เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{บทความคัดสรร}} == ไดอะตอมไมต์ == '''ไดอะตอมไมต์ ''' หรือดินเบา เกิดขึ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:40, 1 กุมภาพันธ์ 2553

ไดอะตอมไมต์

ไดอะตอมไมต์ หรือดินเบา เกิดขึ้นในธรรมชาติในลักษณะอ่อน ซึ่งเกิดในหินตะกอนที่มีสารจำพวกซิลิกา เป็นผงขนาดเล็กสีขาว มีขนาดตั้งแต่ 1 ไมครอนหรือมากกว่า 1 ไมครอน แต่โดยส่วนใหญ่ มีขนาด 10 -200 ไมครอน ผงมีลักษณะสากๆ เหมือนกับผงจากหินพัมมิส และใสมาก เพราะมีรูจำนวนมาก มีองค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่ เป็นไดอะตอมที่ตายแล้ว เป็นสารจำพวกซิลิกา 80-90% สารจำพวกอะลูมินา พบในแร่ดิน(clay mineral)เป็นส่วนใหญ่ 2-4% และแร่เหล็กออกไซด์ 0.5-2 %

 
ฉนวนความร้อนและทำดิน ระเบิดได้ ในบริเวณที่มี diatomaceous earth


ไดอะตอมไมต์ประกอบด้วยซากดึกดำบรรพ์ของไดอะตอม ซึ่งเป็นจำพวกหนึ่งของสาหร่ายเปลือกแข็ง สามารถใช้เป็นเครื่องกรอง สารขัดถู ยาฆ่าแมลง ใช้ประโยชน์ในการแพทย์โดยเป็นตัวกระตุ้นให้เลือดแข็งตัวเร็ว เป็นส่วนปะกอบของระเบิดไดนาไมต์ นอกจากนี้ใช้เป็นฉนวนความร้อน

ไฟล์:Slab13.jpg
รูปแบบการสะสมตัวของไดอะตอมไมต์บนหินกรวดธารน้ำแข็ง


การสะสมตัวของไดอะตอมอยู่ในช่วง ยุคเทอร์เชียร์รีหรือควอเทอร์นารีสามรถในมาใช้ปะโยช์ได้ดีกว่า การสะสมตัวที่อายุแก่กว่าในยุคต้นครีเทเซียส ได้คุณภาพต่ำ

ไฟล์:Diatome33.jpg
ลักษณะของไดอะตอมเมื่อมองใต้กล้องจุลทรรศน์
ไฟล์:Diatomsea.jpg
ลักษณะของไดอะตอมน้ำเค็ม
ไฟล์:Diatom-1sss.jpg
Actinoptychus senarius Ehrenberg.
ไฟล์:Diatom-2sss.jpg
Surirella fastuosa (Ehrenberg) Kutzing.
ไฟล์:Diatom-3sss.jpg
Triceratium favum Ehrenberg. This species is abundant in samples taken from the Westerschelde.
ไฟล์:Diatom-4sss.jpg
Biddulphia antediluviana (Ehrenberg) van Heurk forma antediluviana.
ไฟล์:Diatom-5sss.jpg
Pleurosigma angulatum (Quekett) Wm. Smith. N.B.
ไฟล์:Diatom-6sss.jpg
Biddulphia aurita (Lyngbye) de Brebisson.

ไดอะตอมลักษณะต่างๆเมื่อมองใต้กล้องจุลทรรศน์

ไดอะตอม (diatoms)เป็นสาหร่ายในระดับไคร (microscopic algae) อยู่ในไฟลัม bacillarrophyte ในอาณาจักร protista มีสีเหลืองหรือน้ำตาล พวกไดอะตอมแทบทั้งหมดเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว อาศัยอยู่ในน้ำเค็มที่สดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นที่น้ำหนาวเย็นทางเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และในแอนตาร์คติก (Antarctic) ไดอะตอมเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของพวกแพงค์ตอนในทะเล (marine plankton) (เป็นสัตว์น้ำที่ล่องลอยอยู่หรือพืชมีชีวิต) และสัตว์เล็กๆ อีกจำนวนมาก

ไดอะตอมมีผนังเซลล์ที่แข็ง เป็นเปลือก (shells) ที่มาจากซิลิกา (silica) ที่สะกัดออกมาจากน้ำ ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าก่อตัวขึ้นได้อย่างไร เมื่อไดอะตอมตายไปก็จมตัวลงสู่ก้นทะเลมหาสมุทร แล้วจับตัวกันแข็งกลายเป็นหินที่เรียกว่า ไดอะตอมไมท์ (diatomite) อย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่มีการใช้หินไออะตอมไมท์คือการก่อตัวแบบ Monterrey ตามแนวชายฝั่งตอนกลางและทางใต้ของแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา