ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอปอล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Opalo (คุย | ส่วนร่วม)
Opalo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56:
 
ในทางวิทยาศาสตร์ การที่โอปอลมีสันหลากหลายนั้นเกิดจากอนุภาคของทรายซึ่งเป็นส่วนประกอบของโอปอลเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดช่องว่างภายในเป็นโพรงเล็ก ๆ และมีน้ำแทรกอยู่ในช่องว่าง จึงเกิดแสงสะท้อนให้เห็นเป็นสีสันต่าง ๆ มากมาย
 
 
== ปัจจุบัน ==
เส้น 83 ⟶ 84:
โอปอลมีหลายสี แต่ที่พบมาก คือสีขาว สีดำถือว่าราคาแพงที่สุดเพราะจะทำให้การเล่นสีเด่นชัดขึ้น โอปอลไฟ (เหลือง ส้ม แดง) มักจะนำมาเจียระไน และใช้แทนทับทิม โอปอลที่หายาก คือ สีเขียว น้ำเงิน
โอปอลจะบอบบาง จึงมักจะถูกประกบด้านล่าง 2-3 ชั้น ด้วยโอปอลสีดำ และด้านบนปะด้วยควอทซ์ใส ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากในการนำโอปอลมาทำแหวน หรือเครื่องประดับอื่นๆที่ต้องการการปรับปรุงคุณภาพอย่างหยาบ
 
 
== ชนิดของโอปอล ==
เส้น 88 ⟶ 90:
'''1.โอปอลมีค่า''' ''(Precious Opal)'' โอปอลชนิดนี้จะมีสีขาว สีน้ำนม สีน้ำเงิน และสีเหลือง บางแหล่งก็มีสีเข้มกว่านี้ เช่น ที่เรียกว่าโอปอลดำ (black opal) เนื้อมีลักษณะโปร่งแสงเล่นสีได้เมื่อขยับไปมา โอปอลมีสีส้มสด และสีแดงอย่างเปลวไฟ เรียกว่า fire opal
 
'''2.โอปอลธรรมดา''' ''(Common Opal)'' โอปอลชนิดนี้จะมีสีขาวน้ำนม เหลือง เขียว แดง น้ำตาล และสีอื่นๆ ไม่มีการสะท้อนแสงภายในเหมือน precious opal
 
'''3.ไฮยาไลท์''' ''(Hyalite)'' โอปอลชนิดนี้เป็นโอปอลที่ใสสะอาด ไม่มีสี ผิวหน้าจะกลมคล้ายพวงองุ่น
 
'''4.เกย์เซอไรท์''' ''(Geyserite)'' หรือ Siliceous Sinter โอปอลชนิดนี้เป็นโอปอลที่เกิดจากพุน้ำร้อน (hot spring) โอปอลที่เยลโลว์สโตน เนื้อดูผุร่วนกว่าธรรมดา
 
'''5.ไม้เนื้อโอปอล''' ''(Wood Opal)'' โอปอลชนิดนี้เป็นซากดึกดำบรรพ์ของไม้ที่มีสารพวกซิลิกาเข้าไปแทนที่ในส่วนต่างๆ ของลำต้น ซึ่งมักสลับกับเนื้อคาลซีโดนี
 
'''6.ดินเบา''' ''(ไดอะตอมไมท์ Diatomite)'' โอปอลชนิดนี้มีเนื้อละเอียดคล้ายชอล์ก เกิดจากการสะสมตัวของซากชีวินพวกไดอะตอม ซึ่งเนื้อจริงๆ ของไดอะตอมไมท์ก็คือ โอปอล
 
'''6.ดินเบา''' ''(ไดอะตอมไมท์ Diatomite)'' มีเนื้อละเอียดคล้ายชอล์ก เกิดจากการสะสมตัวของซากชีวินพวกไดอะตอม ซึ่งเนื้อจริงๆ ของไดอะตอมไมท์ก็คือ โอปอล
 
== ประเภทของโอปอล ==
 
[[Bauer]] (1969) ได้แบ่งโอปอลออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ''1.พรีเชียสโอปอล'' ''(Precious Opal),'' ''2.โอปอลไฟ'' ''( Fire Opal ),'' และ ''3.โอปอลธรรมดา'' ''(Common Opal)'' รวมทั้งพวกที่มีลักษณะกึ่งโอปอล ''(Semi Opal)'' และอื่นๆ
 
