ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผังอาสนวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: cs:Loď (architektura) ลบ: ja:大聖堂 แก้ไข: es:Diagrama de catedral
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำอัตโนมัติ (-[[ภาพ: +[[ไฟล์:) ด้วยบอต
บรรทัด 1:
{{ใช้ปีคศ|width=300px}}
[[ภาพไฟล์:Amiens cathedral floorplan 03.JPG|thumb|300px|ผังของมหาวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข]]
'''แผนผังมหาวิหาร''' (ภาษาอังกฤษ: Cathedral diagram หรือ Cathedral plan หรือ Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของ[[มหาวิหาร]]ใน[[ยุโรปตะวันตก]] แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทาง[[คริสต์ศาสนา]]จะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขวา
 
บรรทัด 7:
 
== ด้านหน้ามหาวิหาร ==
[[ภาพไฟล์:Salisbury cathedral plan.jpg|thumb|400px|ผังของมหาวิหารซอลสบรีที่เป็นกางเขน สองชั้น]]
ด้านหน้าวัดหรือด้านที่มีการตกแต่งจะเรียกกันว่า Facade หรือ façade ตามความหมายของศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า “ด้านหน้าวัด” ซึ่งถ้ากล่าวถึงมหาวิหารจะเป็นความหมายที่ออกจะกำกวม เพราะคำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส “frontage” หรือ “หน้า” ซึ่งด้านหน้าที่กล่าวถึงนี้หมายถึงด้านนอกด้านใดด้านหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นด้านหน้าของตัวอาคารจริงๆ แต่ก็จะไม่เสมอไป “facade” อาจจะอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของมหาวิหารก็ได้ เช่นที่[[มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอาเมียงส์]]ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]]ที่มีการตกแต่ง “facade” ถึงสามด้าน
 
บรรทัด 21:
 
== ช่องทางเดินข้าง ==
[[ภาพไฟล์:MuensterDomGrundriss1761.jpg|thumb|250px|ผังของมหาวิหารเซ็นต์เพาลุส (St.-Paulus-Dom) ที่เมือง (Münster) ประเทศเยอรมนี แสดงให้เห็นชาเปลรอบจรมุขทางด้านหลังของวัด และมุขเล็กด้านหน้าวัด ด้านเหนือเป็น[[ระเบียงคด]]]]
{{Main|ช่องทางเดินข้าง}}
“ช่องทางเดินข้าง” (ภาษาอังกฤษ: Aisle) วัดยุคแรกๆ จะไม่มีทางเดินข้างแต่เมื่อมีผู้ร่วมศรัทธาเพิ่มมากขึ้นทางวัดก็ต้องขยายให้กว้างขึ้นโดยเพิ่มทางเดินสองข้างประกบทางเดินกลาง แยกจากทางเดินกลางด้วยแนวเสาหรือซุ้มโค้ง ส่วนใหญ่เพดานเหนือทางเดินข้างจะมีระดับต่ำกว่าทางเดินกลาง “ทางเดินข้าง” ช่วยแบ่งเบาการจราจรจาก “ทางเดินกลาง” โดยเฉพาะเมื่อวัดแน่นไปด้วยผู้เข้าร่วมพิธี นอกจากนั้นยังช่วยทำให้สิ่งก็สร้างแข็งแรงขึ้นเพราะจะใช้เป็นผนังค้ำที่ยันผนังภายในไว้ในตัวทำให้ตัวสิ่งก่อสร้างสามารถรับน้ำหนักกดทับจากหลังคาที่มักจะทำด้วยหินได้
บรรทัด 30:
 
== จุดตัด ==
[[ภาพไฟล์:Chevet.cathedrale.Amiens.png|thumb|250px|left|[[คริสต์ศาสนสถาน|ชาเปล]]ที่กระจายออกไปจากมุขตะวันออกของ[[มหาวิหารอาเมียง]] ที่เรียกว่า “ชาเปลดาวกระจาย” (Chevet)]]
{{Main|จุดตัด}}
[[ภาพไฟล์:Catedral jaen224.jpg|thumb|250px|Catedral de Jaen ประเทศสเปนซึ่งไม่มีมุขโค้งด้านตะวันออกอย่างวิหารอื่นและโครงสร้างสั้น]]
“[[จุดตัด]]” (ภาษาอังกฤษ: Crossing) คือจุดที่แขนกางเขนหรือปีกซ้ายขวาตัดกับทางเดินกลาง เหนือจุดตัดมักจะเป็นหอที่มียอดแหลม หรือยอดแหลมเฉยๆ ที่เรียกว่า “มณฑป” (fleche) ที่อาจจะทำด้วยไม้ หิน หรือโลหะก็ได้ เช่นที่[[มหาวิหารโอเทิง]] [[ประเทศฝรั่งเศส]] หรือมหาวิหารซอลสบรีที่มีหอทำด้วยหินสูงที่สุดในสหราชอาณาจักรอังกฤษ (404 ฟุต) หรืออาจจะเป็นโดม หรือเป็นหอเฉยๆที่ไม่มียอดก็ได้เช่นที่[[มหาวิหารวินเชสเตอร์]] ที่อังกฤษ ถ้าหอเป็นแบบโปร่งซึ่งสามารถให้แสงส่องลงมากลางวัดได้ก็เรียกว่า “หอตะเกียง” เช่นที่ [[มหาวิหารเบอร์โกส]] ที่ประเทศสเปน
 
บรรทัด 51:
== ชาเปลหรือคูหาสวดมนต์ ==
{{Main|ชาเปล}}
[[ภาพไฟล์:Amiens cathedral floorplan 04.JPG|thumb|500px|ด้านขวางของมหาวิหารอาเมียง]]
“[[ชาเปล]]” หรือ “คูหาสวดมนต์” (ภาษาอังกฤษ: Chapel) มักจะตั้งอยู่ระหว่างช่วง[[ทางเดินข้าง]]ของมหาวิหารเป็นระยะๆ หรือสร้างรอบ[[มุขด้านตะวันออก]]ที่เรียกกันว่า “ชาเปลดาวกระจาย” ( “Radiatiating chapels” หรือ “Chevet”) ซึ่งเป็นรัศมียื่นออกไปจากด้านหลังของวัด เช่นที่ [[มหาวิหารอาเมียง]] ขนาดของชาเปลจะไม่ค่อยเท่ากัน การตกแต่งก็ไม่เท่าเทียมกันแล้วแต่ฐานะของผู้ศรัทธา บางครอบครัวที่มั่งคั่งหน่อยก็จะทำอย่างหรูหราเป็นคูหาสวดมนต์ส่วนตัวไปเลย