ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทยถิ่นใต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jose77 (คุย | ส่วนร่วม)
+{{Incubator|code=sou}}
บรรทัด 38:
 
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัด[[พัทลุง]] [[สงขลา]] [[นครศรีธรรมราช]] คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
 
=== [[ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน]]===
'''ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน''' เป็นภาษาถิ่นย่อยของ[[ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ]]ที่ใช้อยู่ใน[[ตำบลพิเทน]] [[อำเภอทุ่งยางแดง]] และ[[ตำบลกะรุบี]] [[อำเภอกะพ้อ]] [[จังหวัดปัตตานี]] ปัจจุบันคนในตำบลพิเทนพูดภาษาไทยถิ่นพิเทนน้อยลง ส่วนมากจะใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน ตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาส่วนใหญ่ ผู้ที่สามารถใช้สำเนียงพิเทนได้ดีคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อายุน้อยกว่านี้บางคนไม่ยอมพูดภาษาของตน หรือพูดได้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
 
== ตัวอย่างคำศัพท์ ==