ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลนราธิวาส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kanzaki Jiro (คุย | ส่วนร่วม)
Kanzaki Jiro (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20:
 
== ประวัติสโมสร ==
=== ฟุตบอลนราธิวาสในช่วงแรก (1960-1980)อดีต ===
หากพูดถึงทีมฟุตบอล นราธิวาส แฟนบอลอาวุโสหลายคนในยุคนั้น อาจจะเฉยๆ น้อยคนนักที่จะประหวั่นพรั่นพรึงถึงพิษสงและความน่ากลัวของทีมชายแดนใต้ทีมนี้ แม้กระทั่งในภาคใต้เอง ทีมนี้...ก็อยู่ภายใต้ร่มของยักษ์ใหญ่ในอดีต อย่าง นครศรี, ตรัง, กระบี่, สตูล,สุราษฏร์ธานี, พังงา และสงขลา แม้กระทั่งปัตตานี ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียน ขึ้นมาครองความยิ่งใหญ่ โดยตลอดในยุคที่กีฬาแห่งชาติ ได้ชื่อว่าเป็นกีฬาเขต จะเห็นได้ว่าในยุค 60-70 นราธิวาส ไม่เคยเฉียดสัมผัสตำแหน่งแชมป์บอลโล่พระราชทานฯ เลยแม้แต่ครั้งเดียว เป็นเครื่องตอกย้ำความจริงข้อนี้ได้เป็นอย่างดี
มีบ้างที่หักปากกาเซียน ในยุคของผู้บริหารทีมจากยี่งอ เป๊าะนิอาแซ ที่นำนรา ไปแข่งกีฬาเขต และยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ รอบสุดท้ายที่กทม.ในยุค 80 โดยได้โค้ชอดีตทีมชาติ คุณ แก้ว โตอติเทพ จากสโมสรราชวิถี เข้ามาช่วยให้นักเตะนรามีพัฒนาการที่ดีขึ้น
 
ต่อมาในยุค 90 เมื่อขั้วอำนาจถูกย้ายฝั่งไปที่ อ.สุไหงโก-ลก ฟุตบอลนราก็วงเวียนอยู่แค่ระดับภาคใต้ตอนล่างและรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียเท่านั้น กระทั่งจุดเปลี่ยน ทำให้นราธิวาส เริ่มเห็นแสงสว่างรำไรที่ปลายอุโมงค์แห่งความฝัน นั่นก็คือ ในระหว่างปี 97-99 ทีมฟุตบอลของโรงเรียนนราสิกขาลัย ในนามทีม มาโซบาติก โดยการนำของ อ.นิมิตร ลิ่วตระกูล ประกาศศักดาความยิ่งใหญ่คับจังหวัด ด้วยการคว้าถ้วยรางวัลมาทั่วหล้า และนักเตะยุคนั้น ได้กระจายไปเล่นในสโมสรต่างๆทั่วภาคใต้ อีกทั้งยังมีโอกาสเป็นตัวแทนเขต เข้าร่วมแข่งกีฬาเยาวชนแห่งชาติรอบสุดท้าย ก่อนสร้างผลงานได้อย่างน่าพอใจ
 
