ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขยะมูลฝอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 106:
--------------------------
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒
และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับ
ของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้</br>
ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา</br>
ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเป็นการทั่วไปทุกท้องถิ่น </br>
 
หมวด ๑
เส้น 119 ⟶ 118:
-------------------------
ข้อ ๓ ในกฎกระทรวงนี้
“มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์
หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาด จาก ถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตราย
จากชุมชน </br>
“มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการ
กำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545</br>
“มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ” หมายความว่า เศษสิ่งของ วัสดุ ที่ไม่ใช้แล้วหรือเสื่อมสภาพ รวมถึงภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
ซึ่งมี หรือปนเปื้อน หรือมีองค์ประกอบของ วัตถุอันตรายที่อาจก่ออันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม
ในขณะนั้นหรืออนาคต </br>
“วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุ สารหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติ เป็นวัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ
วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หรือวัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม</br>
(๑) “มูลฝอยทั่วไป” หมายความว่า มูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆในชุมชน เช่นบ้านพักอาศัย ธุรกิจการค้า สถานประกอบการ สถานบริการ
ตลาดสด สถาบันต่างๆ รวมทั้งเศษวัสดุก่อสร้าง ทั้งนี้ไม่รวมมูลฝอยติดเชื้อ และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน </br>
(๒) “มูลฝอยทั่วไป” หมายความว่า มูลฝอยที่ไม่ใช่ มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็น
พิษหรืออันตรายจากชุมชน </br>
“การแปรสภาพมูลฝอย” หมายความว่า การดำเนินการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือองค์ประกอบทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพของมูลฝอย
เพื่อให้มีความสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งการนำกลับไปใช้ประโยชน์ การเก็บรวบรวม หรือการกำจัด</br>
“สถานีขนถ่ายมูลฝอย” หมายความว่า สถานที่สำหรับถ่ายเทมูลฝอยจากรถเก็บขน มูลฝอยลงสู่ยานพาหนะขนาดใหญ่ เพื่อขนส่งไปยัง
สถานที่แปรสภาพหรือกำจัดมูลฝอย
“สถานที่คัดแยกมูลฝอย” หมายความว่า สถานที่จัดการมูลฝอยซึ่งจัดให้มีการแยกวัสดุที่นำกลับคืนออกจากมูลฝอยเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่</br>
“สถานที่กำจัดโดยเตาเผา” หมายความว่า สถานที่จัดการมูลฝอยที่ติดตั้งเตาเผาเพื่อใช้เผาทำลายของเสียที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซที่เผาไหม้ได้</br>
“สถานที่หมักทำปุ๋ย” หมายความว่า สถานที่จัดการมูลฝอยที่มีการนำมูลฝอย มาแปรสภาพโดยวิธีการหมักโดยอาศัยขบวนการทางชีววิทยาของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในมูลฝอย ผลผลิตที่ได้จะมีลักษณะเป็นผงหรือก้อนเล็กๆ สามารถนำไปใช้เป็นสารบำรุงดิน </br>
“สถานที่ฝังกลบมูลฝอย” หมายความว่า สถานที่จัดการมูลฝอยที่นำมูลฝอยมาเทกองในพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ ใช้เครื่องจักรกลบอัดให้แน่น ใช้ดินกลบทับเป็นชั้น ๆ และได้จัดเตรียมมาตรการป้องกันน้ำชะมูลฝอยไหลซึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน การป้องกันกลิ่นและแมลงรบกวน และการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่สภาพแวดล้อมโดยรอบ </br>
“น้ำชะมูลฝอย” หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะล้างผ่านหรือออกมาจากมูลฝอย ซึ่งอาจประกอบด้วย สารละลาย สารแขวนลอยผสมอยู่ </br>
“ภาชนะรองรับมูลฝอย” หมายความว่า ภาชนะที่ใช้ในการเก็บ ขน หรือรวบรวมมูลฝอยประเภทต่างๆ</br>
 
ข้อ ๔. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ต้องดำเนินการตามกฏกระทรวงว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๕. การจัดการมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการตาม บทบัญญัติในกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอย
 
