ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่ายกักกันนาซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ดูเพิ่มที่|ค่ายมรณะ}}
[[ไฟล์:NaziConcentrationCamp.gif|thumb|right|375px|กองกำลังสหรัฐอเมริกา ณ ค่ายกักกันซึ่งได้รับการปลดปล่อย เผชิญหน้ากับพลเรือนชาวเยอรมันพร้อมกับหลักฐาน: รถบรรทุกซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ]]
[[นาซีเยอรมนี]]ได้จัดตั้ง'''[[ค่ายกักกัน]]'''ขึ้นตลอดดินแดนยึดครองของตน ค่ายกักกันนาซีในช่วงแรก ๆ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในเยอรมนีภายหลัง[[เหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก]] ในปี ค.ศ. 1933 โดยตั้งใจที่จะคุมขังนักโทษการเมืองและผู้ต่อต้านรัฐบาล ค่ายกักกันดังกล่าวได้เพิ่มจำนวนขึ้นอีกในช่วงคริสตทศวรรษ 1930 เมื่อนักโทษการเมืองและกลุ่มบุคคลอีกหลายกลุ่มถูกคุมขังโดยไม่มีการไต่สวนหรือกระบวนการตุลาการ คำดังกล่าวเป็นคำยืมมาจาก ''ค่ายกักกันอังกฤษ'' ระหว่าง[[สงครามอังกฤษ-บัวร์ครั้งที่สอง]] นักวิชาการเรื่องการล้างชาติโดยนาซี (Holocaust) ได้กำหนดข้อแตกต่างระหว่างค่ายกักกัน (ดังที่อธิบายในบทความนี้) แล[[ค่ายมรณะ]] ซึ่งเป็นค่ายที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการสังหารประชากรจำนวนมากลงเพียงอย่างเดียยว ได้แก่ ชาวยิวในทวีปยุโรป ชาวโปล ชาวยิปซี และชาติอื่น ๆ ค่ายมรณะรวมไปถึง เบลเซค โซบิบอร์ ทริบลิงก้า และเอาชวิตซ์-เบอร์เคนาว
 
== ค่ายกักกันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ==
[[ไฟล์:Majorcampseurope.gif|thumb||left|300px|ค่ายกักกันหลักของนาซีเยอรมนีในทวีปยุโรป เมื่อปี ค.ศ. 1944]]
 
ภายหลังการปะทุของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ในปี ค.ศ. 1939 ค่ายกักกันนาซีได้กลายเป็นสถานที่คุมขังศัตรูของนาซี ระหว่างสงคราม ค่ายกักกันสำหรับ "ผู้ไม่พึงปรารถนา" นี้ได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป ค่ายใหม่ ๆ ถูกสร้างขึ้นใกล้กับศูนย์กลางของประชากร "ผู้ไม่พึงปรารถนา" นี้ ซึ่งมักเพ่งเล็งไปยังประชาคมชาวยิว กลุ่มปัญญาชนชาวโปล พวกคอมมิวนิสต์ หรือโรมา ก่อนสงคราม ในโปแลนด์มีชาวยิวอาศัยอยู่หลายล้านคน ค่ายกักกันส่วนใหญ่ถูกพบในพื้นที่ของ[[เจเนรอลกอฟเวอร์เมนท์]] ในดินแดนยึดครองโปแลนด์ เพื่อจุดประสงค์ด้านการขนส่ง นอกจากนี้ยังทำให้นาซีขนส่งชาวเยอรมันเชื้อสายยิวออกนอกประเทศได้อีกด้วย
 
เส้น 26 ⟶ 28:
 
เมื่อสงครามใกล้ยุติ ค่ายกักกันได้กลายมาเป็นแหล่งทดลองทางการแพทย์ การทดลองวิชาว่าด้วยการบำรุงพันธุ์มนุษย์ การแช่แข็งนักโทษเพื่อทดสอบผลกระทบที่มีต่อนักบิน และการทดลองและยาเพื่อการสังหารจะถูกทดลองในค่ายกักกันหลายแห่ง นักโทษสตรีมักถูกข่มขืนและทำให้ขายหน้าเป็นกิจวัตรในค่ายกักกัน<ref>Morrissette, Alana M.: ''[http://www.jhcwc.org/morrissette2004.pdf The Experiences of Women During the Holocaust]'', p. 7.</ref>
 
[[ไฟล์:Gen Eisenhower at death camp report crop.jpg|thumb|275px|right|พลเอก [[ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์]] กำลังสืบสวนศพของนักโทษ ณ ค่ายแรงงานโฮร์ดรุฟ ค.ศ. 1945]]
 
=== การปลดปล่อย ===