ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุปสมบท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''อุปสมบท''' (อ่านว่า อุปะ-, อุบปะ-) แปลว่า ''การเข้าถึง'' คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในพระ[[พุทธศาสนา]] หมายถึงการบวชเป็น[[ภิกษุ]]และ[[ภิกษุณี]] เรียกเต็มว่า '''อุปสมบทกรรม'''
 
อุปสมบทเป็น[[สังฆกรรม]]อย่างหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา [[พระพุทธเจ้า]]ทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติไว้รัดกุมและละเอียดมาก ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ดีไว้สืบสานพระพุทธศาสนา ใน[[ประเทศไทย]]จะถือเป็น[[ประเพณี]]เลยว่า ลูกชายของครอบครัวเป็นพุทธต้องบวชสักครั้งในชีวิตเพื่อให้แม่เกาะชายผ้าเหลือง ชดใช้ค่าน้ำนม อันเป็นสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาโดยเป็นจาก เปลี่ยนจากผู้นับถือ[[พระรัตนตรัย]]ขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย
 
== ประเภท==
#[[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]]การอุปสมบทที่กล่าวคำว่าท่านจงมาเป็นภิกษุเถิด เป็นการอุปสมบท ที่[[พระพุทธเจ้า]]บวชให้โดยพระองค์เอง
#[[ติสรณคมนูปสัมปทา]]การอุปสมบทที่ผู้บวชกล่าวถึงว่า[[พระรัตนตรัย]]ป็นที่พึงเป็นที่พึง ที่รำลึก เป็นการอุปสมบทโดยพระเถระที่พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งอนุญาติแทนพระองค์(เกิดจากการลำบากในการเดินทางมาทูลขอให้พะพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบทให้)
#[[ญิตติจตุตถกรรมวาจา]]การอุปสมบทด้วยการเห็นชอบของสงฆ์ ตามพระบรมพุทธานุญาติ ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ (เกิดจากการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้สงฆ์เป็นผู้ตัดสินในใจในการให้อนุญาติกุลบุตรผู้มาขออุปสมบท)
 
มีการอุปสมบทที่พิเศษแตกต่างไปจากนี้ เช่น การประทานโอวาท ๓ ประการแก่[[พระมหากัสสปะ]] การให้อุปสมบทด้วยการประทาน[[ครุธรรม]]๘ประการ ของแก่พระนาง[[กีสาโคตมี]]
และทรงเปลี่ยนให้การบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทา ให้เป็นรูปแบบการบวชของสามเณร สามเณรี สิกขมานา แทน
 
ส่วนคำว่า บรรพชา ซึ่งหมายถึงการบวชเป็น[[สามเณร]][[สามเณรี]] [[สิกขมานา]] [[แม่ชี]] และพราหมณ์ (ผู้ถือ[[อุโบสถศีล]]) ส่วน[[อาชีวัฏฐมกศีล]]แม้บางคนอาจถือแล้วนุ่งขาวปฏิบัติธรรม แต่จะไม่ใช่การบรรพชาแต่เป็นเพียงการรับศีลที่สูงกว่า[[ปัญจศีล]]เท่านั้น