ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาการระบาด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
วิทยาการระบาด ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ระบาดวิทยา ทับหน้าเปลี่ยนทาง: เอาตามคำที่ใช้แพร่หลาย�
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "วิทยาการระบาด" → "ระบาดวิทยา" ด้วยสจห.
บรรทัด 1:
'''ระบาดวิทยา''' หรือ '''วิทยาการระบาด''' ({{Lang-en|Epidemiology}}) เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ[[สุขภาพ]]และ[[ความเจ็บป่วย]]ของ[[ประชากร]] และเป็นพื้นฐานและ[[ตรรกะ]]ที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจใน[[สาธารณสุข]]และ[[เวชศาสตร์ป้องกัน]] สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับ[[เวชศาสตร์อิงหลักฐาน]] (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของ[[โรค]]และประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
 
งานของนักวิทยาการระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดวิทยาอาจอาศัย[[ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์]]หลายอย่างเช่น[[ชีววิทยา]]ในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่น[[สังคมศาสตร์]]และ[[ปรัชญา]]เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล
 
== นิรุกติศาสตร์ ==
วิทยาการระบาดวิทยามาจาก[[ภาษาอังกฤษ]]ว่า "Epidemiology" ซึ่งแปลตามตัวแปลว่า การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดบนประชากร มาจากรากศัพท์[[ภาษากรีก]]ว่า ''epi'' = บน, ระหว่าง; ''demos'' = ประชาชน, เขต; ''logos'' = การศึกษา, คำ, การบรรยาย ซึ่งบอกเป็นนัยว่าเป็นการประยุกต์เฉพาะกับประชากรมนุษย์ แต่วิชานี้สามารถใช้ในการศึกษาในประชากรสัตว์ (เรียกว่า วิทยาการระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ (veterinary epidemiology หรือ epizoology)) และยังประยุกต์ใช้ในการศึกษาประชากรพืช (เรียกว่า วิทยาการระบาดวิทยาทางพฤกษศาสตร์ (botanical epidemiology)) <ref>{{cite journal |last= Nutter, Jr. |first= F.W. |title= Understanding the interrelationships between botanical, human, and veterinary epidemiology: the Ys and Rs of it all |journal= Ecosys Health |volume=5 |issue=3 |pages=131–40 |date=1999 |doi=10.1046/j.1526-0992.1999.09922.x}}</ref>
 
== ประวัติ ==
ในบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าแพทย์ชาวกรีกนาม [[ฮิปโปกราเตส]] (Hippocrates) เป็นบิดาของวิชาวิทยาการระบาดวิทยา เขาเป็นคนแรกที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคและอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เขาเป็นคนแรกที่คิดคำว่า ''[[โรคเฉพาะถิ่น]]'' (endemic) สำหรับโรคที่โดยทั่วไปแล้วพบได้ในบางที่แต่ไม่พบในถิ่นอื่นๆ และ ''[[โรคระบาด]]'' (epidemic) สำหรับโรคที่เกิดขึ้นอย่างมากในช่วงเลาหนึ่งแต่ไม่พบในเวลาทั่วไป<ref name = hip>{{cite web |title= Changing Concepts: Background to Epidemiology |publisher = Duncan & Associates |url= http://www.duncan-associates.com/changing_concepts.pdf |accessdate= 2008-02-03}}</ref>
 