 
หมวด ๒
การเก็บมูลฝอยทั่วไป
--------------------------
ข้อ ๖. ในการเก็บมูลฝอยทั่วไป ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอยทั่วไปต้องเก็บมูลฝอยทั่วไป ในภาชนะบรรจุที่ต้องด้วยสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของท้องถิ่น</br>
ข้อ ๗. ในการใช้ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไป ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอยทั่วไปต้องจัดให้มีภาชนะรองรับที่มีลักษณะดังนี้</br>
(๑) ทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด ป้องกันการหกหล่นของมูลฝอย และสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้
(๒) มีน้ำหนักเบา ขนาดพอเหมาะสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก ง่ายต่อการ
ถ่าย เท มูลฝอย
ข้อ ๘. ราชการส่วนท้องถิ่นอาจกำหนดให้อาคาร สถานที่ของรัฐและเอกชน ที่ก่อให้เกิดมูลฝอยทั่วไปในปริมาณมาก ต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอย
ทั่วไปสำหรับอาคาร สถานที่นั้น และปฏิบัติให้ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ </br>
(๑) เป็นอาคารแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ ตั้งอยู่ในสถานที่ที่สะดวกต่อการขนถ่ายมูลฝอยห่างจากแหล่งน้ำเพื่อ
การอุปโภค บริโภคและสถานที่ประกอบอาหาร
(๒) พื้น ผนัง เรียบ ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีลักษณะโปร่ง มีระบบระบายอากาศที่ดี มีขนาดกว้างเพียงพอสำหรับเก็บกักภาชนะบรรจุ
มูลฝอย และมีการป้องกันสัตว์ แมลงพาหะนำโรค
(๓) มีการดูแลไม่ให้มีกลิ่นเหม็นและรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
เส้น 169 ⟶ 168:
ต่อการเก็บรวบรวม และขนไปกำจัด มีเครื่องหมายหรือป้ายแสดงว่าเป็น “จุดพักรวมมูลฝอยทั่วไป” และมีการดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
 
ข้อ ๑o. ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับมอบหรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เป็นผู้เก็บรวบรวม ขน หรือกำจัด
มูลฝอยทั่วไป มีการดำเนินการคัดแยกมูลฝอยทั่วไปด้วย จะต้องจัดให้มีสถานที่ตามข้อ ๑๑ และปฏิบัติให้ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ </br>
(๑) สวมชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในขณะดำเนินการคัดแยกมูลฝอยทั่วไป เช่น ถุงมือ ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปาก-จมูก และ รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง เป็นต้น
(๒) ไม่เผา หลอม สกัดหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อการคัดแยกมูลฝอยทั่วไป ประเภทโลหะมีค่าหรือทำลายมูลฝอย
(๓) ควบคุมมิให้มีการปลิวฟุ้ง การหก หล่น ของมูลฝอยทั่วไปและการรั่วไหล
ของน้ำชะมูลฝอยทั่วไปในขณะดำเนินการคัดแยก
ข้อ ๑๑. สถานที่คัดแยกและเก็บรวบรวมมูลฝอยทั่วไป ต้องมีลักษณะ ดังนี้ </br>
(๑) เป็นพื้นที่เฉพาะ มีขนาดเพียงพอ เหมาะสม สามารถรองรับมูลฝอยทั่วไปที่จะนำเข้ามาคัดแยกได้ มีการรักษาบริเวณโดยรอบให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ
(๒) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค และการดำเนินการดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
(๓) มีแสงสว่างเพียงพอและมีการระบายอากาศดี
(๔) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วมที่สะอาด เพียงพอ สำหรับใช้งานและชำระล้างร่างกาย
 
