ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาพเหมือนผู้อุทิศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
||[[ไฟล์:Hans Memling 071.jpg|200px|thumb|]]
|}
จุดประสงค์ของภาพเหมือนผู้อุทิศก็เพื่อสร้างอนุสรณ์สำหรับผู้อุทิศและครอบครัว ที่เป็นการแสดงว่ายังคงสามารถแสดงความสักการะได้แม้ว่าหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว<ref>See particularly Roberts, 22-24 for a review of the historiography as to the motivations of donors</ref> สิ่งที่อุทิศเช่นตัว[[คริสต์ศาสนสถาน]], [[ฉากแท่นบูชา]] หรือ[[หน้าต่างประดับกระจกสี]] มักจะรวมทั้งเงินบริจาคจำนวนหนึ่งให้มีผู้สวดมนต์ให้ผู้อุทิศแม้ว่าหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว การมีภาพเหมือนของผู้อุทิศจึงเป็นการเพิ่มแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่จะมาสวดมนต์ให้ นอกจากนั้นการมีภาพเหมือนก็ยังเป็นการแสดงความมีหน้ามีตาในสังคมด้วย ภาพเหมือนผู้อุทิศคล้ายคลึงกับการมี[[ศิลปะสำหรับผู้เกี่ยวกับความตาย|อนุสรณ์ผู้ตาย]] (Funerary art) ในวัด แต่ที่ต่างกันตรงที่ผู้อุทิศของ “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” สามารถเห็นภาพเหมือนของตนเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ได้
 
ถ้าผู้บริจาคถวายเงินสร้างสำหรับสิ่งก่อสร้างทั้งหลังหรือมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างก็อาจจะมีประติมากรรมของผู้อุทิศอยู่หน้าวัดหรือที่ใดที่หนึ่งภาพในตัววัด และมักจะเป็นภาพอุ้มรูปจำลองของสิ่งก่อสร้าง[http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gloucester_cathedral_exterior_006.JPG] “[[พระแม่มารีโรแลง (ฟาน เอค)|พระแม่มารีโรแลง]]” โดย [[ยาน ฟาน เอค]]เป็นภาพเขียนขนาดเล็กที่ผู้อุทิศ [[นิโคลาส์ โรแลง]] (Nicolas Rolin) ร่วมอยู่ในภาพในบริเวณเดียวกับพระแม่มารี[http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Jan_van_Eyck_070.jpg] โรแลงบริจาคเงินจำนวนมากให้แก่วัดที่ภาพเขียนตั้ง ฟาน เอคแสดงให้เห็นจากภาพวัดในภูมิทัศนเมืองในฉากหลังไกลออกไปเหนือมือที่สวดมนต์ของโรแลง<ref>Harbison, Craig, ''Jan van Eyck, The Play of Realism'', pp.112, Reaktion Books, London, 1981, ISBN0948462183</ref>