ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการคบเพลิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยน หมวดหมู่:แนวรบทะเลทราย → หมวดหมู่:การทัพแอฟริกาเหนือ ด้วยสจห.
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: tr:Torch Harekâtı; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 7:
| สถานที่ = [[โมร็อกโก]]และ[[แอลจีเรีย]]
| ผลการรบ = ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
| ผู้ร่วมรบ1 = {{flag|สหราชอาณาจักร}}<br />{{flag|สหรัฐอเมริกา}}
| ผู้ร่วมรบ2 = {{flagicon|France}} [[วิชีฝรั่งเศส]]
| กำลัง1 = 107,000
(33,000 คนในโมร็อกโก ประมาณ 39,000 คน ในแอลเจียร์,35,000 คนใกล้โอราน)
| กำลัง2 = 60,000 คน
| ความสูญเสีย1 = เสียชีวิต มากกว่า 479 คน<br />บาดเจ็บ 720 คน
| ความสูญเสีย2 = เสียชีวิต มากกว่า 1,346 คน<br />บาดเจ็บ 1,997 คน
}}
'''ปฏิบัติการคบเพลิง''' ({{lang-en|Operation Torch}}) เดิมเคยเรียกว่า '''ปฏิบัติการจิมแนสท์''' ({{lang-en|Operation Gymnast}}) เป็น[[ปฏิบัติการทางทหาร]]ใน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] โดยกองกำลังผสมอังกฤษ-อเมริกัน เพื่อรุกรานอาณานิคมแอฟริกาเหนือของ[[วิชีฝรั่งเศส]] ปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ[[แนวรบทะเลทราย|แนวรบแอฟริกาเหนือ]]
บรรทัด 19:
เนื่องจาก[[สหภาพโซเวียต]]ได้กดดันให้รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษเปิดแนวรบที่สองในทวีปยุโรปเพื่อกดดันกองทัพเยอรมันต่อกองทัพโซเวียตใน[[แนวรบตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|แนวรบตะวันออก]] ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาจึงเห็นพ้องกันว่าจะเริ่มปฏิบัติการ "ค้อนยักษ์" (Sledgehammer) เพื่อยกพลขึ้นบกในยุโรปที่ถูกยึดครองโดยกองทัพนาซีให้เร็วที่สุด แต่ปฏิบัติการนี้ถูกผู้บัญชาการทหารของอังกฤษคัดค้านว่าจะทำให้พันธมิตรตะวันตกต้องเจอกับความสูญเสียอย่างหนัก การโจมตีอาณานิคมแอฟริกาเหนือของวิชีฝรั่งเศสจึงถูกเสนอมาแทนโดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดกองกำลังฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือและทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรครองการควบคุม[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]ได้มากขึ้นเพื่อเตรียมการบุกยุโรปใต้ต่อไปในปี [[ค.ศ. 1943]] <ref>http://www.history.army.mil/books/70-7_07.htm</ref>
 
== การรบ ==
 
[[ไฟล์:OPERATION-TORCH-OVERVIEW.png|thumb|550px|แผนที่แสดงแผนปฏิบัติการคบเพลิง]]
แผนของฝ่ายสัมพันธมิตรคือการยกพลขึ้นบกเพื่อยึดท่าเรือและสนามบินที่สำคัญในโมร็อกโกและแอลจีเรีย เป้าหมายหลักของแผนปฏิบัติการนี้อยู่ที่เมืองสำคัญสามเมืองนั่นคือ [[กาซาบลังกา]],โอรานและแอลเจียร์ ถ้าแผนการสำเร็จลุล่วงด้วยดีฝ่ายสัมพันธมิตรจะบุกไปทางตะวันออกมุ่งสู่ตูนีเซียต่อไป
 
=== กาซาบลังกา ===
กองกำลังอเมริกันยกพลขึ้นบกช่วงก่อนฟ้าสางของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 โดยไม่มีการทิ้งระเบิดก่อนการโจมตีเพราะฝ่ายสัมพันธมิตรคาดการณ์ว่ากองกำลังวิชีฝรั่งเศสจะไม่ทำการต่อต้านใดๆซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาดของฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะมีบางส่วนของกองกำลังวิชีฝรั่งเศสที่ยิงต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตรแต่กองกำลังเหล่านั้นก็โดนยิงโต้ตอบและยอมจำนนในที่สุด
กองเรือของวิชีฝรั่งเศสที่เมืองกาซาบลังกาซึ่งประกอบด้วย เรือลาดตระเวน,เรือพิฆาตและเรือดำน้ำได้เข้าโจมตีสกัดกองกำลังอเมริกันที่กำลังยกพลขึ้นบกแต่ถูกทำลายโดยปืนเรือและเครื่องบินของอเมริกันทำให้เรือลาดตระเวน 1 ลำ,เรือพิฆาต 6 ลำและเรือดำน้ำ 6 ลำของวิชีฝรั่งเศสต้องจมลง ส่วนฝ่ายอเมริกันมีเรือพิฆาตโดนโจมตีเสียหาย 2 ลำ
 
