ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบควบคุมพีไอดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ระบบควบคุมแบบสัดส่วน-ปริพันธ์-อนุพันธ์''' ('''PID controller''') เป็นระบบคว...
 
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ระบบควบคุมแบบสัดส่วน-ปริพันธ์-อนุพันธ์''' ('''PID controller''') เป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งค่าที่นำไปใช้ในการคำนวนเป็นค่าความผิดพลาดที่หามาจากความแตกต่างของตัวแปรในกระบวนการและค่าที่ต้องการ ตัวควบคุมจะพยายามลดค่าผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการปรับค่าสัญญาณขาเข้าของกระบวนการ ค่าตัวแปรของพีไอดี PID ที่ใช้จะปรับเปลี่ยนตามธรรมชาติของระบบ
 
[[Image:Pid-feedback-nct-int-correct.png|right|thumb|300px|แผนภาพบล็อกของการควบคุมแบบพีไอดี]]
วิธีคำนวนของพีไอดีนวนของ PID ขึ้นอยู่กับสามตัวแปรคือค่าสัดส่วน, [[ปริพันธ์]] และ [[อนุพันธ์]] ค่า'''สัดส่วน'''กำหนดจากผลของความผิดพลาดในปัจจุบัน, ค่า''ปริพันธ์''กำหนดจากผลบนพื้นฐานของผลรวมความผิดพลาดที่ซึ่งพึ่งผ่านพ้นไป, และค่า'''อนุพันธ์'''กำหนดจากผลบนพื้นฐานของอัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าความผิดพลาด น้ำหนักที่เกิดจากการรวมกันของทั้งสามนี้จะใช้ในการปรับกระบวนการ
 
โดยการปรับค่าคงที่ในพีไอดี PID ตัวควบคุมสามารถปรับรูปแบบการควบคุมให้เหมาะกับที่กระบวนการต้องการได้ การตอบสนองของตัวควบคุมจะอยู่ในรูปของการไหวตัวของตัวควบคุมจนถึงค่าความผิดพลาด ค่าโอเวอร์ชูต (overshoots) และ ค่าแกว่งของระบบ (oscillation) วิธีพีไอดี PID ไม่รับประกันได้ว่าจะเป็นระบบควบคุมที่เหมาะสมที่สุดหรือที่ให้สามารถทำให้กระบวนการมีความเสถียรแน่นอน
 
การประยุกต์ใช้งานบางครั้งอาจใช้เพียงหนึ่งถึงสองรูปแบบ ขึ้นอยู่กับกระบวนการเป็นสำคัญ พีไอดีบางครั้งจะถูกเรียกว่าการควบคุมแบบ PI, PD, P หรือ I ขึ้นอยู่กับว่าใช้รูปแบบใดบ้าง