ทฤษฎีแรกๆ ทฤษฎีหนึ่งที่กล่าวถึงกำเนิดของโรค คือเชื่อว่าเกิดจากความผิดพลาดของความสุขหรือความสบายของมนุษย์ ข้อความข้างต้นนี้กล่าวโดยนักปรัชญา เช่น [[เพลโต]]<ref name= plato>{{cite web |title= ''The Republic'', by Plato |publisher=The Internet Classic Archive |url= http://classics.mit.edu/Plato/republic.4.iii.html |accessdate= 2008-02-03}}</ref> และ[[รุสโซ]]<ref name = rousseau>{{cite web |title= A Dissertation on the Origin and Foundation of the Inequality of Mankind |publisher= Constitution Society |url= http://www.constitution.org/jjr/ineq_03.htm |accessdate= }}</ref> และโดยนักวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่าง [[โจนาธาน สวิฟท์]] (Jonathan Swift) <ref name= swift>{{cite web |first= Jonathan |last= Swift |title= Gulliver's Travels: Part IV. A Voyage to the Country of the Houyhnhnms |url= http://www.jaffebros.com/lee/gulliver/bk4/chap4-7.html |accessdate= 2008-02-03}}</ref>
บรรทัด 20:
จอห์น กรอนท์ (John Graunt) คนขายเสื้อผ้าและนักวิทยาศาสตร์สมัครเล่นได้ตีพิมพ์บทความ ''Natural and Political Observations ... upon the Bills of Mortality'' (การสังเกตเชิงธรรมชาติและเชิงการเมือง ... ต่อร่างกฎหมายการเสียชีวิต) ในปี [[ค.ศ. 1662]] ซึ่งเขาได้วิเคราะห์จำนวนการเสียชีวิตใน[[ลอนดอน]]ก่อนการเกิดกาฬโรคระบาดในลอนดอน เพื่อแสดงเป็น[[ตารางชีพ]] (life tables) ซึ่งนับเป็นตารางแรกๆ ของโลก และได้รายงานแนวโน้มเวลาของโรคหลายโรคทั้งเก่าและใหม่ เขายังได้แสดงหลักฐานทางสถิติสำหรับทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับโรค และปฏิเสธแนวความคิดต่างๆ เกี่ยวกับการกระจายของโรค
 
[[จอห์น สโนว์]] (John Snow) แพทย์ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงจากการควบคุมการระบาดของ[[อหิวาตกโรค]]ในเขต[[โซโฮ]]ของลอนดอนในปี [[ค.ศ. 1854]] ได้ระบุสาเหตุของการเกิดการระบาดของโรคว่ามาจากเครื่องสูบน้ำสาธารณะบนถนนบรอด (Broad Street) และได้จัดการป้องกันการระบาดจนหมดไป เหตุการณ์ดังกล่าวถือกันว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติการ[[สาธารณสุข]] และถือเป็นการถือกำเนิดของศาสตร์ของวิทยาการระบาดวิทยา
 
ผู้บุกเบิกทางวิทยาการระบาดวิทยาคนสำคัญคนหนึ่งคือ พี. เอ. ชไลส์เนอร์ (P. A. Schleisner) แพทย์ชาว[[เดนมาร์ก]] ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของ[[บาดทะยัก]]ในเด็กแรกเกิด (tetanus neonatorum) บนเกาะเวสท์แมนนา (Vestmanna Islands) [[ประเทศไอซ์แลนด์]]ในปี [[ค.ศ. 1849]] และยังมีแพทย์ชาว[[ฮังการี]]ชื่อว่า อิกนาซ เซมเมลไวส์ (Ignaz Semmelweis) ซึ่งลดจำนวนการตายของทารกในโรงพยาบาลเวียนนาในปี [[ค.ศ. 1847]] โดยการเริ่มทำกระบวนการฆ่าเชื้อ การค้นพบของเขาได้ถูกตีพิมพ์ในปี [[ค.ศ. 1850]] แต่งานของเขาก็ถูกละเลยในเวลาต่อมา เพราะไม่มีการใช้กระบวนการฆ่าเชื้ออย่างแพร่หลายจนกระทั่งศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ [[โจเซฟ ลิสเตอร์]] (Joseph Lister) ค้นพบสารระงับเชื้อในปี [[ค.ศ. 1865]] ซึ่งต่อยอดมาจากการศึกษาของ[[หลุยส์ ปาสเตอร์]]
 
ในช่วงต้น[[คริสต์ศตวรรษที่ 20]] ได้มีการนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์เข้ามาใช้ในวิชาวิทยาการระบาดวิทยาโดย[[โรนัลด์ รอสส์]] (Ronald Ross), แอนเดอร์สัน เกรย์ แม็คเคนดริค (Anderson Gray McKendrick) และคนอื่นๆ
 
การค้นพบที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในปี [[ค.ศ. 1954]] เป็นการตีพิมพ์การศึกษาของแพทย์ชาวอังกฤษ โดยริชาร์ด ดอลล์ (Richard Doll) และออสติน แบรดฟอร์ด ฮิลล์ (Austin Bradford Hill) ซึ่งค้นพบความสัมพันธ์กันอย่างยิ่งของการสูบ[[บุหรี่]]และการเกิด[[มะเร็งปอด]]
 