 
เส้น 185 ⟶ 184:
การขนมูลฝอยทั่วไป
-----------------------
ข้อ ๑๒. ในการขนมูลฝอยทั่วไป ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอยทั่วไปต้องนำภาชนะบรรจุหรือภาชนะ
รองรับมูลฝอยทั่วไป ไปไว้ ณ จุดรอการเก็บขน และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อกำหนดของท้องถิ่น</br>
ข้อ ๑๓.ในการเก็บรวบรวม และขนมูลฝอยทั่วไป ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับมอบหรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินการ เก็บรวบรวม และขน มูลฝอยทั่วไป ต้องจัดให้มียานพาหนะไม่ว่าเป็นรถ หรือเรือ หรือพาหนะอื่นใดสำหรับเก็บ ขนมูลฝอยทั่วไป ให้เพียงพอกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่เกิดขึ้น และต้องมีลักษณะดังนี้ </br>
(๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอย มีความแข็งแรง ทนทาน มีลักษณะปกปิด และสะดวกต่อการ ขนถ่ายมูลฝอย ทำความสะอาดได้ง่าย และไม่เกิดสนิม
(๒) มีระบบป้องกันน้ำซะมูลฝอยรั่วไหล และมูลฝอย ปลิว ตก หก หล่น ในขณะเก็บรวบรวมหรือขนส่งมูลฝอย โดยต้องจัดให้มีถังรองรับน้ำซะมูลฝอย ผ้าใบหรือตาข่ายปกคลุมมูลฝอยในระหว่างการขนส่ง
(๓) ระดับที่ยกเทมูลฝอยทั่วไป ใส่ในตัวถังยานพาหนะต้องไม่สูงเกินไป หรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน
(๔) กรณีใช้ยานพาหนะอื่นในการเก็บ ขนมูลฝอย ยานพาหนะที่ใช้ต้องมีลักษณะที่สามารถป้องกันการปลิว ตก หก หล่นของมูลฝอยและป้องกันน้ำชะมูลฝอยรั่วไหลลงสู่ ดินและแหล่งน้ำได้
(๕) ต้องบำบัดน้ำเสีย น้ำซะมูลฝอย ให้ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ก่อนระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ
ข้อ ๑๔. ผู้ขับขี่ยานพาหนะ ผู้เก็บรวบรวมมูลฝอยต้องได้รับการฝึกอบรม ในเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการเก็บ ขน มูลฝอย</br>
ข้อ ๑๕. สถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป ต้องมีลักษณะและการดำเนินการขนถ่ายที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังต่อไปนี้</br>
(๑) มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่ทำการขนถ่าย มีการระบายอากาศ และแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอยทั่วไป การปลิวของมูลฝอยทั่วไป ฝุ่นละออง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๓) มีระบบระบายน้ำเสียและบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ โดยน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๔) มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุและอัคคีภัยไว้ประจำสถานีขนถ่าย
 
