ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหมืองแม่เมาะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2503 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง[[การลิกไนต์]]โดยโอนกิจการและทรัพย์สินขององค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์มาเป็นของการลิกไนต์ กำหนดให้มีหน้าที่ผลิตและจำหน่ายถ่านลิกไนต์ วัตถุเคมีจากลิกไนต์ และพลังงานไฟฟ้าจากลิกไนต์ มีอำนาจดำเนินการในเขตท้องที่จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และตาก จนกว่าการไฟฟ้ายันฮีจะขยายกิจการไปถึงจังหวัดนั้น ๆ และเขตท้องที่ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทั้งหมด
 
เมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง [[การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]] (กฟผ.) โดยรวมกิจการของ[[การลิกไนต์]] [[การไฟฟ้ายันฮี]] และ[[การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ]] เข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2512]] กฟผ. จึงได้รับโอนภาระหน้าที่ของทั้ง 3 องค์การมาดำเนินการทั้งหมด
 
ในปลายปี 2512 [[กฟผ.]] ได้วางแผนพัฒนาถ่านลิกไนต์ที่เหมืองแม่เมาะ เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าอย่างจริงจัง เมื่อคำนวณ[[ปริมาณสำรอง]]ถ่านลิกไนต์เพิ่มเป็น 55 ล้านตัน และคาดว่าจะมีอีกไม่ต่ำกว่า 70 ล้านตัน จึงได้วางโครงการขยายแหล่งผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงเมื่อรัฐบาลอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลิกไนต์แม่เมาะ จำนวน 2 เครื่อง ขนาดเครื่องละ 75,000 กิโลวัตต์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2515 กฟผ. จึงทำการขยายเหมืองแม่เมาะในปีต่อมาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตถ่านลิกไนต์จากปีละแสนกว่าตัน เป็นนับล้านตัน
 
จากนั้น เหมืองแม่เมาะได้ขยายพื้นที่กว้างขั้นเรื่อย ๆ เพื่อผลิตถ่านลิกไนต์รองรับโรงไฟฟ้าที่สร้างขึ้นใหม่ที่แม่เมาะ ในขณะเดียวกัน [[น้ำมัน]]ก็มีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ กฟผ. จึงได้เร่งสำรวจถ่านลิกไนต์ที่แอ่งแม่เมาะ เพื่อให้ทราบปริมาณถ่านลิกไนต์ทั้งหมด และปริมาณที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า ในที่สุดเมื่อสามารถสรุปปริมาณถ่านลิกไนต์ได้ทั้งหมดแล้ว กฟผ. จึงได้วางแผนพัฒนา เพื่อนำถ่านลิกไนต์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป
 
ปัจจุบันเหมืองแม่เมาะได้ทำการขุดขนถ่านจำนวนประมาณ 15-17 ล้านตัน ส่งให้[[โรงไฟฟ้าแม่เมาะ]] จำนวน 13 หน่วย กำลังผลิต 2,625,000 กิโลวัตต์ ซึ่งจ่าย[[กระแสไฟฟ้า]]ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั้งภาคเหนือตอนบนและล่าง เชื่อมต่อไปยังภาคกลาง จนถึงกรุงเทพมหานคร และเชื่อมโยงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย โดยกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 20 % ของกำลังผลิตของทั้งประเทศ
 
[[Category:เหมือง]]