ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเสาธงทอง (จังหวัดลพบุรี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thongdee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thongdee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
 
==ประวัติ==
'''วัดเสาธงทอง''' เป็น[[วัด]]เก่าแก่แห่งหนึ่งของ[[จังหวัดลพบุรี]] ตั้งอยู่ติดถนนฝรั่งเศส (Rule de France) ตรงข้ามตลาดสดเทศบาลเมืองลพบุรี ด้านหลังใกล้กับท่าขุนนางริมแม่น้ำลพบุรี ทิศเหนือ ใกล้กับ[[บ้านหลวงรับราชทูต]] ทิศใต้ใกล้กับ[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]] เดิมแยกเป็น 2 วัด คือ วัดรวก และวัดเสาธงทอง '''พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์)''' สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้รายงานกราบทูลเสนอความเห็นต่อ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] เมื่อคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลอยุธยาว่า วัดรวกมีโบสถ์ ส่วนวัดเสาธงทองมีวิหารสมควรจะรวมเป็นวัดเดียวกัน ทรงดำริเห็นชอบให้รวมกันและให้เรียกชื่อว่า วัดเสาธงทอง เป็ฯวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งโบราณซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิฐานว่า พระวิหารหลวงและพระประธานเป็นฝีมือช่างแบบสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] อย่างน้อยคงสร้างมาตั้งแต่สมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] วัดเสาธงทองตั้งอยู่บนเนินดินที่สูงกว่าที่อื่นๆ และตั้งอยู่ใจกลางเมือง[[ลพบุรี]] มีเนื้อที่ประมาณ 15ไร่ 1 งาน โดยรอบวัดมีถนนเข้าวัดทั้งสี่ด้าน
 
วัดนี้มีโบราณสถานที่ควรชม คือ พระวิหารซึ่งเดิมคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของ[[ศาสนา]]อื่นเพราะจากแผนที่ของช่างชาว[[ฝรั่งเศส]]ทำไว้ ระบุว่า พื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่พำนักของราชทูตชาว[[เปอร์เซีย]] พระวิหารหลังนี้อาจเป็นที่ประกอบพิธีทาง[[ศาสนาอิสลาม]]ของชาวเปอร์เซียก็เป็นได้ นอกจากนี้ ก็มีตึกปิจู ตึกคชสาร หรือตึกโคโรซาน เป็นตึกเก่าสันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พำนักของแขกเมือง และราชทูตต่างประเทศชาวเปอร์เซีย โดยตึกปิจู มาจาก[[ภาษาฝรั่งเศส]] แปลว่า เล็ก ซึ่งอาจเป็นที่อาศัยของชาวฝรั่งเศสที่มารับราชการ ส่วนตึกโคโรซาน เป็นชื่อเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของเปอร์เซีย ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นตึกที่ใช้รับรองชาวเปอร์เซียที่มาพำนัก กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ [[2 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2479]]
<ref>[http://www.pakpon.com/Lopburi/watsaothongthong.asp วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี]</ref>
 
บรรทัด 46:
 
==พระเจดีย์==
ตั้งอยู๋ระหว่างพระวิหารหลวงกับศาลาการเปรียญ มีมาแต่ครั้งโบราณ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนฐาน 8 เหลี่ยม กว้าง 9 วา สูง 17 วา ตรงกลางเหนือฐานขึ้นไปมีซุ้มประดิษฐาน[[พระพุทธรูป]]ซุ้มละ องค์ 8 ซุ้ม เหนือขึ้นไปเป็นทรงลังกา
 
==พระอุโบสถ==
พระอุโบสถมีใบเสมา 2 ชั้น เป็นหินทรายสลัดลวดลายแบบสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] และเคยได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2470 เพระถูกไฟไหม้ ได้เทคอนกรีตเสริมเหล็กบนทั้งหลัง พระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามสมุทร เนื้อในองค์พระเป็นศิลาทราย มีรูปั้นหุ้มไว้ เป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา
 
==หอระฆัง==
บรรทัด 60:
 
==ลำดับเจ้าอาวาส==
เจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง ทั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ไม่มีหลักฐานปรากฏ สำหรับเจ้าอาวาสตั้งแต่สมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบันมีดังนี้
# ท่านเจ้าอยู่
# พระครูสังฆภารวาหะ (ชื่น)