ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำอัตโนมัติ (-[[ภาพ: +[[ไฟล์:) ด้วยบอต
บรรทัด 3:
 
== หลักในการผ่าศพ ==
[[ภาพไฟล์:Michiel Jansz van Mierevelt - Anatomy lesson of Dr. Willem van der Meer.jpg|left|250px|thumb|ภาพแสดงการผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์]]
 
การผ่าศพทางพยาธิวิทยา จะมุ่งเน้นไปทางด้านการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเพื่อวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคใด สาเหตุของการตายคืออะไร กลไกในการตายเป็นอย่างไร ซึ่งการที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาเหล่านี้นั้น แพทย์ผู้ทำการรักษาผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือในการส่งรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการรักษาพยาบาลของผู้ตายเช่น อาการป่วยของโรค การดำเนินการในการรักษาโรค การรักษาพยาบาล ผลของการตรวจรักษาทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงอาการของผู้ตายที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างการรักษา ตลอดจนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารยาให้ผู้ป่วย ซึ่ง[[พยาธิแพทย์]]จะได้นำมาประมวลร่วมกับผลการตรวจพบทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย รวมทั้งผลการตรวจชิ้นเนื้อทาง[[กล้องจุลทรรศน์]] เพื่อสรุปว่าผู้ป่วยตายเพราะเหตุใด
บรรทัด 12:
 
== บาดแผลที่ปรากฏ ==
[[ภาพไฟล์:Schnittwunden.JPG|left|250px|thumb|ภาพแสดงบาดแผลบนร่างกายผู้ตาย]]
 
การผ่าศพทางนิติพยาธิ เป็นการผ่าศพเพื่อเน้นไปทางด้าน[[บาดแผล]]ภายนอกร่างกาย แต่ไม่ได้หมายความว่านิติพยาธิแพทย์สามารถละเลยรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพร่างกายและอวัยวะภายในได้ การผ่าศพตลอดจนการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ ({{lang-en|Microscopic Examination}}) ยังคงมีความจำเป็นมากสำหรับการผ่าศพ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ตายมักจะตายในขณะเกิดเหตุ บาดแผลต่าง ๆ มักไม่ทันมีการเปลี่ยนแปลงทางกล้องจุลทรรศน์ แต่ยังมีผู้ตายในกรณีอื่น ๆ เช่น ผู้ที่ตายอย่างกะทันหันและไม่คาดคิด หรือผู้ป่วยตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น[[การตายตามธรรมชาติ]]และการตัดชิ้นเนื้อทางกล้องจุลทรรศน์จะเป็นข้อมูลอันสำคัญในการวินิจฉัยถึงสาเหตุการตอยของผู้ป่วย<ref name="บาดแผล">บาดแผล, นิติเวชศาสตร์ สำหรับพนักงานสอบสวน, พล.ต.ต.เลี้ยง หุยประเสริฐ, พบ., อว. (นิติเวชศาสตร์) ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ, 2547, หน้า 23</ref>