ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ใจ อึ๊งภากรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Neemo~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ทำหน้าว่าง
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไข - ล็อกหมดอายุ
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:ใจ อึ๊งภากรณ์.jpg|thumb|ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์]]
'''รองศาสตราจารย์ ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์''' ({{lang-en|Giles Ji Ungpakorn}}; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2496 — ) เป็น[[นักเคลื่อนไหว]]ทางวิชาการและการเมืองสัญชาติไทย-อังกฤษ<ref>[http://www.zoominfo.com/people/ungpakorn_ji_239088442.aspx Giles Ji Ungpakorn]</ref> เดิมเคยเป็นอาจารย์ประจำ[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] แต่ปัจจุบันอาศัยอยู่ใน[[สหราชอาณาจักร]] เพื่อหลบหนีคดี[[การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย|หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ]]
 
== ประวัติ ==
ใจเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรชายคนสุดท้องของ [[ป๋วย อึ๊งภากรณ์|ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์]] อดีตผู้ว่าการ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]]และอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] กับนางมาร์กาเร็ต สมิธ ซึ่งมาจาก[[ลอนดอน]]<ref>[http://66.218.69.11/search/cache?p=Giles+Ungpakorn+kreung&ei=UTF-8&fr=yfp-t-501&x=wrt&u=www.thaisunday.com/news/blue_eyed_thais.shtml&w=giles+ji+ungpakorn+kreung&d=VlGWa5IFNrFY&icp=1&.intl=us Oh Blue-Eyed Thais, Flaunt Your Western Genes! by Seth Mydans]</ref> มีพี่ชายสองคน คือ [[จอน อึ๊งภากรณ์]] อดีต[[สมาชิกวุฒิสภา]][[กรุงเทพมหานคร]] และ[[ไมตรี อึ๊งภากรณ์]] เจ้าหน้าที่ข่าวสาร[[องค์การการค้าโลก]] ประจำ[[เจนีวา]] [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]<ref>http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=31081</ref>
 
ใจจบปริญญาตรีชีวเคมี จาก[[มหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์]] และปริญญาโทสิ่งแวดล้อม [[มหาวิทยาลัยเดอแรม]] และปริญญาโท[[รัฐศาสตร์]] (การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่ [[วิทยาลัยบูรพศึกษาและแอฟริกาศึกษา]] [[มหาวิทยาลัยลอนดอน]] (The School of Oriental and African Studies - SOAS) และทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายวิจัย [[มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด]] เป็นเวลา 12 ปี
 
ใจ อึ๊งภากรณ์ เดินทางกลับประเทศไทย และเป็นอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540 ร่วมกับกลุ่มเพื่อนฝูง ก่อตั้งคณะทำงานเพื่อชำระประวัติศาสตร์[[กรณี 6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]] ขึ้นมาใหม่ ร่วมกิจกรรมกับองค์กรพัฒนาเอกชน และเขียนบทความวิจารณ์สังคมและการเมืองไทย ในหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่เสมอ
 
== บทบาททางการเมือง ==
 
ภายหลังการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]] และ[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) ประกาศยกเลิก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540]] ใจประกาศไม่เห็นด้วยกับการ[[รัฐประหาร]] และยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยเป็นแกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัยจัดชุมนุมประท้วงในกรุงเทพมหานคร<ref>{{cite news |title=Thai students defy protest ban to demand the return of democracy |first=Justin |last=Huggler |newspaper=[[The Independent]] |date=2006-09-23 |url=http://news.independent.co.uk/world/asia/article1705573.ece | accessdate =2010-02-06}}</ref> รวมทั้งให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า ''นายกฯ ที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีทหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีเถื่อน '' จนถูกแจ้งความจับในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ <ref>http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000123519</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2550 นายใจได้ตีพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษ ชื่อ ''[[A Coup for the Rich]]'' โดยมีเนื้อหาบางส่วนอ้างอิงหนังสืออื้อฉาว ''[[The King Never Smiles]]'' และพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เขายังแย้งว่ารัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์อีกด้วย ทำให้หนังสือถูกงดจำหน่ายในประเทศไทย ดังที่บรรณาธิการได้ชี้แจง<ref>{{cite news |title=Chula bans second coup book |author=Subhatra Bhumiprabhas |newspaper=[[The Nation (Thailand)|The Nation]]|date=2008-02-28 |url=http://www.nationmultimedia.com/2007/02/13/politics/politics_30026694.php | accessdate =2010-02-06}}</ref> และนายใจถูกสั่งฟ้องคดีอาญา ข้อหา[[หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ]] เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 นอกจากนี้
 
เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 เขาถูกแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเป็นทางการในกรุงเทพมหานคร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 นายใจ ซึ่งเป็นบุคคลสองสัญชาติ (ไทย-อังกฤษ) ได้เดินทางออกจากประเทศไทย เพื่อหลบหนีการดำเนินคดีในประเทศไทย<ref>[http://www.guardian.co.uk/world/2009/feb/09/professor-thailand-charged-king British professor flees Thailand after charge of insulting king] Duncan Campbell, The Guardian, 9 February 2009</ref> โดยอ้างว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรมในการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ<ref>[http://www.prachatai.com/05web/th/home/15511 ‘ใจ อึ๊งภากรณ์’ ให้สัมภาษณ์สื่ออังกฤษ เชื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมคดีหมิ่นฯ] ประชาไท </ref>
 
