ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระดูกสันอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
กระดูกอก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กระดูกสันอก
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{กล่องข้อมูล กระดูก
| Name = กระดูกสันอก<br />(Sternum)
| Latin =
| GraySubject = 27
| GrayPage = 119
| Image = Gray115.png
| Caption = มุมมองทางด้านหน้าของ'''กระดูกสันอก'''และกระดูกอ่อนซี่โครง
| Image2 = Gray116.png
| Caption2 = มุมมองทางด้านหลังของ'''กระดูกสันอก'''
| Origins =
| Insertions =
บรรทัด 18:
}}
 
'''กระดูกสันอก''' (Sternum) เป็นกระดูกชนิด[[กระดูกแบบแบน]] (Flat bone) ที่วางตัวอยู่ตรงกลางของ[[ทรวงอก]] และติดต่อกับ[[กระดูกซี่โครง]]โดย[[ข้อต่อ]]และ[[กระดูกอ่อนซี่โครง]] (costas cartilage) เพื่อประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งของ[[ผนังช่องอก]] เพื่อป้องกันโครงสร้างที่อยู่ภายในช่องอกจากการกระทบกระเทือน นอกจากนี้ยังมีข้อต่อกับ[[กระดูกไหปลาร้า]] (clavicle) ซึ่งเป็นกระดูกที่ค้ำจุนส่วน[[ไหล่]]อีกด้วย
 
== กายวิภาคศาสตร์ ==
บรรทัด 24:
=== ลักษณะทั่วไป ===
 
กระดูกสันอกมีลักษณะยาวและแบน และเป็นกระดูกที่อยู่ตรงกลางของผนังทางด้านหน้าของ[[ช่องอก]] กระดูกสันอกในผู้ใหญ่จะมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 17 เซนติเมตร และกระดูกสันอกของเพศชายจะยาวกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ทางด้านบนสุดรองรับ[[กระดูกไหปลาร้า]]โดย[[ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์]] (sternoclavicular joint) ขอบด้านข้างจะมีรอยที่เป็นข้อต่อกับ[[กระดูกอ่อนซี่โครง]] และทางด้านบนสุดจะเป็นจุดเกาะต้นส่วนหนึ่งของ[[กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์]] (sternocleidomastoid muscle)
 
=== ส่วนต่างๆของกระดูกสันอก ===
 
กระดูกสันอกจะประกอบด้วยสามส่วน ได้แก่
* '''แมนูเบรียม''' (Manubrium) เป็นส่วนบนของกระดูกสันอก และมีส่วนที่ติดต่อกับ[[กระดูกไหปลาร้า]] [[กระดูกซี่โครง]]ซี่ที่ 1 และครึ่งหนึ่งของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 2 ทางด้านบนสุดยังมีรอยเว้าที่สามารถคลำได้จากภายนอก ซึ่งรอยเว้านี้คือ [[รอยเว้าซุปปราสเตอร์นัล]] (suprasternal notch)
* '''บอดี้''' (Body) เป็นส่วนกลางของกระดูกสันอก ซึ่งขอบด้านข้างจะมีการติดต่อกับ[[กระดูกอ่อนซี่โครง]] พื้นผิวทางด้านหลังยังเป็นจุดเกาะต้นของ[[กล้ามเนื้อทรานสเวอร์ซุส ทอราซิส]] (transverses thoracis muscle) ด้วย
* '''ซิฟอยด์ โปรเซส''' (Xiphoid process) หรือ'''ลิ้นปี่''' ซึ่งเป็นปลายทางด้านล่างสุดของกระดูกสันอก และมีจุดเกาะกับ[[กะบังลม]]
ส่วนต่อกันระหว่างส่วนแมนูเบรียมและส่วนบอดี้ จะมีความโค้งนูนออกมาเล็กน้อย ซึ่งสามารถคลำได้จากภายนอก บริเวณดังกล่าวนี้เรียกว่า '''มุมกระดูกสันอก''' (sternal angle) ซึ่งเป็นจุดอ้างอิงถึงกระดูกซี่โครงซี่ที่ 2 และมีประโยชน์ในการตรวจร่างกายส่วนอก
 
== การบาดเจ็บของกระดูกสันอก ==
 
การบาดเจ็บหรือการแตกหักของกระดูกสันอกนั้นพบได้ไม่บ่อย แต่มักมีสาเหตุมาจาก[[อุบัติเหตุ]] เช่นการกระแทกกับพวงมาลัยในกรณีของอุบัติเหตุทางรถยนต์ การแตกหักของกระดูกสันอกมักจะทำให้เกิดเศษกระดูกชิ้นเล็กน้อย จุดที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการหักของกระดูกสันอกมากที่สุดคือที่บริเวณมุมกระดูกสันอก ซึ่งเป็นส่วนที่ยื่นออกมาทางด้านหน้ามากที่สุดและมีความแคบมากที่สุดด้วย
 
== รูปประกอบเพิ่มเติม ==
บรรทัด 42:
<gallery>
ภาพ:Illu_thoracic_cage.jpg|โครงกระดูกของผนังช่องอก
ภาพ:Gray117.png|ขอบทางด้านข้างของกระดูกสันอก
ภาพ:Gray325.png|ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ (มุมมองทางด้านหน้า)
</gallery>