== วิธีปฏิบัติทางวิทยาการระบาดวิทยา ==
นักวิทยาการระบาดวิทยาทำงานเกี่ยวข้องกับการออกแบบการศึกษาทั้งจากการเฝ้าสังเกตไปจนถึงการทดลอง ซึ่งแบ่งออกเป็นการศึกษาวิทยาการระบาดวิทยาเชิงพรรณนา, วิทยาการระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (จุดประสงค์เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ศึกษาแล้วหรือจากสมมติฐาน), และวิทยาการระบาดวิทยาเชิงทดลอง (ซึ่งเทียบเท่ากับการทดลองในเชิงคลินิก หรือการทดลองรักษาหรือปัจจัยแทรกแซงในชุมชน) การศึกษาทางวิทยาการระบาดวิทยามีจุดประสงค์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสปัจจัยเสี่ยง เช่น การดื่ม[[สุรา]]และสูบบุหรี่, เชื้อโรค, [[ความเครียด]], หรือ[[สารเคมี]] กับการป่วยหรือการตายโดยปราศจากอคติ การระบุความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุและผลกันระหว่างการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์เป็นแง่มุมสำคัญของวิชาวิทยาการระบาดวิทยา
 
ในทางวิทยาการระบาดวิทยาจะมีคำว่า 'epidemiologic triad' ซึ่งใช้อธิบายความเกี่ยวเนื่องกันของ ''ตัวให้อาศัย'' (Host), ''ตัวกระทำ'' (Agent), และ ''สิ่งแวดล้อม'' (Environment) ในการวิเคราะห์การระบาด
 
== การอนุมานเกี่ยวกับสาเหตุ ==
แม้ว่าวิชาวิทยาการระบาดวิทยาในบางครั้งจะเป็นเหมือนกลุ่มของเครื่องมือทางสถิติเพื่อช่วยในการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์ทางสุขภาพ แต่การจะทำความเข้าใจให้ลึกลงไปในศาสตร์แขนงนี้คือการค้นหาความสัมพันธ์เกี่ยวกับสาเหตุ (causal relationships)
 
แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำนายอย่างถูกต้องแม่นยำว่าระบบทางกายภาพที่ง่ายที่สุดจะแสดงอย่างไรในอนาคตข้างหน้า เช่นกันกับสาขาวิชาที่ซับซ้อนอย่างวิทยาการระบาดวิทยา ซึ่งต้องอาศัย[[ชีววิทยา]], [[สังคมศาสตร์]], [[คณิตศาสตร์]], [[สถิติศาสตร์]], [[มานุษยวิทยา]], [[จิตวิทยา]] และ[[นโยบาย]] จึงมีคำกล่าวโดยทั่วไปในงานเขียนเชิงวิทยาการระบาดวิทยาว่า "ความสัมพันธ์กันไม่ได้บอกเป็นนัยถึงความเป็นเหตุผลกัน" สำหรับนักวิทยาการระบาดวิทยาจะใช้ศัพท์ว่า [[การอนุมาน]] (inference) นักวิทยาการระบาดวิทยาจะรวบรวมข้อมูลและทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับชีวเวชศาสตร์และจิตสังคมในวิธีทำซ้ำเพื่อสร้างหรือขยายความทฤษฎี, เพื่อทดสอบสมมติฐาน, และเพื่อการศึกษา เพื่อยืนยันว่าความสัมพันธ์ใดที่เป็นเหตุเป็นผล และเป็นเหตุเป็นผลกันอย่างไร นักวิทยาการระบาดวิทยา รอธแมนและกรีนแลนด์ (Rothman and Greenland) ได้ให้ความสำคัญว่า ความเข้าใจที่ว่า "1 สาเหตุ - 1 ผล" นั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด ผลลัพธ์ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นการป่วยหรือการตายนั้นมีสาเหตุมาจากสาเหตุย่อยๆ หลายอย่างประกอบกันเป็นห่วงโซ่หรือโครงข่าย
<!--
 
บรรทัด 297:
{{เภสัชศาสตร์}}
{{แพทยศาสตร์}}
[[หมวดหมู่:วิทยาการระบาดวิทยา| ]]
[[หมวดหมู่:ประชากร]]
[[หมวดหมู่:สาธารณสุข]]