=== โปรลีก ===
 
จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ 2 สหายจากมะนังตายอ สส.วัชระ ยาวอฮะซัน และ โค้ชอ๊อด พิทยา พิมานแมน เข้ามาทำทีมฟุตบอลอย่างจริงจังในเวลาต่อมา ในช่วงปี 2000 โดยมีนักเตะเยาวชนจาก ร.ร.นราสิกขาลัย เป็นฟันเฟืองหลักในความสำเร็จ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ยังเวทีน้อยใหญ่มากมายทั่วภาคใต้ ก่อนจะประสบความสำเร็จระดับภาคเป็นครั้งแรกในศึก ไทคัพ และไพรม์มินิสเตอร์ คัพ ปี 2002 ช่วงที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพบอลโลก ร่วมกัน จากนั้น 2 ปีต่อมา ได้ประสบความสำเร็จต่อเนื่องด้วยการผ่านเข้ารอบสุดท้าย กีฬาแห่งชาติที่ ราชบุรี ในปี 2004 และสามารถฝ่าด่านมหากาฬของรอบแรก สำเร็จในประวัติศาสตร์จังหวัด แม้ว่าปีนั้นจะเป็นฝ่ายปราชัยให้กับทีมสุพรรณบุรี ระดับโปรลีก ในรอบแปดทีมสุดท้ายก็ตาม แต่นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นแรงโหมสำคัญทำให้เรือกอและแห่งบางนรา ทะยานไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยการได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโปรวินเชียลลีก ดิวิชั่น 2 ในปี 2005 ก่อนจะได้สิทธ์ขึ้นชั้นสำเร็จในปีต่อมา ทันที่ได้ขึ้นไปเล่น โปรเฟสชั่นแนลลีก เป็นครั้งแรกในระบบลีกอาชีพ ปี 2006 ทีมนราก็ได้สร้างปรากฏการสำคัญให้กับวงการฟุตบอลไทย ซึ่งถือว่าเป็นคุนูปการให้กับสมาคมฟุตบอลไทยและแฟนบอลท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเป็นทีมแรกที่มีการกล่าวขวัญถึงจำนวนแฟนบอลที่ล้นสนาม จนเกิดเป็นอาฟเตอร์ช๊อกให้ทีมต่างๆ โดยเฉพาะชลบุรี เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ จนเป็นเรื่องปกติธรรมดาในปัจจุบัน ที่แฟนบอลเข้ามาชมเกมทะลักความจุของสนาม
 
เพียงแค่ฤดูกาลแรกที่เล่นระบบลีก พวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทีมในระดับนี้ ด้วยการคว้าอันดับ 5 ไปครองอย่างน่าประหลาดใจ รวมทั้งในรายการกีฬาแห่งชาติ ที่จ.สุพรรณบุรี พวกเขาก็ได้สร้างชื่อให้กับจังหวัดเล็กๆอีกครั้ง เมื่อเป็นฝ่ายหักปากกาเซียน เข้าชิงเป็นครั้งแรกกับทีมกาญจนบุรี ก่อนจะคว้าเหรียญเงินประวัติศาสตร์มาครองได้ แบบพลิกความคาดหมาย โดยโค้ชคู่บารมี อ.นริศ สุทธิกลัด และ อ.วิเชียร ภู่พงไพบูลย์ จาก รร.นราธิวาส และ อ.นิมิตร จากนราสิกขาลัย ต่อมาในปี 2007 เมื่อลีกอาชีพถูกรวมเข้าด้วยกันระหว่าง ลีกภูธรของ กกท.และกทม.ลีกของสมาคมฯ นราธิวาส เอฟซี ด้วยความที่ยังใหม่ในระบบลีกอาชีพ และพรรษาน้อย จึงส่งผลทำให้ต้องร่วงตกชั้น จากดิวิชั่น 1 ไปสู่ ลีกรองลงมา อย่างน่าเจ็บใจ ทั้งๆที่มีโอกาสจะอยู่รอดแบบเฉียดฉิว
 
=== ลีกดิวิชั่น 2 ===
 
ปีต่อมา 2008 ในระดับดิวิชั่น 2 พวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่อยากจะขึ้นไปเล่นในลีกที่สูงกว่า เพียงแต่โชคไม่เป็นใจ ทำให้พลาดไปในนัดสุดท้าย แต่ก็ได้รับรางวัลทีมที่พัฒนายอดเยี่ยมประจำปีนั้นไปครองแบบไร้คู่แข่ง ก่อนที่ฤดูกาลต่อมา 2009 เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อลีกดิวิชั่น 2 ได้เปลี่ยนสถานะเป็น ลีกภูมิภาค ทำให้ นราธิวาส มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อผู้บริหารชุดเก่า สส.วัชระ ยาวอฮะซัน และอ.นิมิตร ลิ่วตระกูล วางมือจากการทำชุดใหญ่ หันไปสร้างทีมชุดเยาวชนสู่กีฬาแห่งชาติที่ตรังเกมส์ จนนำไปสู่การคว้าเหรียญทองประติศาสตร์เป็นครั้งแรกของจังหวัด ด้วยการปราบทีมราชบุรี ในปีนี้เอง