปร และได้ภาพที่แปรเป็นระเบียบ พร้อมเพรียงกัน