 
เส้น 205 ⟶ 204:
-----------------------
 
ข้อ ๑๖. ในการกำจัดมูลฝอยทั่วไป ราชการท้องถิ่น ผู้ได้รับมอบหรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยทั่วไป ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ <br/>
(๑) ต้องกำจัดมูลฝอย โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธี ตามที่กำหนดในข้อ ๑๗
(๒) จัดให้มีผู้ควบคุมและผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบกำจัดมูลฝอย โดยผ่านการอบรมตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) จัดให้มีชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัด มูลฝอย ได้แก่ ถุงมือ ผ้าปิดปาก-จมูก รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุและอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่กำจัดมูลฝอย
ข้อ ๑๗. การกำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีดำเนินการ ดังนี้</br>
(๑) การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ตามข้อ ๑๘
(๒) การเผาในเตาเผา ตามข้อ ๑๙
(๓) การหมักทำปุ๋ย ตามข้อ ๒o
(๔) การแปรสภาพมูลฝอยเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิงทดแทน ตามข้อ ๒๑
(๕) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๑๘. การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและเกณฑ์มาตรฐานดังนี้ </br>
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม เป็นพื้นที่ดอนระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึก ในกรณีเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่าไหลหลากจะต้องมีมาตรการป้องกันแก้ไข มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอยและมีการรวบรวมและบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการขนส่ง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ตลอดจนผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน
(๓) ต้องสุ่มตัวอย่างน้ำจากบ่อติดตามตรวจสอบ น้ำชะมูลฝอย และน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง
(๔) ต้องตรวจสอบอากาศพิษจากหลุมฝังกลบ อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง
ข้อ ๑๙. การกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยการเผาในเตาเผา ต้องเผามูลฝอยทั่วไปที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 1,000 C0 โดยมีการดำเนินการเผาให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ ดังนี้</br>
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอย มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๓) มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องเตาเผา โดยจะต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐาน ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๔) ต้องบำบัดน้ำเสียจากมูลฝอย และน้ำเสียใด ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัด โดยเตาเผา ให้มีคุณภาพน้ำทิ้งไม่เกินมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๕) มีการกำจัดเถ้า โดยใช้วิธีการฝังกลบที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้า ปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน
ข้อ ๒๐. การกำจัดมูลฝอยโดยการหมักทำปุ๋ยจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้</br>
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่นำมาหมักทำปุ๋ย มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๓) ต้องบำบัดน้ำเสีย น้ำซะมูลฝอย จากสถานที่หมักมูลฝอยทำปุ๋ยให้ได้คุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๔) มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินภายนอกสถานที่หมักทำปุ๋ย อย่าง
น้อยปีละ ๒ ครั้ง
(๕) มีการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการหมักทำปุ๋ยและปุ๋ยต้องได้มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒๑. การแปรสภาพมูลฝอยเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิงทดแทน ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้</br>
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับกระบวนการแปรรูปมูลฝอยเป็นสภาพทดแทน มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง เสียงดัง
รบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๓) มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องเตาเผาหรือเครื่องยนต์กำเนิดพลังงาน โดยมีค่าไม่เกินมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๔) ต้องบำบัดน้ำเสีย น้ำชะมูลฝอย ภายในสถานที่แปรรูปมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงทดแทน ให้มีคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายเกี่ยวข้องกำหนด
(๕) ต้องกำจัดกากขี้เถ้า โดยวิธีการฝังกลบที่มีระบบการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน
 
 
เส้น 245 ⟶ 244:
การบริหารจัดการของท้องถิ่น
----------------------
ข้อ ๒๓. การบริหารจัดการมูลฝอยของราชการส่วนท้องถิ่น มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความพร้อม
 
ข้อ ๒๓. การบริหารจัดการมูลฝอยของราชการส่วนท้องถิ่น มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นนั้น โดยอาจมีรูปแบบการดำเนินการ ได้ดังนี้คือ</br>
(๑) ราชการส่วนท้องถิ่นลงทุนเอง และ ดำเนินการเองทั้งระบบ ตั้งแต่การเก็บรวบรวม
การขน และการกำจัด </br>
(๒) ราชการส่วนท้องถิ่นลงทุนเองทั้งระบบ บริหารจัดการมูลฝอยโดยการจัดตั้งวิสาหกิจ
หรือจ้างจ้างเอกชนดำเนินการ หรือการให้สัมปทาน ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขน และการกำจัด </br>
(๓) ราชการส่วนท้องถิ่นมีการลงทุนร่วมกับภาคเอกชน ดำเนินการเองทั้งระบบแบบ
บริษัทเอกชน ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขน และการกำจัด </br>
(๔) ราชการส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาล ดำเนินการร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการ
จัดทำระบบจัดการมูลฝอยทั่วไป โดยตั้งเป็นสหการ</br>
(๕) การดำเนินการร่วมกันระหว่างท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น โดยมีข้อตกลงในการดำเนินการร่วมกัน</br>
(๖) ราชการท้องถิ่น อนุญาต ให้เอกชนดำเนินการจัดการมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจใน
เขตพื้นที่ของราชการส่วนท้องถิ่น</br>
(๗) รูปแบบอื่นๆ</br>
 
 
เส้น 265 ⟶ 264:
--------------------
 
ข้อ ๒๔. ให้ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอย รวมทั้งบุคคลที่ได้รับมอบให้ดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยแทน
ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
และผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย มาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ดำเนินการอยู่ก่อน
วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ ต้องดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการตามที่กำหนด
ไว้ในกฎกระทรวงนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ </br>
 
 
ให้ไว้ ณ วันที่ .. เดือน ...............พ.ศ. ....