ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาการระบาด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำอัตโนมัติ (-[[ภาพ: +[[ไฟล์:) ด้วยบอต
บรรทัด 17:
ในช่วงกลาง[[คริสต์ศตวรรษที่ 16]] แพทย์ที่มีชื่อเสียงชาว[[ฟลอเรนซ์]] [[ประเทศอิตาลี]] ชื่อว่า [[จีโรลาโม ฟราคัสโตโร]] (Girolamo Fracastoro) เป็นคนแรกที่เสนอทฤษฎีกล่าวว่าอนุภาคขนาดเล็กที่มองไม่เห็นซึ่งก่อให้เกิดโรคนั้นเป็นอนุภาคที่มีชีวิต อนุภาคเหล่านี้เชื่อว่าสามารถกระจายได้ในอากาศ แบ่งตัวเพิ่ม และถูกทำลายได้ด้วยไฟ ข้อความดังกล่าวเป็นการปฏิเสธทฤษฎีของ[[กาเลน]]ที่กล่าวว่าคนเราเจ็บป่วยเพราะมีแก๊สพิษอยู่ในร่างกาย ใน [[ค.ศ. 1543]] เขาได้แต่งตำรา ''De contagione et contagiosis morbis'' ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รณรงค์การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรค การพัฒนากล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงของ อันโทนี ฟาน ลิวเวนเฮิค (Antonie van Leeuwenhoek) ในปี [[ค.ศ. 1675]] ช่วยสนับสนุนหลักฐานของอนุภาคเล็กๆ ที่มีชีวิตกับทฤษฎีเชื้อก่อโรค (germ theory of disease)
 
[[ภาพไฟล์:Snow-cholera-map.jpg|thumb|right|300px|แผนที่ดั้งเดิมของ ดร. จอห์น สโนว์ แสดงกลุ่มของผู้ป่วยอหิวาตกโรคในช่วงอหิวาตกโรคระบาดในลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1854]]
จอห์น กรอนท์ (John Graunt) คนขายเสื้อผ้าและนักวิทยาศาสตร์สมัครเล่นได้ตีพิมพ์บทความ ''Natural and Political Observations ... upon the Bills of Mortality'' (การสังเกตเชิงธรรมชาติและเชิงการเมือง ... ต่อร่างกฎหมายการเสียชีวิต) ในปี [[ค.ศ. 1662]] ซึ่งเขาได้วิเคราะห์จำนวนการเสียชีวิตใน[[ลอนดอน]]ก่อนการเกิดกาฬโรคระบาดในลอนดอน เพื่อแสดงเป็น[[ตารางชีพ]] (life tables) ซึ่งนับเป็นตารางแรกๆ ของโลก และได้รายงานแนวโน้มเวลาของโรคหลายโรคทั้งเก่าและใหม่ เขายังได้แสดงหลักฐานทางสถิติสำหรับทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับโรค และปฏิเสธแนวความคิดต่างๆ เกี่ยวกับการกระจายของโรค