ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาถิ่นพิเทน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน''' เป็นภาษาถิ่นย่อยของ[[ภาษาเจ๊ะเห|ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ]]ที่ใช้อยู่ใน[[ตำบลพิเทน]] [[อำเภอทุ่งยางแดง]] และ[[ตำบลกะรุบี]] [[อำเภอกะพ้อ]] [[จังหวัดปัตตานี]] โดยภาษาสำเนียงพิเทนมีระบบวรรณยุกต์แตกต่างไปจากกลุ่มตากใบ และมีแนวโน้มว่า[[ภาษามลายูปัตตานี]]จะเข้าใช้แทนที่ในที่สุด<ref>http://dc.oas.psu.ac.th/dcms/files//01558/Chapter2 (25-60).pdf</ref> จากการศึกษาพบว่าภาษาถิ่นพิเทนและภาษามลายูปัตตานีมีคำยืมและคำใช้ด้วยกันถึง 97%<ref>http://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=64</ref>
 
== ลักษณะของของภาษาสำเนียงพิเทน ==
ภาษาสำเนียงพิเทนเป็นรอยต่อระหว่าง[[ภาษาไทยถิ่นใต้]] กับภาษาสำเนียงตากใบ พร้อมกับอิทธิพลของภาษามลายูปัตตานีที่รายล้อม ทำให้ภาษาสำเนียงพิเทนเกิดการผสมผสานระหว่างภาษาไทยถิ่นใต้กับภาษาตากใบ และได้นำคำมลายูปัตตานีมาใช้ จนภาษามลายูปัตตานีมีอิทธิพลมากต่อภาษาถิ่นพิเทน<ref>http://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=63</ref>
 
 
# ลักษณะโครงสร้างของคำ และการสร้างคำในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับภาษาไทยมาตรฐาน จะเห็นได้ว่า
## ภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทน มีโครงสร้างของคำพยางค์เดียว และคำสองพยางค์เหมือนกับภาษาไทยมาตรฐาน
## ภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทน มีลักษณะการสร้างคำซ้ำ คำซ้อนและคำประสมเหมือนกับภาษาไทยมาตรฐาน
## การเรียงลำดับคำ คำบางคำในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทนจะเรียงลำดับคำสับที่กับภาษาไทยมาตรฐาน
## การสร้างคำภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทนบางคำ จะนำเอาภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีมาประสมกับคำภาษาไทย
# เรื่องคำและความหมายภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทน เมื่อเอาคำและความหมายมาเปรียบเทียบกับภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป ผลของการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า การใช้คำภาษาไทยถิ่นใต้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ คำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันกับภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป และคำศัพท์ที่ใช้ต่างกันกับภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป
# เปรียบเทียบคำและความหมายภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป กับภาษาไทยมาตรฐานซึ่งพอจะสรุปลักษณะการใช้คำในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทนได้ดังนี้
## คำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันและความหมายตรงกัน
## คำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันแต่ความหมายต่างกัน
## คำศัพท์ที่ใช้ต่างกันแต่ความหมายเดียวกัน
 
== อิทธิพลของภาษามลายูต่อภาษาสำเนียงพิเทน ==
การนำคำภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี มาใช้ในภาษาถิ่นใต้ตำบลพิเทนเป็นอันมาก ทำให้ภาษาถิ่นใต้ตำบลพิเทนได้รับอิทธิพลทั้งด้านเสียงและคำจากภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีอีกด้วย ภาษาถิ่นพิเทนที่มีใช้ในปัจจุบันนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษามลายูปัตตานีในด้านต่างๆ ได้แก่
* อิทธิพลด้านเสียง
* อิทธิพลด้านคำ
** คำยืม
** การสร้างคำ
 
== ภาษาสำเนียงพิเทนในปัจจุบัน ==
ปัจจุบันคนในตำบลพิเทนพูดภาษาไทยถิ่นพิเทนน้อยลง ส่วนมากจะใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน ตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาส่วนใหญ่ การใช้ภาษาเดิมของถิ่นนี้มีคงมีใช้กันบางหมู่บ้านเช่น หมู่ 2,3 และ 4 ผู้ที่สามารถใช้ภาษาสำเนียงพิเทนได้ดีคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อายุน้อยกว่านี้บางคนไม่ยอมพูดภาษาของตน หรือพูดได้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะคำศัพท์บางคำไม่สามารถบอกได้ว่าภาษาเดิมใช้ว่าอย่างไร และจะใช้คำศัพท์ในภาษามลายูปัตตานีแทน จนคิดว่าภาษามลายูปัตตานีเป็นของตนเอง
 
== อ้างอิง ==
{{reflist}}
 
[[หมวดหมู่:ภาษาไทย|พพิเทน]]
[[หมวดหมู่:ภาษาในประเทศไทย|พพิเทนถิ่น]]