ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นามธารี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 1943066 สร้างโดย 58.8.181.120 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''นามธารี''' (Namdhari) '''ไม่ได้เป็น'''นิกายหนึ่งของ[[ศาสนาซิกข์]] (Sikh) ศาสนาซิกข์นั้นเป็นศาสนาซึ่งมีชื่อตามลักษณะคำสอนของศาสนา เพราะคำว่า “ซิกข์” (Sikh) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “สิข” เป็นภาษาปัญจาบีซึ่งเป็นภาษาหลักของศาสนา ตรงกับคำใน[[ภาษาบาลี]]ว่า “[[สิกขา]]” หรือใน[[ภาษาสันสกฤต]]ตรงกับคำว่า “ศิษย์” ซึ่งหมายถึง ผู้ศึกษา ผู้ใฝ่เรียน ลูกศิษย์หรือสาวก ดังนั้น ทุกคนจึงเป็นศิษย์ของครู หรือ “[[คุรุ]]” (Guru) ซึ่งหมายถึงองค์พระศาสดา และการเข้าถึงหลักการของศาสนาจะต้องผ่านทาง “[[คุรุ]]” หรือครูเท่านั้น จึงทำให้ต้องมี “[[คุรุ]]” สืบต่อมาโดยตลอดไม่ขาดช่วงจนถึงปัจจุบัน
 
'''ศาสนาซิกข์ ไม่มีนิกายใดๆทั้งสิ้น'''
นามธารี แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) จึงกล่าวได้ว่า ชาวซิกข์-นามธารี คือผู้ที่มีความรัก เชื่อถือศรัทธา และยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อฟังคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาผู้ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ เสมือนอาจารย์ผู้สั่งสอนศิษย์ เพราะชาวซิกข์-นามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “[[คุรุ]]” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
 
 
== ประเภทศาสนา ==
ศาสนาซิกข์-นามธารีเป็นศาสนาประเภท เอกเทวนิยม (Monotheism) คือ เชื่อว่ามีพระเจ้าสูงสุดเพียงพระองค์เดียว แต่พระองค์มีหลายพระนามตามแต่คนจะเรียกขาน อีกทั้งศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารียังเชื่อว่าองค์พระศาสดาทุกพระองค์ล้วนเป็นปางอวตารของพระผู้เป็นเจ้า เสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า
 
 
== ภาษา ==
ใช้ภาษาของรัฐปัญจาบ ซึ่งเรียกว่า ภาษา [[ภาษาปัญจาบ| “ปัญจาบี”]] (Punjabi) เป็นหลัก (หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า [[อักษรคุรมุขี| “คุรุ มุขขิ”]] (Gur Mukhi) ซึ่งแปลว่า ภาษาของครู) ส่วนภาษารองขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่ศาสนิกชนอาศัยอยู่
 
 
== อาหารการกิน ==
เนื่องจากหลักของศาสนาซิกข์-นามธารีเน้นสอนให้มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ ศาสนิกชนจึงเป็นนัก[[มังสวิรัติ]]ประเภท [[มังสวิรัติ|Lacto Vegetarian]] คือรับประทานเพียงพืช ผัก ผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำนม และผลิตภัณฑ์จากน้ำนมทุกประเภท แต่หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหาร และยาที่มีส่วนผสมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เช่น ไข่ ปลา ไก่ หมู กุ้ง วัว เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารซึ่งมีโทษต่อร่างกาย เช่น ไม่สูบ[[บุหรี่]] ไม่ดื่ม[[เหล้า]] [[เบียร์]] [[ไวน์]] [[สุรา]] เป็นต้น รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของ[[แอลกอฮอล์]] หรือ [[คาเฟอีน]] (เช่น [[น้ำอัดลม]] [[ชา]] [[กาแฟ]] [[เครื่องดื่มชูกำลัง]] ฯลฯ) และไม่เสพสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษทุกประเภท
 
 
== ศูนย์กลางแห่งศาสนา ==
เมือง “ศิริ แภณี ซาฮิบ” (Sri Bhani Sahib) ในจังหวัดลุเธียนา (Ludhiana) [[รัฐปัญจาบ]] ([[รัฐปัญจาบ|Punjab]]) ประเทศ[[อินเดีย]] ([[India]]) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากจะเป็นที่ประทับขององค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ยัคยีต ซิงห์ ยี แล้ว ยังมีศาสนสถาน และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในประวัติศาสตร์ซึ่งศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารี ตลอดจนนักจาริกแสวงบุญจากทั่วโลกมานมัสการ ร่วมบำเพ็ญเพียรสวดมนต์ และอ่านพระคัมภีร์อยู่เป็นประจำ
 
