ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่างแว่นถิ่นใต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
*''T. o. sactorum''
}}
'''ค่างแว่นถิ่นใต้ ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Dusky Leaf Monkey, Dusky Langur, Spectacled Langur, [[ชื่อวิทยาศาสตร์]] : ''Trachypithecus obscurus'') [[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]จำพวก[[ค่าง]] ลักษณะทั่วไปคล้าย[[ค่างแว่นถิ่นเหนือ]] (''T. phayrei'') คือ มี[[วงกลม]][[สีขาว]]รอบตาเหมือนกับใส่[[แว่น]]อันเป็นที่มาของชื่อ มีขนาดของลำตัวยาว 45-57 [[เซนติเมตร]] หางยาว 66-78 เซนติเมตร มี[[น้ำหนัก]] 6-9 [[กิโลกรัม]] ค่างโตเต็มวัยมีขนบริเวณด้านหลัง[[สีเทา]]เข้มเกือบ[[ดำ]] ขนบริเวณด้านข้างใบหน้าบริเวณปลายมือและปลายเท้ามีสีเทาเข้ม โคนขาและโคนแขนด้านนอกเป็นสีเทาจาง ลักษณะสำคัญที่ใช้จำแนกค่างชนิดนี้ คือสีขนหางสีดำ ลูกที่เกิดใหม่สีขนจะเป็น[[สีทอง]]
 
ค่างแว่นถิ่นใต้แบ่งออกเป็น[[ชนิดย่อย]] 7 ชนิดย่อยด้วยกัน
 
== ถิ่นอาศัย ==
อาศัยอยู่ตามป่าเขา[[หินปูน]]ที่มีโขดหินสูงชัน นอกจากนี้ยังอาศัยอยู่ตาม[[ป่าดิบ|ป่าดงดิบ]]หรือสวน[[ยางพารา]] พบในแถบ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ได้แก่[[พม่า]], [[ไทย]], [[มาเลเซีย]] ในประเทศพม่าพบบริเวณ[[เทือกเขาตะนาวศรี]]ลงไปทางใต้ นอกจากนี้ยังพบตาม[[เกาะต่างๆ]]ต่าง ๆ ในประเทศมาเลเซีย เช่น [[เกาะลังกาวี]] [[เกาะปีนัง]] ส่วนในประเทศไทยพบได้ที่[[อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] [[อุทยานแห่งชาติตะรุเตา]] [[จังหวัดสตูล]] [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]]
 
อาหารหลักได้แก่ [[ใบไม้]], [[ผลไม้]]และ[[เมล็ดพืช]] โดยมี [[แมลง]] เป็นอาหารเสริม