ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอาจารย์ธรรมโชติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sak-suphan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
 
== ประวัติ ==
พระอาจารย์ธรรมโชติ<ref>http://www.krungsir.com</ref> เดิมชื่อ '''โชติ''' ขณะบวชได้ฉายาทางพระว่า '''ธรรมโชติรังษี''' บวชครั้งแรกที่วัดยางพื้นเพเป็นชาวเมืองสุพรรณ บ้านแสวงหาในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่บวชเรียนแล้วจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสอยู่. วัดเขาขึ้น อยู่ที่หรือเขานางบวช ท่านมีความรู้ด้านวิชากสิณ ด้านวิชาอาคมที่แก่กล้า ด้วยทั้งพรรษาและวิชาต่างๆที่ได้ศึกษาฝึกพร่ำร่ำเรียนมา ใครเห็นล้วนแต่เกิดศรัทธา
 
พระอาจารย์ธรรมโชติ ตามประวัติเดิม พำนักอาศัยอยู่ ณ [[วัดเขานางบวช]] ต่อมาชาว[[บ้านบางระจัน]]ได้อาราธนาไปพำนักอยู่ ณ [[วัดโพธิ์เก้าต้น]] [[จังหวัดสิงห์บุรี]]<ref>http://www.singarea.moe.go.th/cwm/singburi%20tourist%20place/link08.htm</ref> ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ธรรมโชติมีวิทยาอาคมสูง และได้ลงวิทยาอาคมกับ[[ผ้าประเจียด]] [[ตะกรุดพิสมร]] แจกจ่ายให้กับนักรบ[[ค่ายบางระจัน]]<ref>http://province.moph.go.th/singburi/moph/basicdata/txt01.htm</ref> [[สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงพระนิพนธ์ในหนังสือไทยรบพม่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นได้หายสาปสูญไปหรือจะมรณภาพในเวลาเสียค่ายแก่[[พม่า]] หรือหนีรอดไปได้หาปรากฏไม่<ref>http://www.krungsri.com/KrungsriDocumentlary/text28-jan45.htm</ref> แต่ตามความเชื่อและตำนานท้องถิ่นของชาว[[จังหวัดสุพรรณบุรี]]เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อค่ายบางระจันมีทีท่าว่าน่าจะมามรณภาพแตก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ธรรมโชติก็ได้นิมนต์ท่านหลบหนีออกจากค่าย โดยที่วัดเขานางบวชท่านไม่ได้เต็มใจ เพราะคิดจะอยู่สู้ด้วยกัน ตายด้วยกัน แต่สุดท้ายท่านก็ขัดศรัทธากิจนิมนต์ของชาวบ้านที่รัก หวงแหน และเชิดชูท่านเสียมิได้ ว่าผ้าเหลืองไม่เหมาะที่จะมาจมกองเลือดจมพื้นพสุธาให้คนต่ำช้าสามานเยี่ยงพม่าข้าศึกได้ย่ำยี
 
สุดท้ายลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง(ซึ่งไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นการแลดูน่าสงสัยแก่ผู้พบเห็นทั่วไป)ได้พาท่านออกมาจากค่ายบางระจัน ชั่วครู่ก่อนค่ายจะแตก แล้วลี้ภัยมารศาสนา(ข้าศึก) อยู่ในป่าเขาลำนำไพรจวบจนสงครามสงบจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขานางบวช บ้างก็ว่าหลังจากออกจากค่ายบางระจันมา ท่านก็ไม่ไปหลบอยู่ที่ไหน แต่ขอกลับมาอยู่วัดเขานางบวช วัดเดิมที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ โดยลูกศิษย์ทำช่องลับไว้ให้ท่านหลบอยู่บริเวณวิหารของท่าน(ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่) ไว้ให้ท่านนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญเพียรโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ วิญญาณวีรชน และชาวบานบางระจัน
 
== รูปปั้นของพระอาจารย์ธรรมโชติ ==