=== โอราน ===
กองกำลังสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่หาดสามแห่ง สองแห่งอยู่ทางตะวันตกและอีกแห่งอยู่ทางตะวันออกของโอรานตามลำดับ การยกพลขึ้นบกทเพื่อยึดหาดที่อยู่ทางตะวันตกที่สุดต้องประสบปัญหาล่าช้ากว่าหาดอื่นเนื่องมาจากหลายสาเหตุทั้งการเคลียร์ทุ่นระเบิดที่ล่าช้าและสับสนและไม่มีการส่งหน่วยลาดตระเวนมาประเมินสภาพแวดล้อมของหาดทำให้เรือระบายพลบางลำเกยตื้นหรือโดนทุ่นระเบิดได้รับความเสียหาย ความผิดพลาดนี้จะถูกนำแก้ไขในปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งต่อๆไปของฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น [[ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด]] เป็นต้น
กองกำลังวิชีฝรั่งเศสยิงโต้ตอบกับกองเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นเวลาสองวันแต่หลังจากโดนระดมยิงด้วยปืนใหญ่จากเรือประจัญบานของอังกฤษในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1942 กองกำลังวิชีฝรั่งเศสที่ปกป้องเมืองโอรานก็ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
 
==== การบุกโดยพลร่ม ====
ปฏิบัติการคบเพลิงเป็นการบุกโดยใช้พลร่มครั้งแรกๆของสหรัฐอเมริกาโดยพลร่มที่เข้าร่วมปฏิบัติการนี้บินจากเกาะอังกฤษผ่านสเปนและจะถูกปล่อยลงใกล้กับเมืองโอรานเพื่อยึดสนามบินที่สำคัญสองแห่งคือ Tafraoui และ La Senia ซึ่งห่างจากโอราน 15 และ 5 ไมล์ทางใต้ของโอรานตามลำดับ ภารกิจนี้ถูกขัดขวางโดยสภาพอากาศที่แย่เหนือสเปน,ปัญหาเรื่องระบบนำร่องและระบบการสื่อสารและระยะทางที่ไกลมากจากจุดที่เครื่องขึ้นถึงจุดปล่อย แต่อย่างไรก็ตามสนามบินทั้งสองก็ถูกยึดได้และภารกิจนี้ก็ประสบความสำเร็จ
 
=== แอลเจียร์ ===
การบุกแอลเจียร์นำโดยกองพลทหารราบที่ 34 ของอเมริกันและกองพลน้อยอังกฤษที่ 78 ยกพลขึ้นบกที่หาดสามหาดใกล้แอลเจียร์ ซึ่งกองกำลังสัมพันธมิตรบางส่วนยกพลขึ้นบกผิดหาดแต่ก็ไม่มีผลกระทบที่เลวร้ายอะไรเพราะกองกำลังวิชีฝรั่งเศสไม่ได้ทำการต่อต้านใดๆ
การรบที่แอลเจียร์เกิดขึ้นที่เดียวคือ ที่ท่าเรือของเมืองแอลเจียร์ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการเทอมินอล โดยเรือพิฆาตสัญชาติอังกฤษ 2 ลำพยายามนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อส่งหน่วยเรนเจอร์ของอเมริกาลงไปเพื่อยึดท่าเรือก่อนที่กองกำลังป้องกันจะทำลายท่าเรือและจมเรือที่ทอดสมออยู่ การยิงจากปืนใหญ่ของฝ่ายป้องกันทำให้เรือพิฆาตของฝ่ายสัมพันธมิตร 1 ใน 2 ลำต้องถอนตัวจากปฏิบัติการแต่อีกลำสามารถเทียบท่าได้สำเร็จและหน่วยเรนเจอร์ก็สามารถยึดท่าเรือได้<ref>Stephen Roskill,''The War at Sea'' Vol II (1956) ISBN</ref>
กองกำลังสัมพันธมิตรที่ขึ้นบกสำเร็จแล้วก็เข้าโอบล้อมกองกำลังของวิชีฝรั่งเศสและในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองกำลังวิชีฝรั่งเศสที่เมืองแอลเจียร์ก็ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
 
== ผลลัพธ์ของการรบ ==
 
กองกำลังวิชีฝรั่งเศสยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ฝ่ายสัมพันธมิตรมุ่งหน้าบุกต่อไปยังตูนีเซีย
 
== อ้างอิง ==
 
<references />
{{โครงประวัติศาสตร์}}
 
 
[[หมวดหมู่:การทัพแอฟริกาเหนือ| ]]
{{โครงประวัติศาสตร์}}
 
[[ar:عملية الشعلة]]
เส้น 79 ⟶ 78:
[[sr:Операција Бакља]]
[[sv:Operation Torch]]
[[tr:Torch Harekâtı]]
[[uk:Операція «Факел»]]
[[wa:Operåcion Torch]]