ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่ข้อความทั้งหมดด้วย "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จงเจริญ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
“วัยรุ่น วัยใส รักและใส่ใจสุขภาพ”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จงเจริญ
สุขภาพดีคือความเป็นสุข ความไม่มีโรค ความสบาย ไม่ว่าสบายกายสบายใจก็ถือว่าผู้นั้นมีสุขภาพดี เช่นมีความสุขที่ได้เห็นคนที่เรารักมีความสุขหรือความสบายจากการไม่มีโรค ความสบายจากการสอบผ่านเป็นต้นทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถ้าอยู่ในผู้ใดถือว่าผู้นั้นมีสุขภาพดีซึ่งอาจจะดีในด้านต่างกันไป บางคนเป็นอัมพาตแต่สบายใจที่ได้เห็นลูกหลานเรียนจบ บางคนร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงทุกอย่างแต่กลับไม่สบายใจที่เห็นลูกหลานติดคุกกินเหล้าเมายาเป็นต้น
ถ้าสุขภาพดีอะไรก็จะดีตามไปด้วยร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่อไปแต่การที่สุขภาพจะดีได้นั้นการรณรงค์และการให้ความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญและวัยที่เหมาะสมกับการรณรงค์ให้ความรู้มากที่สุดคือวัยรุ่น เพราะถือเป็นวัยที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคตการรณรงค์ให้วัยรุ่นหันมาสนใจสุขภาพกันมากขึ้นนั้นก็เพราะในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่ขาดการดูแล สุขภาพวัยรุ่นบางส่วนหันมาสูบบุหรี่ บางส่วนหันไปรับประทานอาหารแบบตะวันตก ที่มีไขมันมากๆ มีแป้งมากๆ มีน้ำตาลมากๆที่คนไทยเรียกกันว่าอาหารจานด่วน จำพวก พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ เคเอฟซี โดนัท ฯลฯ เมื่อกินแล้วส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกายและผลลัพธ์ที่ได้จากอาหารของชาวตะวันตกก็คือ เกิดภาวะโภชนาการเกินหรือเรียกกันว่าโรคอ้วนซึ่งกำลังคุกคามวัยรุ่นไทยอยู่ในขณะนี้และเมื่อผลออกมาแบบนี้ว่าโรคอ้วนกำลังคุกคามเด็กไทยอยู่ในขณะนี้ จึงมีการวิจัยวิธีดูแลเด็กอ้วนหลายวิธีแต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างของศาสตราจารย์ นายแพทย์ พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นตัวอย่างวิธีดูแลเด็กอ้วนประการแรกคือ การควบคุมอาหาร เพื่อลดปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับ แต่มีข้อระวังคือไม่ควรจำกัดอาการและพลังงานมากเกินไป พลังงานให้อยู่ระหว่าง1200-1500กิโลแคลอรี่ต่อวัน ประการที่สองคือการปรับพฤติกรรมการกินอาหาร กล่าวคือกินอาหารให้ครบ3มื้อ กินอาหารมื้อเช้า เลือกชนิดของอาหารว่างไม่ให้มีแคลอรี่มากและลดการกินอาหารนอกบ้าน ประการที่สามคือการออกกำลังกายและกิจกรรมต่างๆเช่นลดการดูโทรทัศน์ ออกกำลังกายหนักปานกลางอย่างน้อยวันละ30-60นาที และส่งเสริมให้มีกิจกรรมการออกกำลังกายของครอบครัวเป็นต้น นี่เป็นเพียงเคล็คลับของโรงพยาบาลรามาธิบดีที่นำมาใช้ในการดูแลเด็กอ้วน เรารู้แต่วิธีการดูแลเด็กอ้วนแต่ถ้าได้พูดถึงความเสี่ยงก็มีมากมาย เช่น กลุ่มเมตาบอลิกได้แก่ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ฯลฯ โรคทางเดินหายใจ เช่น นอนกรน ทางเดินหายใจอุดตัน ฯลฯ โรคทางข้อและกระดูก เช่น ปวดเข่าและสะโพก ฯลฯ โรคตับ เช่นการสะสมของไขมันที่ตับทำให้การทำงานของตับผิดปกติ ฯลฯ ปัญหาทางจิตและสังคม เด็กวัยรุ่นที่อ้วนทำให้บุคลิกภาพไม่ดีถูกเพื่อนล้อทำให้ไม่สบายใจและเครียดในที่สุด บางคนน้อยเนื้อต่ำใจว่าทำไมเราถึงเกิดมาอ้วนถึงกับฆ่าตัวตายก็คงมีตัวอย่างให้เห็นอยู่.
การรักษาสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆเป็นเรื่องที่ง่ายๆและควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งเพราะในปัจจุบันไม่ได้มีแค่โรคอ้วนที่กำลังคุกคามเท่านั้นแต่ยังมีอีกมากมายหลายโรค เช่น
โรคเด็กติดเกมส์ ไข้หวัดใหญ่สายสายพันธุ์ใหม่2009 โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ฯลฯ หลายปีที่ผ่านมามีวัยรุ่นเป็นโรคพวกนี้แล้วบางคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรบางคนขาดเรียนแล้วตามเพื่อนไม่ทันบางคนเป็นแล้วรักษาหายขาดได้ยากเช่นโรคเด็กติดเกมส์เพราะฉะนั้นเรามาช่วยกันรณรงค์ให้วัยรุ่นไทยหันมารักษาสุขภาพกันดีกว่าเพื่อให้วัยรุ่นไทยก้าวไกลต่อไปในอนาคตและเป็นพลังที่จะพาชาติไทยให้ก้าวล้ำไปให้ทัดเทียมกับอารายธรรมประเทศ.