'''1.พรีเชียสโอปอล''' ''(Precious Opal)'' หรือโอปอลที่มีค่าทางรัตนชาตินี้ โดยหลักการณ์ทั่วไป เป็นโอปอลที่มีการเล่นสี (Play of colour) เป็นประกาย ได้สวยงามมาก และมีค่าสูง หาได้ยาก [[Bauer]] (1969) อธิบายลักษณะไว้ว่า พรีเชียลโอปอลเป็นโอปอลที่มีค่ามากที่สุด มีการเล่นสี เกิดเป็นประกายสวยงาม ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นจากภายในเนื้อของตัวมันเอง ไม่ใช่เป็นสีซึ่งเกิดจากมีมลทินอื่นแปลกปลอมเข้าไป ในบางครั้งการเล่นสีอาจปรากฏให้เห็นทั่วทั้งผิวหน้า ซึ่งเจียระไนขัดมันของโอปอลหรืออาจมีการเล่นสีเพียงบางจุด หากพลิกดูจุดนั้นจะค่อยๆ หายไปบนพื้นหน้าพลอยนั้น พรีเชียสโอปอล จะมีความวาว (Luster)ซึ่งจัดว่าไม่สูงนักและมีความแข็งค่อนข้างต่ำ การเล่นสี อยู่ในช่วงที่ไม่ลึกลงไปนัก จึงเป็นเหตุอันหนึ่งซึ่งทำให้ไม่มีการเจียระไนโอปอลชนิดนี้เป็นเหลี่ยมตัด (Facet) นอกจากนี้แล้ว พรีเชียสโอปอลยังมีความโปร่งแสง (Translucent) และบางครั้ง อาจมีความโปร่งใส (Transparent)ได้
เส้น 121 ⟶ 124:
 
6.'''แคทโชลอง''' ''(Cacholong)'' เป็นโอปอลที่มีความพรุนตัวสูง หากทำให้น้ำออกหมดจะมีลักษณะทึบแสงหรือถ้าหากดูดน้ำเข้าเต็มที่จะโปร่งแสง
 
 
== แหล่งที่พบโอปอล ==
เส้น 129 ⟶ 133:
=== ในประเทศไทย ===
*ไดอะตอมไมท์ พบหลายแห่งใน จ.[[ลำปาง]] โอปอลธรรมดาพบที่ ลำนารายณ์ จ.[[ลพบุรี]] ไม้เนื้อโอปอลพบที่ จ.[[นครราชสีมา]] เกิดในแหล่งแร่ฟลูออไรท์ ที่บ้านปาง จ.[[ลำพูน]]
 
 
== ประโยชน์ของโอปอล ==
 
ประโยชน์ของโอปอล คือ ใช้ในลักษณะที่เป็นรัตนชาติ โดยนำมาเจียระไนเป็นพลอยรูปหลังเต่า โอปอลขนาดใหญ่ๆ จะมีราคาสูง สำหรับดินเบา (ไดอะตอมไมท์) ใช้ทำเป็นผงขัด ''(abrasive)'' ผงกรอง ''(filtration powder)'' ใช้ทำฉนวนไฟฟ้า ''(insulation product)'' และใช้เติมลงไปในสารใดๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนัก ''(filter)''
 
 
== ข้อมูลที่น่าสนใจ ==
เส้น 138 ⟶ 144:
โอปอลมีประกายสีแดงของ[[ทับทิม]] มีประกายสีม่วงของอแมทิสต์ และสีเขียวของมรกต รวมอยู่ภายในตัวเองอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งเป็นที่ประทับใจต่อ Pliny the Elder (ค.ศ. 23-79) นักประวัติศาสตร์โรมัน และนักเขียนเอนไซโคปิเดียร์ เล่มแรกของโลกเป็นอย่างมาก ชาวโรมันถือว่า โอปอลเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง ความบริสุทธิ์ ในขณะที่ชาวกรีซเชื่อว่า ช่วยในการทำนาย ล่วงรู้อนาคต ในขณะที่ชาวอาหรับเชื่อว่า โอปอลตกจากสวรรค์ ในขณะฟ้าผ่าจึงทำให้มีสีหลากหลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ไม่น่าเชื่อเลยว่า สีของโอปอลที่เห็นเกิดจากน้ำ 5-10% ที่ถูกขังในตัวโอปอล ในขณะที่แสงสีต่างๆ เกิดจากการเรียงตัวกันของซิลิกอนไดอ๊อกไซด์ รูปทรงกลม
 
 
 
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โอปอล"