ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การลอกเลียนวรรณกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ta:கருத்துத் திருட்டு
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''โจรกรรมทางวรรณกรรม''' หรือ '''การขโมยความคิด''' ({{lang-en|plagiarism}}) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง
 
ในวงวิชาการ [[โจรกรรม]]ทาง[[วรรณกรรม]]โดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือ[[นักวิจัย]]ถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” ([[:en:academic dishonesty|academic dishonesty]]) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” ([[:en:academic fraud|academic fraud]]) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงาน[[สื่อสารมวลชน]]ถือเป็นละเมิด[[จรรยาบรรณ]]ทาง[[วารสารศาสตร์]] ([[:en:journalistic ethics|journalistic ethics]]) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงทางลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ ([[:en:citation|citation]]) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทาง[[อินเทอร์เน็ต]]ที่บทความปรากฏในรูปของ[[อีเล็กทรอนิกส์]] ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่าการ “คัดลอก-แปะ” ([[:en:copying and pasting|copying and pasting]])
 
โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับ[[การละเมิดลิขสิทธิ์]]แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้ายๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน