ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำเหมืองถ่านหิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{wikify}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''การทำเหมืองถ่านหิน''' คือการขุดเจาะหรือเปิดหน้าดินลงไปเพื่อที่จะนำแร่ธาตุที่มนุษย์ต้องการในดินนำมาใช้ โดยทั่วไปแล้วแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ การทำเหมืองแบบเหมืองเปิดและการทำเหมืองแบบเหมืองใต้ดิน การพิจารณาเลือกการทำเหมืองในแต่ละแบบนั้นมีข้อจำกัดข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยยึดถือลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งแร่และความคุ้มค่าทาง[[เศรษฐศาสตร์]]เป็นหลักในการพิจารณา การทำเหมืองในแต่ละแบบมีรายละเอียดในการดำเนินการที่ต่างกันออกไป
 
== เหมืองถ่านหินแบบเปิด ==
[[ไฟล์:Coal mine Wyoming.jpg|thumb|right|250px]]
 
การทำเหมืองถ่านหินแบบเหมืองเปิดนั้น เป็นการทำเหมืองจากผิวดินลึกลงไปหาชั้นแร่แล้วทำการขุดแร่นั้นขึ้นมาใช้ การทำเหมืองแบบนี้มีที่ดำเนินการอยู่ 3 ประเภทคือ
 
* '''แบบเปิดปากหลุม''' - จะทำโดยการเปิดหน้าดินเป็นบ่อลึกลงไปจนถึงชั้นแร่แล้วจึงทำการขุดแร่ออกมาใช้งาน การทำเหมืองประเภทนี้จะแบ่งทำเป็นชั้นๆ ซึ่งอาจจะมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นแร่และความสามารถของเครื่องจักรกลที่จะนำมาใช้ทำงาน ลักษณะของเหมืองจะคล้ายกับรูปปิรามิดฐานกลมพุ่งลงดินหรือเหมือนกับการขุดบ่อลึกลงไปเป็นขั้นบันได การทำเหมืองเป็นชั้นนี้ทำให้เกิดความมั่นคงของผนังบ่อเหมือง และมีความปลอดภัยในการทำงาน ความสูงของชั้นจะกำหนดตามความสามารถของเครื่องจักรกลที่ใช้ทำการขุด ส่วนความกว้างของชั้นขณะทำงานนั้นจะต้องมีความกว้างเพียงพอสำหรับใช้เครื่องจักรกลต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างสะดวก
 
* '''แบบเป็นบ่อ''' - เป็นการทำเหมืองเปิดอีกวิธีหนึ่งหลักใหญ่ของการทำเหมืองแบบนี้ก็คือการลดการขนหน้าดิน ออกไปทิ้งยังที่ทิ้งดินซึ่งอยู่ไกลออกไปแต่จะกองไว้ข้างบ่อเหมือง การเปิดเครื่องจักรกลที่ทำงานดิน จะต้องเป็นเครื่องจักรกลที่รวมความสามารถในการขุดและขนไว้นอกบ่อเหมืองด้วยรถบรรทุกหรือระบบสายพานลำเลียง เช่น ดินส่วนที่เป็นผิวดินจะต้องขนไปกองไว้นอกบ่อเหมืองเป็นการชั่วคราว เพื่อจะนำกลับมาใช้ในการฟื้นสภาพเหมืองในภายหลัง โดยลักษณะการทำเหมืองแบบนี้ จะทำให้ปริมาณการเปิดหน้าดินและใช้เนื้อที่การทำเหมืองน้อยกว่าการทำเหมืองแบบแบบเปิดปากหลุม สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านเครื่องจักรกลสำหรับขนดินและค่าใช้จ่ายทางด้านการฟื้นฟูสภาพเหมืองลงได้มาก ลักษณะของแหล่งแร่ที่เหมาะกับการทำเหมืองแบบนี้ ประกอบด้วย
** ต้องเป็นแหล่งที่มีขนาดใหญ่และชั้น[[ถ่านหิน]]มีความต่อเนื่องกัน
** ชั้นถ่านหินจะต้องอยู่ในแนวราบหรือมีความลาดเอียงไม่มากนัก
** ความลึกของชั้นถ่านหินต้องไม่ลึกจนเกินความสามารถของเครื่องจักรกลขุด
 
* '''แบบอุโมงค์''' - การทำเหมืองแบบนี้ไม่มีการเปิดหน้าดินจะมีเพียงการขุดเจาะเอาถ่านมาใช้เท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำงานเสริมหรือต่อจากการทำเหมืองแบบเปิดปากหลุมหรือแบบบ่อแล้ว โดยมากมักจะทำการเจาะในชั้นถ่านที่เบาบาง ซึ่งไม่สามารถขุดคัดแยกจากการทำเหมืองโดยวิธีอื่นแล้ว การทำเหมืองวิธีนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันเนื่องจากมีอัตตราการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมต่ำ ยกเว้นในเหมืองที่มีถ่านหินคุณภาพสูงสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นที่มีราคาสูงกว่าการใช้เป็นเชื้อเพลิง
 
== ขั้นตอนการทำเหมืองเปิด ==
เส้น 29 ⟶ 27:
 
== อ้างอิง ==
{{ต้องการเริ่มอ้างอิง}}
 
* เทคโนโลยีการทำเหมืองถ่านหิน" โดย ประเสริฐ ชุมรุม และคณะฯ ISBN 974-8006-33-66
{{จบอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==