ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ถนนหลวง''' ({{lang-en|Thanon Luang}}) เริ่มตั้งแต่[[ถนนมหาไชย]] ([[สามแยกเรือนจำ]]) ในท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ข้าม[[คลองรอบกรุง]] (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] จากนั้นตัดกับ[[ถนนวรจักร]] ([[สี่แยกวรจักร]]) [[ถนนยุคล 2]] (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง) และ[[ถนนพลับพลาไชย]] ([[ห้าแยกพลับพลาไชย]]) โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงป้อมปราบกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ จนกระทั่งไปจรด[[ถนนกรุงเกษม]]ที่[[ห้าแยกนพวงศ์]]
 
ถนนหลวงเป็นถนนที่สร้างในปี [[พ.ศ. 2436]] โดย[[พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา]] เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้กราบบังคมทูล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ว่า ควรจะตัดถนนใหม่ระหว่าง[[ถนนเจริญกรุง]] [[ถนนบำรุงเมือง]] ตั้งต้นตั้งแต่ป้อมเสือทยานไปบรรจบถนนริม[[คลองผดุงกรุงเกษม]]โดยข้าม[[คลองคูพระนคร]] ตรงไปออกถนนหน้า[[วัดเทพศิรินทราวาส]] ถึง[[สถานีรถไฟหัวลำโพง]] ตั้งชื่อว่าถนนหลวง ทรงให้เหตุผลในการตัดถนนสายนี้ว่า เพื่อสำหรับผู้ที่จะไปขึ้นรถไฟ เพื่อเดินทางไปนครราชสีมาได้สะดวก และเป็นที่งดงามและแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองด้วย โดยสร้างเป็นถนนสำหรับคนเดินและรถม้า ระหว่างการก่อสร้างถนนหลวงใน [[พ.ศ. 2440]] ปรากฏว่ามีผู้ขัดขวางการสร้างถนน โดยทำร้ายกุลีชาวจีนที่ก่อสร้างจนไม่สามารถก่อสร้างได้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูล[[พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์]] เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยทรงต่อว่ากระทรวงนครบาลซึ่งส่งมอบที่ดินให้กระทรวงโยธาธิการ เข้าใจว่าทรงจัดการเรื่องการเวนคืนที่ดินเรียบร้อยแล้ว และถือว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาลที่จะป้องกันระงับการทะเลาะวิวาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงนครบาลไม่ได้อารักขาการสร้างถนน ทำให้เกิดเหตุขึ้นและปล่อยให้เรื่องล่าช้าจนหมดเขตฟ้องร้อง ต้องจ่ายพระราชทรัพย์ทำขวัญกุลี