 
== ศาสนสถาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ==
ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีในประเทศไทยมักเรียกศาสนสถานของตนว่าวัด หรือ “คุรุ ทวารา” (Gur Dwara) ในภาษาปัญจาบีซึ่งหมายถึงประตูสู่หนทางแห่งพระผู้เป็นเจ้า โดยมีสถานที่ตั้งกระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีศาสนิกชนอาศัยรวมตัวกัน และถือว่า “คุรุ ทวารา” ทุกแห่งล้วนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
 
สำหรับในประเทศไทยมี “คุรุ ทวารา” ตั้งอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 127/1 ซอยอโศก ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 และที่จังหวัดเชียงใหม่ “คุรุ ทวารา” ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 ถนนช้างม่อย ซอย 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
 
บุคคลทุกเพศทุกวัยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ ความเชื่อทางศาสนา และประเพณี สามารถเข้า “คุรุ ทวารา” ได้ โดยก่อนจะเข้าไปทุกคนต้องถอดรองเท้า (ให้คลุมศีรษะของตนด้วยผ้าขาว ในกรณีที่ไม่ได้โพกผ้า) จากนั้นให้เดินอย่างสำรวมเพื่อไปทำความเคารพสักการะต่ออาสนะขององค์พระศาสดา แล้วเดินมานั่งแยกฝั่งหญิง และชายเพื่อสวดมนต์ทำสมาธิอย่างสงบบนอาสนะของตนที่ปูบนพื้น (หากนำมาด้วย) โดยเท่าเทียมกันทุกคน นอกจากการสวดมนต์แล้วใน “คุรุ ทวารา” จะมีการเทศนา รวมทั้งร้องเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า และอ่านพระคัมภีร์ เมื่อศาสนกิจได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะมีการแจกสิ่งของ (มักจะเป็นผลไม้ ขนม หรือน้ำนมบรรจุกล่อง) ซึ่งผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาถวาย และที่สำคัญจะมีการแจกขนมหวานซึ่งถือว่าได้รับการประสาทพรโดยพระผู้เป็นเจ้าแล้ว เรียกว่า “กร่า ปัรชาด” (Karah Parshad) ซึ่งทำจากแป้งสาลี น้ำตาล และเนยผสมรวมในอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยผู้รับขนมหวานดังกล่าวต้องนั่งกับพื้นอย่างสำรวมเรียบร้อย และใช้มือขวาวางประสานทับบนมือซ้ายเพื่อรับ “กร่า ปัรชาด”
 
ใน “คุรุ ทวารา” นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับให้ศาสนิกชนประกอบศาสนกิจแล้ว ยังมี “โรงทาน” (Langar) อยู่ภายในด้วย โดยก่อนเข้าโรงทาน ให้ทุกคนถอดรองเท้า และล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ซึ่งในโรงทานจะบริการอาหารโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับศาสนิกชนทุกคน รวมไปถึงนักธุดงค์ นักเดินทาง และคณะที่มาเยี่ยมเยียน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเสมอภาค และความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ในโรงทานแห่งนี้ไม่ว่าผู้เข้ามาจะมีฐานะสูงหรือต่ำ ยากดีมีจน ทุกคนล้วนรับประทานอาหารโดยใช้ จาน ช้อน แก้วน้ำ เหมือนกัน นั่งบนพี้นเสมอภาคร่วมกันเพื่อลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งชั้นวรรณะในสังคม และจะมี “อาสาสมัครเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน” (Sewa Dar) คอยบริการเดินตักอาหาร หรือแจกน้ำดื่มให้ทุกคน และผู้มีจิตศรัทธายังสามารถผลัดเวรกันตักอาหาร แจกน้ำดื่มได้ตามความสมัครใจ ตลอดจนสามารถบริจาคทรัพย์ หรืออาหารสำเร็จรูป รวมไปถึงวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารได้ตามแรงศรัทธาด้วย โรงทานนี้ดำเนินการด้วยความร่วมใจ เสียสละของศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีโดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนมากไปกว่าการเติมเต็มความต้องการในด้านอาหารให้แก่ร่างกายของทุกคน
 