นายใจประกาศตนเองว่าเป็นพวกนิยมสาธารณรัฐ และฝ่ายตรงข้ามทางคำพูดต่อราชวงศ์ไทย<ref>{{cite web |url=http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2062&Itemid=595 |title=Opinion: Democracy Suffers in Thailand |last1=Ungpakorn |first1=Giles Ji |date=2009-09-18 |publisher=[[Asia Sentinel]] |accessdate=2010-02-06}}</ref> ในขณะหลบหนีคดีจากประเทศไทยนั้น เขาได้เขียนแถลงการณ์ "แดงสยาม" ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ พระมหากษัตริย์ไทย [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] อย่างโจ่งแจ้ง<ref>{{cite web |url=http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2009/02/20/special-interview-giles-ungpakorn-part-1/ |title=Special interview: Giles Ungpakorn, part 1 |last1= Walker |first1=Andrew |last2=Farrelly |first2=Nicholas |date=2009-02-20 |publisher=New Mandala |accessdate=2010-02-06}}</ref> เขาวิพากษ์วจารณ์ว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ "อ่อนแอ" และ "ไร้ศีลธรรม" ผู้ซึ่งไม่เคยสนับสนุน[[ประชาธิปไตย]] และอ้างว่าพระองค์มีส่วนรับผิดชอบต่อ[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|การสังหารหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519<ref>{{cite web |url=http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2036&Itemid=595 |title=Soapbox: Da Torpedo's case pushes Thailand back to the Dark Ages |last1=Ungpakorn |first1=Giles Ji |date=2009-09-03 |publisher=[[Asia Sentinel]] |accessdate=2010-02-06}}</ref><ref>{{cite web |url=http://www.asiasentinel.com/index.php?Itemid=159&id=1714&option=com_content&task=view |title=Red Siam Manifesto |last1=Ungpakorn |first1=Giles Ji |date=2009-02-10 |publisher=[[Asia Sentinel]] |accessdate=2010-02-06}}</ref><ref>http://www.youtube.com/watch?v=mI_YEVHE8_U</ref> เขายังได้ติเตียนทฤษฎี[[เศรษฐกิจพอเพียง]] โดยตีตราว่ามันเป็นคำสั่งให้คนจน "รู้จักฐานะของตัวเอง" และกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งร่ำรวยที่สุดในโลก<ref>{{cite web |url=http://www.asiasentinel.com/index.php?Itemid=159&id=1714&option=com_content&task=view |title=Red Siam Manifesto |last1=Ungpakorn |first1=Giles Ji |date=2009-02-10 |publisher=[[Asia Sentinel]] |accessdate=2010-02-06}}</ref> เขายังประกาศตนเองว่าเป็นนัก[[ลัทธิมาร์กซิสต์]]<ref>{{cite web |url=http://www.prachatai.com/english/node/344 |title=Interview with Giles Ungpakorn: politics, coups, elections and the left |author=Wittayakorn Boonreung |date=2007-10-30 |publisher=Prachatai |accessdate=2010-02-06}}</ref> เขายังเป็นสมาชิกของ[[กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[องค์กรสังคมนิยมสากล]] อันนับถือแนวคิดความคิด[[ลัทธิทร็อตสกี]]
 
ในความเห็นซึ่งเขาได้เขียนให้กับเว็บไซต์ของ [[Asia Sentinel]] เขาได้ลดราคาของมุมมองในด้านการปฏิรูปสังคมและการเมืองอย่างได้ผล และวางตนเองอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ที่ต้องการให้เกิดการปฏิวัติในประเทศไทย<ref>{{cite web |url=http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2036&Itemid=595 |title=Soapbox: Da Torpedo's case pushes Thailand back to the Dark Ages |last1=Ungpakorn |first1=Giles Ji |date=2009-09-03 |publisher=[[Asia Sentinel]] |accessdate=2010-02-06}}</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.asiasentinel.com/media/PDF/RedSiamT.pdf แถลงการณ์แดงสยาม] โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
* ''Index on Censorship''. [http://www.indexoncensorship.org/2009/02/interview-giles-ji-ungpakorn/ Interview: Giles Ji Ungpakorn]
* [http://kyotoreview.cseas.kyoto-u.ac.jp/issue/issue0/article_71.html Review of Ungpakorn's book ''Crimes Committed by the State: Transition in Crisis'']
 
{{เรียงลำดับ|จใ อึ๊งภากรณ์}}
{{เกิดปี|2496}}
 
[[หมวดหมู่:สกุลอึ๊งภากรณ์]]
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์]]
[[หมวดหมู่:นักวิชาการชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทย-อังกฤษ]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายจีน]]
[[หมวดหมู่:อาจารย์คณะรัฐศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยที่เกิดในต่างประเทศ]]
[[หมวดหมู่:แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน]]
 
[[en:Giles Ji Ungpakorn]]
[[ru:Унгпакорн, Тчи]]
[[vi:Giles Ungpakorn]]