ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bardesage (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Steam_Phase_eruption_of_Castle_geyser_with_double_rainbow.jpg|thumb|การปะทุของไกเซอร์ในรูปของไอน้ำ ทำให้สามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้ ที่ Castle Geyser in Yellowstone National Park]]
'''ไกเซอร์''' ({{lang-en|Geyser}}) คือลักษณะของ[[น้ำพุร้อน]]ปล่อยกระแสน้ำร่วมกับ[[ไอน้ำ]]ออกมาเป็นระยะๆ ไม่สม่ำเสมอ การเกิดของไกเซอร์ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะทาง[[อุธกธรณีวิทยา]] ซึ่งสามารถพบได้เพียงไม่กี่แห่งในโลก จีงจัดได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมมชาติที่หาดูได้ยากชนิดหนึ่ง ไกเซอร์มักจะตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณภูเขาไฟที่ยังสามารถระเบิดได้อยู่และได้รับผลจากแม็กมาในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วที่ความลึกประมาณ 2.2 กิโลเมตร (6,600 ฟุต) จะเป็นบริเวณที่ผิวน้ำพบกับหินร้อน และด้วยเหตุนี้เองทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภายใต้ความดันใต้พื้นผิวโลกจนทำให้เกิดปรากฏการณ์ไกเซอร์ที่ปลดปล่อยกระแสน้ำรุนแรง ร่วมกับไอน้ำออกมาได้
 
 
== '''ลักษณะและการทำงาน''' ==
เส้น 9 ⟶ 8:
ไกเซอร์เป็นลักษณะทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นชั่วคราว โดยอายุของไกเซอร์จะมีอายุเพียงไม่กี่พันปีเท่านั้น ไกเซอร์โดยปกติแล้วมักเกิดบริเวณร่วมกับภูเขาไฟ ในขณะที่น้ำเดือด ผลจากแรงดันทำให้ดันน้ำขึ้นมาตามท่อนำส่งน้ำพุร้อนขึ้นมาตามแนวดิ่งสู่ผิวโลก รูปแบบของไกเซอร์จะมีลักษณะ 3 ประการทางธรณีวิทยาที่มักพบภูมิประเทศที่มีภูเขาไฟร่วมด้วย ดังนี้
 
;'''ความร้อนสูง'''
 
ไกเซอร์จะได้รับความร้อนจากแมกม่าใต้ผิวโลก และในหลักตามความเป็นจริงแล้วไกเซอร์จะต้องการความร้อนสูงจากแมกม่าที่อยู่ติดกับแหล่งที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำก่อนที่จะปล่อยน้ำเดือดออกสู่ผิวโลก เพื่อให้น้ำเดือดและมีแรงดันน้ำสู่ผิวโลกได้
 
;'''น้ำ'''
 
น้ำที่ปล่อยมาจากไกเซอร์ต้องมาจากน้ำใต้ดินที่ผ่านความลึก และต้องผ่านการเพิ่มความดันภายใต้แผ่นเปลือกโลก
 
;'''ระบบการลำเลียงน้ำ'''
 
ระบบการลำเลียงน้ำร้อนจะรวมถึงแหล่งที่เก็บน้ำระหว่างที่เกิดการเดือดอีกด้วย ไกเซอร์มักจะวางตัวตามแนวเดียวกับแนวรอยเลื่อน ระบบการลำเลียงน้ำเกิดจากการเกิดรอยแตกและรูพรุน หรือช่องว่าง และการหดตัวของช่องว่าง หรือรูพรุนเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดแรงดันก่อนเกิดการปะทุออกของน้ำออกสู่ภายนอก
สุดท้ายแล้วอุณหภูมิที่ด้านล่างของไกเซอร์จะมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับจุดเดือด ไอน้ำและฟองที่เกิดจากการเดือดของน้ำ จะเดินทางขึ้นสู่ผิวน้ำตามท่อลำเลียงน้ำ ในขณะที่มีการระเบิดออกจากท่อลำเลียงน้ำ น้ำร้อนบางส่วนล้นออกมาและกระเด็นไปรอบๆ ทำให้มีการลดความดันของน้ำที่อยู่ด้านล่างลงได้ จากการปล่อยความดันออกในอุณหภูมิที่สูงมากทำให้บางส่วนออกมาในรูปของไอน้ำ
 
 
 
== การปะทุของไกเซอร์ ==
การปะทุของไกเซอร์มีลักษณะคล้ายคลึงกับการปะทุออกของน้ำพุร้อน ที่เกิดจากน้ำผิวดินซึมลงไปใต้ดินจนกระทั่งได้พบกับหินที่ถูกทำให้ร้อนโดยแมกม่า ความร้อนภายในโลกจึงทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น แล้วนำพากลับขึ้นไปสู่ผิวโลกผ่านรอยแตกของหิน และรูพรุนในหิน
 
 
อ้างอิงจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Geyser
 
[[หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานภูเขาไฟ]]