ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สือดิบผู้จ่อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: zh-min-nan:Sawndip
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
'''สือดิบผู้จ่อง'''('''古壮字''' gǔ Zhuàngzì หรือ '''方块壮字''' fāngkuài Zhuàngzì,)เป็นตัวอักษรพื้นเมืองของ[[จ้วง|ชาวจ้วง]]ซึ่งเรียกตนเองว่าผู้จ่อง วิวัฒนาการมาจาก[[อักษรจีน]]แบบเดียวกับ[[อักษรจื๋อโนม]]ที่ใช้เขียน[[ภาษาเวียดนาม]] โดยสือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า "นา" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า "หน่า" ผสมกับตัวที่อ่านว่า "หลาย"ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า "นา" เป็นต้น
 
ต้นกำเนิดของอักษรสือดิบนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่ามีกำเนิดสมัย[[ราชวงศ์ถัง]] บางส่วนกล่าวว่าเริ่มใช้ในสมัย[[ราชวงศ์ซ้อง]] อย่างไรก็ตาม สือดิบไม่ได้มีสถานะเป็นอักษรราชการ เพราะชาวจ้วงอยู่ภายใต้การปกครองของจีน จึงใช้[[ภาษาจีน]]และอักษรจีนเป็นภาษาและอักษรราชการ ส่วนมากชาวจ้วงใช้สือดิบบันทึกเพลงและวรรณกรรมพื้นบ้าน เขียนจดหมายหรือใช้ในทาง[[ไสยศาสตร์]]ในแวดวงของหมอผีโดยใช้ปนกับอักษรจีน สือดิบจัดว่าเป็นอักษรที่ไม่ได้พัฒนามากนัก ปัจจุบันมีสือดิบเพียง 2,000 ตัวซึ่งถือว่าไม่เพียงพอต่อการใช้งานในฐานะอักษรภาพ นอกจากนั้น ภาษาจ้วงยังมีแตกต่างไปหลายสำเนียง แต่ละท้องถิ่น กำหนดสือดิบของตนขึ้นใช้โดยไม่มีสือดิบมาตรฐานสำหรับคนที่อยู่ต่างท้องที่กัน