ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขยะมูลฝอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 55:
== ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อ[[สุขภาพและสิ่งแวดล้อม]] ==
ขยะมูลฝอยนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอน การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การขนส่งและการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะส่งผลกระทบต่อ[[สุขภาพและสิ่งแวดล้อม]]ของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนทั่วไปทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก
**** ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและ[[แหล่งเพาะพันธุ์]]ของ[[แมลงนำโรค]]
**** ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
**** ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก
**** [[น้ำเสีย]]ที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้ง[[สารอินทรีย์]] [[สารอนินทรีย์]] [[เชื้อโรค]] และ[[สารพิษ]]ต่าง ๆ เจือปนอยู่ ปนเปื้อนแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคทั้ง แหล่งผิวดินและใต้ดิน
**** ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่[[อากาศ]] ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ใน[[เขตชุมชน]] หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มี[[การฝังกลบ]]
 
 
วรรณกรรมและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย
**[[มหาวิทยาลัยมหิดล]] (2532) การศึกษาผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อคนงานในโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช โดย พบว่า จากจำนวนคนงานทั้งหมด 136 คน มีการติดเชื้อเอดส์ 6 คน และเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ 26 คน แม้ในการศึกษาไม่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการติดเชื้อดังกล่าวมีสาเหตุมาจากขยะมูลฝอย แต่จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพนี้ได้
เส้น 73 ⟶ 75:
**[[สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร]] (2544) การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของควันและกลิ่นที่ปล่อยจากปล่องควันโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อ ที่ผ่านมายังไม่มีการรายงาน มีเพียงการศึกษาตรวจวัดระดับเสียงและความร้อนว่าจะเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ โดยผลการศึกษาระบุว่าไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด กล่าวคือ จากผลการตรวจวัดระดับความดังของเสียง และความร้อนของโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 พบว่า หัวเผา(Burner) ของเตาเผามีระดับความดังเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาทำงาน 8 ชม. เท่ากับ 86 dBA. ซึ่งเป็นค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับพนักงานที่สัมผัสกับเสียง และมีค่าดัชนี WBGT อยู่ในช่วง 2.1 - 26.8 องศาเซนเซียส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2543)
 
**[[สมหมาย ขยันดี]] (2542) ศึกษาการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยในน้ำใต้ดินจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น โดยศึกษาลักษณะสมบัติของน้ำชะขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และคุณภาพน้ำใต้ดินจากบ่อน้ำที่ขุดเจาะบริเวณรอบๆ สถานที่กำจัด ในรัศมี 1.5กิโลเมตร จำนวน 27 บ่อ ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคำบอน หมู่ที่ 7 ต.โนนท่อน อ.เมือง จ. ขอนแก่น จำนวน 3 บ่อ และบ้านซำจาน อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 24 บ่อ พบว่ามีการปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในบ่อน้ำตื้นระดับความลึกเฉลี่ยไม่เกิน 20 เมตร ปริมาณสารมลพิษที่ตรวจพบเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วพบว่า ปริมาณเหล็ก และแมงกานีส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำบาดาล ที่ใช้บริโภค ส่วนปริมาณสารตะกั่ว ทองแดง และ แคดเมี่ยม มีปริมาณเกินมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่อนุโลมให้มีได้ ผลของการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าน้ำชะขยะมูลฝอยจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สามารถปนเปื้อนสู่น้ำใต้ดินได้
 
**[[จรัสพงศ์ สร้อยระย้า และคณะ]] (2533) ได้ศึกษามลภาวะของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลในเขตภาคตะวันออก จำนวน 3 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และเทศบาลเมืองระยอง โดยเก็บตัวอย่างดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยจำนวนแหล่งละ 6 ตัวอย่าง สำหรับน้ำชะมูลฝอย เก็บในแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอย จำนวน 2 จุด ในแต่ละแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอยนั้น ผลการศึกษาพบว่า