 
== พระและนักบวชในศาสนา ==
ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนสามารถประกอบศาสนพิธีต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกันเสมือนเพื่อนร่วมชั้นเรียนซึ่งมีเพียง “[[คุรุ]]” หรือองค์พระศาสดาเป็นผู้สั่งสอน พระองค์สนับสนุนให้ครองเรือน ไม่สนับสนุนการใช้ชีวิตโดดเดี่ยวสละโลก ศาสนาซิกข์-นามธารีจึงไม่มีพระหรือนักบวชในศาสนา ศาสนิกชนทุกคนต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตนเองโดยสุจริต และทำงานเพื่อช่วยกันพัฒนาสังคม
 
องค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ อมรทาส (พระศาสดาองค์ที่ 3) ทรงจัดให้มีศาสนสถานทุกหมู่บ้านที่มีศาสนิกชนพักอาศัยอยู่ และได้กำหนดเขตการเผยแพร่ศาสนาในประเทศอินเดียออกเป็น 22 แต่ละเขตมีผู้เผยแพร่ รับผิดชอบ และประกอบศาสนพิธี โดยองค์พระศาสดาทรงฝึกศาสนทูตเพื่อให้เดินทางเผยแพร่ศาสนาทั่วประเทศอินเดีย ทั้งหญิงชายรวม 146 คนออกดูแลตามเขตที่กำหนด
 
ศาสนทูตเหล่านี้ได้รับไทยทานจากศาสนิกชนเพื่อนำไปถวายแด่องค์พระศาสดา แต่เมื่อเวลาเนิ่นนานเข้าทำให้ศาสนทูตบางคนมีอำนาจเหนือศาสนิกชนทั่วไป และเริ่มทำลายศรัทธาของศาสนิกชนลง จนกระทั่งในรัชสมัยของ องค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ โคบินท์ ซิงห์ (พระศาสดาองค์ที่ 10) พระองค์ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของศาสนิกชนจากการประพฤติมิชอบของศาสนทูตบางคน จึงทรงลงโทษ และให้ยกเลิกศาสนทูตทั้งหมดโดยเด็ดขาดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ฉะนั้น สมณะ หรือพระสงฆ์ รวมถึงนักบวช และความคิดเรื่องการมีสมณะเพศ อันตรงข้ามกับคฤหัสถ์นั้นจึงไม่มีในศาสนาซิกข์-นามธารี ผู้สอนศาสนาจึงไม่มีเครื่องแบบเฉพาะพิเศษแตกต่างจากคนอื่น แม้นักบุญผู้หลุดพ้นก็ไม่ได้ถูกกำหนดให้ครองพรหมจรรย์ ในศาสนสถาน ศาสนิกชนทุกเพศทุกวัยสามารถร่วมประกอบศาสนพิธีได้อย่างเท่าเทียมด้วยความสมัครใจ ผู้อ่านพระคัมภีร์ หรือผู้ร้องเพลงสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าต่างล้วนไม่มีตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น
 
