ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Sontaya lim/เชลแล็ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sontaya lim (คุย | ส่วนร่วม)
ทดลองใส่เนื้อเรื่องก่อนใส่รูปและตาราง
 
Sontaya lim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
'''คุณสมบัติของเชลแล็ก'''
เชลแล็กมีคุณสมบัติที่น่าสนใจในหลายเรื่องได้แก่
(1) การซึมผ่านไอน้ำที่ต่ำ สารที่ใช้สำหรับป้องกันความชื้น ควรเตรียมฟิล์มได้และให้การซึมผ่านไอน้ำที่ต่ำ จากการศึกษาการซึมผ่านของไอน้ำผ่านฟิล์มโดยเตรียมฟิล์มของเชลแล็ก เทียบกับฟิล์มที่เตรียมจากเซลลูโลสอะซีเทตทาเลต (cellulose acetate phthalate) และ Eudragit S พบว่าเชลแล็กให้ค่าสัมประสิทธิการซึมผ่านไอน้ำต่ำที่สุด[7] คุณสมบัติข้อนี้เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้เชลแล็กถูกนำมาใช้มากตั้งแต่อดีตเพื่อการปกป้องความชื้น
(2) การละลายขึ้นกับพีเอช เชลแล็กประกอบด้วยพอลิเมอร์ที่มีกลุ่มคาร์บอกซิลิก ทำให้มีคุณสมบัติไม่ละลายที่พีเอชต่ำแต่จะละลายได้มากขึ้นเมื่อเพิ่มพีเอช โดยเชลแล็กจะเริ่มละลายได้ที่พีเอชประมาณ 7 ทำให้ป้องกันการแตกตัวในกรดในกระเพาะอาหารได้ โดยนำเชลแล็กมาเคลือบยาเพื่อการนำส่งยาสู่ลำไส้
(3) ความสวยงามของฟิล์ม ฟิล์มที่เตรียมจากเชลแล็กจะมีค่าดัชนีหักเห (refractive index) ที่ค่อนข้างสูง (1.521-1.527) สามารถสะท้อนแสงได้ดีทำให้ได้ฟิล์มที่มีคุณสมบัติเงางาม คุณสมบัติข้อนี้เสริมประโยชนในแง่ความสวยงามของผลิตภัณฑ์ที่ถูกเคลือบ เช่น การนำไปใช้สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์รวมทั้งการเคลือบผลไม้โดยเพิ่มจากประโยชน์ในแง่ของการป้องกันน้ำของเชลแล็ก
(4) การนำความร้อนและไฟฟ้าต่ำ เชลแล็กจะมีค่าการนำความร้อน (thermal conductivity) ที่ค่อนข้างน้อยประมาณ 0.24 วัตต์เมตร-1องศาเซลเซียส-1 (ทองแดงและแก้วมีค่าเท่ากับ 401 และ 1 วัตต์ เมตร-1 องศาเซลเซียส-1ตามลำดับ [9]) นอกจากนี้แล้วยังมีการนำไฟฟ้าที่ต่ำมีความเป็นฉนวนที่ดี โดยปกติวัตถุที่จัดว่านำไฟฟ้าจะมีความต้านทานพื้นผิว (surface resistivity) น้อยกว่า 105 โอห์ม และจะจัดว่าเป็นฉนวนถ้ามีค่ามากกว่า 1012 โอห์ม ยกตัวอย่างเช่น ทองแดง ฟิล์มที่เตรียมจากพอลิเอธิลีน (polyethylene) และ เทฟลอน (Teflon) จะมีค่าเท่าน้อยกว่า 1 เท่ากับ 1012 และมากกว่า 1016 โอห์ม ตามลำดับ[10] ในกรณีของฟิล์มที่เตรียมจากเชลแล็กมีค่าเท่ากับ 2.21014 โอห์ม ซึ่งจากคุณสมบัตินี้จึงทำให้เชลแล็กสามารถนำไปใช้ในแง่ของการเป็นฉนวนสำหรับทำสายไฟรวมทั้งการนำไปใช้สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการป้องกันการนำไฟฟ้าได้
(5) ความสามารถในการยึดเกาะผิวที่เคลือบและความทนทานต่อการถูกขีดข่วน เชลแล็กสามารถยึดติดกับผิวของวัสดุได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นพื้นผิวของสารบางชนิด เช่น เทฟลอนหรือวัสดุที่ถูกเคลือบด้วยซิลิโคน ทำให้สามารถนำไปเคลือบและทำให้มีการยึดติดกับชิ้นงานได้ดีและเป็นเวลานาน โดยอาจมีแรงยึดเกาะ ที่แตกต่างกันไปได้บ้างขึ้นกับวัสดุ ยกตัวอย่าง เช่น แรงยึดเกาะกับทองแดงประมาณ 3300 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว[8] นอกจากนี้แล้วยังค่อนข้างทนต่อการขีดข่วนซึ่งช่วยป้องกันผิวที่เคลือบได้
จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้เชลแล็กมีการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมยาและการแพทย์ เพื่อใช้ในการเคลือบยา ส่วนผสมของเครื่องสำอางและสารที่ใช้ทางทันตกรรม อุตสาหกรรมอาหาร สำหรับการเคลือบอาหารบางประเภท อุตสาหกรรมการเกษตรสำหรับการเคลือบผลไม้ รวมถึงงานเคลือบไม้เพื่อใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ในส่วนอุตสาหกรรมยานั้น ถูกนำมาใช้ในการเคลือบโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ คือการเคลือบเพื่อหวังผลในแง่การป้องกันการซึมผ่านของน้ำ เช่น ในกรณีของการเคลือบเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในเม็ดยา ในกระบวนการเคลือบน้ำตาล (sugar coating) และการเคลือบเอนเทอริกหรือการเคลือบเพื่อให้ยาแตกตัวในลำไส้ (enteric coating) แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเชลแล็กถูกนำมาใช้น้อยลงเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยถูกทดแทนโดยพอลิเมอร์สังเคราะห์และกึ่งสังเคราะห์ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการของเชลแล็กดังจะได้กล่าวต่อไป