 
== วิถีชีวิต ==
ชาวซิกข์-นามธารีทุกคนถูกปลูกฝังคุณธรรมเข้าไปในชีวิต และจิตวิญญาณตั้งแต่แรกเกิดเสียด้วยซ้ำ เพราะเหตุที่บิดามารดา และบรรพบุรุษก็ดำรงชีวิตอันเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม และความดีงาม รวมทั้งสอดคล้องต่อหลักธรรมชาติ และเน้นความเรียบง่ายตลอดมา ดังคำกล่าวที่ว่า “Simple living, High thinking”
เมื่อทารกใหม่ได้ลืมตาดูโลกขึ้นมาในครอบครัวของศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารี สิ่งแรกที่จะได้รับคือ “พระนาม” (Naam) ของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการสวดมนต์ไปตลอดชีวิต โดยจะมีคนพูดอยู่ข้างหู พร้อมทั้งให้รับน้ำอมฤตด้วย อาหารที่ทารกจะได้รับไปตลอดชีวิตคืออาหารมังสวิรัติซึ่งไม่เบียดเบียนชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งปวงเพื่อนำมาบริโภค และล้วนแล้วแต่เป็นอาหารธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ด้วยเหตุที่คำนึงถึงคำกล่าวที่ว่า “You are what you eat” ฉะนั้นศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกครอบครัวจึงใส่ใจและพิถีพิถันเป็นพิเศษในการประกอบอาหารเสมอ โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงในครอบครัวจะสวดมนต์ไปด้วยระหว่างทำอาหารทุกมื้อให้ทุกคนในครอบครัวรับประทาน เพราะถือว่าการทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ระหว่างประกอบอาหารนั้นย่อมทำให้อาหารนั้นบริสุทธิ์มากขึ้นไปด้วยเพื่อให้ผู้รับประทานได้รับแต่สิ่งที่ดีต่อร่างกายและจิตวิญญาณในขณะเดียวกัน โดยศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีส่วนใหญ่มักนำอาหารจากที่บ้านไปทานที่ทำงาน หรือโรงเรียนเสมอ
ทุกเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีจะตื่นและอาบน้ำชำระล้างร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า หลังจากนั้นจะชำระล้างจิตใจด้วยการทำสมาธิสวดมนต์ระลึกถึงพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเสมอ และพร้อมที่จะออกไปทำงานด้วยกายและใจที่สงบ มีสติและเป็นสมาธิ ดังคำกล่าวที่ว่า “มือประกอบกิจ จิตอาราธนา” การดำเนินชีวิตรวมทั้งการค้าขายก็จะคงไว้ซึ่งคุณธรรมเสมอ โดยไม่เอาเปรียบทุกสรรพชีวิตทั้งทางกาย วาจา และใจ เมื่อกลับมาบ้านเวลาเย็นก็จะอาบชำระล้างร่างกายอ่านพระคัมภีร์ และศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีมักเข้านอนแต่หัวค่ำเสมอ เพื่อที่จะตื่นแต่เช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีทั้งต่อสุขภาพกายและใจ โดยศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีจะปฏิบัติวัตรเช่นนี้เป็นประจำ ส่วนในวันอาทิตย์เช้าก็จะไปร่วมกันทำสมาธิ ฟังเทศน์ฟังธรรมอย่างพร้อมเพรียงกันที่ศาสนสถานเสมอ
ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีมีลักษณะอันโดดเด่นเพราะการแต่งตัว เช่น การโพกศีรษะด้วยผ้าสีขาว การไว้ผมยาว และหนวดเครา ผู้หญิงก็จะไว้ผมยาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาที่ตั้งแต่เกิดมาพวกเขาไม่เคยตัดแต่งใดๆ เลย ปล่อยไว้ตามธรรมชาติเสมอ ที่ข้อมือของศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกเพศทุกวัยจะมีกำไลเหล็กสวมใส่ไว้ คนที่มีลักษณะดังกล่าวเรียกตัวเอง “ซิกข์-นามธารี” และคำเรียกข้างหลังชื่อผู้ชายก็ต้องมีคำว่า “ซิงห์” ซึ่งหมายถึงสิงโต หรือราชสีห์ตามนิยายโบราณว่าเป็นพญาของสัตว์ทั้งหลาย ส่วนผู้หญิงจะมีคำเรียกข้างหลังชื่อว่า “กอร์” ซึ่งหมายถึงเจ้าชาย ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่และอาชีพของตน ชาวไทยมักรู้จักศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีในแถวสำเพ็ง และพาหุรัด เพราะพวกเขาเป็นพ่อค้าขายผ้าเป็นส่วนมาก
ในเรื่องของคู่ชีวิต ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีส่วนใหญ่มักจะให้ผู้ใหญ่ในครอบครัวซึ่งมีประสบการณ์ในเรื่องชีวิตคู่มาแล้วช่วยตัดสินใจเลือกคู่ครองให้ ซึ่งโอกาสในการผิดพลาด และเลิกรากันมีน้อยมาก พิธีมงคลสมรสของศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีจะถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่ายและประหยัด ซึ่งบ่อยครั้งที่มีการสมรสหมู่มากกว่าหนึ่งคู่ และศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทั้งชายหญิงจะถูกปลูกฝังในเรื่องการใช้ธรรมะควบคู่ไปกับการครองเรือนเสมอ
 
วิถีชีวิตดังกล่าวดำเนินไปทุกวันทั้งในด้านความคิด วิจารณญาณ อาหาร และอาชีพอันสุจริต ความยึดมั่นในคุณงามความดี รวมทั้งคุณธรรม การไม่เบียดเบียนทุกสรรพชีวิต สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนได้รับการปลูกฝังให้อยู่อย่างเรียบง่าย และพอเพียงเผื่อแผ่ผู้อื่นเสมอ โดยที่สิ่งเหล่านี้ค่อยๆ ซึมซับเข้าไปในชีวิตทุกวันจนกลายเป็นความเคยชินในการดำรงชีวิตอันดีงามอย่างไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยากเลย
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* http://108manka.com/
* http://thainamdhari.com/
{{commonscat|Sikhism|ศาสนาซิกข์}}
 
[[หมวดหมู่:ศาสนาซิกข์]]
{{โครงศาสนา}}
 
{{Link FA|en}}
 
[[en:Namdhari]]
[[pl:Namdhari]]