ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขยะมูลฝอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
/* วรรณกรรมและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการ
บรรทัด 61:
** ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่[[อากาศ]] ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ใน[[เขตชุมชน]] หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มี[[การฝังกลบ]]
วรรณกรรมและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอย
**[[มหาวิทยาลัยมหิดล]] (2532) การศึกษาผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อคนงานในโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช โดย พบว่า จากจำนวนคนงานทั้งหมด 136 คน มีการติดเชื้อเอดส์ 6 คน และเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ 26 คน แม้ในการศึกษาไม่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการติดเชื้อดังกล่าวมีสาเหตุมาจากขยะมูลฝอย แต่จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพนี้ได้
**[[สุคนธ์ เจียสกุลและสสิธร เทพตระการพร]] (2544) ศึกษาเปรียบเทียบขยะมูลฝอยจากสถานบริการสุขภาพกับขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน พบว่า ร้อยละ 2 ของขยะมูลฝอยที่เปื้อนเลือด ตรวจพบไวรัสตับอักเสบ ตรวจพบเชื้อ Poliovirus และEchovirus ในผ้าอ้อมที่เป็นขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน
**[[สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร]] (2544) ศึกษาสมรรถภาพปอดของผู้ที่ประกอบอาชีพเก็บขยะมูลฝอยที่บริเวณกองขยะมูลฝอยในกรุงเทพมหานคร พบว่า ร้อยละ 40 มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ส่วนของการศึกษาในเด็กที่ทำงานเก็บขยะมูลฝอยในกรุงมะนิลา จำนวน 194 คน พบว่า ร้อยละ 23 มีอาการไอเรื้อรัง ร้อยละ 19 มีอาการหายใจสั้นๆ ร้อยละ 3 ของเด็กมีอาการคล้ายกับเป็นโรควัณโรค และร้อยละ 53 มีสมรรถภาพการทำงานของปอดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรในเมืองทั่วไป
**[[อุทัย สินเพ็ง และคณะ]] (2540) ได้ศึกษาความเสี่ยงอันตรายของพนักงานทำความสะอาด เก็บกวาดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ทั้งหมด 156 คน ส่วนมากร้อยละ 93.6 เป็นเพศหญิง พบว่าสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 49.6 โดยพบปัจจัยเสี่ยงคือฝุ่นรวม ซึ่งขณะปฏิบัติงานมีปริมาณเฉลี่ยเท่ากับ 1.806 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และจากการศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2544) ด้วยการสำรวจความคิดเห็นของซาเล้ง พบว่าโรคหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับซาเล้งบ่อยที่สุด ได้แก่ ปวดหลัง ปวดเอว รองลงมาคือ เป็นไข้ตัวร้อน ถูกของมีคมบาด โรคภูมิแพ้ เวียนศีรษะ หน้ามืด ตามลำดับ โดยสาเหตุของการเกิดโรคเหล่านี้เกิดจากการปฏิบัติตนขณะทำงานไม่ถูกต้อง เช่น ถูกของมีคมบาด เพราะไม่สวมถุงมือป้องกัน เป็นต้น แต่ในส่วนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดที่รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่รอบบริเวณสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยด้วยไม่ได้อยู่ในขอบเขตของการศึกษา
**[[อุทัย สินเพ็ง และคณะ]]( 2540) ศึกษาปริมาณฝุ่นละอองที่มีผลต่อสมรรถภาพของปอดและสภาวะสุขภาพของคนงานกวาดถนน ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ พบว่า ปริมาณฝุ่นรวมขณะปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.806 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และปริมาณฝุ่นขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนปลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.36 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานของสารเคมีในบรรยากาศ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แต่จากการตรวจสมรรถภาพปอด พบว่า คนงานกวาดถนน ร้อยละ 49.6 มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยความผิดปกติเป็นแบบลักษณะบกพร่องเชิงขยายตัว ร้อยละ 45.0 และลักษณะเชิงอุดกั้นร้อยละ 4.6
**[[สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร]] (2544) การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของควันและกลิ่นที่ปล่อยจากปล่องควันโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อ ที่ผ่านมายังไม่มีการรายงาน มีเพียงการศึกษาตรวจวัดระดับเสียงและความร้อนว่าจะเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ โดยผลการศึกษาระบุว่าไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด กล่าวคือ จากผลการตรวจวัดระดับความดังของเสียง และความร้อนของโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 พบว่า หัวเผา(Burner) ของเตาเผามีระดับความดังเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาทำงาน 8 ชม. เท่ากับ 86 dBA. ซึ่งเป็นค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับพนักงานที่สัมผัสกับเสียง และมีค่าดัชนี WBGT อยู่ในช่วง 2.1 - 26.8 องศาเซนเซียส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2543)
**[[สมหมาย ขยันดี] (2542) ศึกษาการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยในน้ำใต้ดินจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น โดยศึกษาลักษณะสมบัติของน้ำชะขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และคุณภาพน้ำใต้ดินจากบ่อน้ำที่ขุดเจาะบริเวณรอบๆ สถานที่กำจัด ในรัศมี 1.5กิโลเมตร จำนวน 27 บ่อ ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคำบอน หมู่ที่ 7 ต.โนนท่อน อ.เมือง จ. ขอนแก่น จำนวน 3 บ่อ และบ้านซำจาน อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 24 บ่อ พบว่ามีการปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในบ่อน้ำตื้นระดับความลึกเฉลี่ยไม่เกิน 20 เมตร ปริมาณสารมลพิษที่ตรวจพบเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วพบว่า ปริมาณเหล็ก และแมงกานีส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำบาดาล ที่ใช้บริโภค ส่วนปริมาณสารตะกั่ว ทองแดง และ แคดเมี่ยม มีปริมาณเกินมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่อนุโลมให้มีได้ ผลของการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าน้ำชะขยะมูลฝอยจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สามารถปนเปื้อนสู่น้ำใต้ดินได้
**[[จรัสพงศ์ สร้อยระย้า และคณะ]] (2533) ได้ศึกษามลภาวะของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลในเขตภาคตะวันออก จำนวน 3 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และเทศบาลเมืองระยอง โดยเก็บตัวอย่างดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยจำนวนแหล่งละ 6 ตัวอย่าง สำหรับน้ำชะมูลฝอย เก็บในแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอย จำนวน 2 จุด ในแต่ละแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอยนั้น ผลการศึกษาพบว่า
****1) ลักษณะและองค์ประกอบของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย ของขยะมูลฝอยจากชุมชนเมืองในภาคตะวันออกของประเทศไทยไม่มีความแตกต่างจากน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยจากแหล่งอื่นๆ สารพิษโลหะหนักที่ตรวจพบในน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยของทั้ง 3 เทศบาล มีปริมาณสูงกว่าค่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานน้ำดื่มเล็กน้อย และเมื่อผ่านขบวนการ absorption จากดินแล้ว ทำให้ตรวจพบเป็นปริมาณน้อยมากในแหล่งน้ำดื่ม
****2) การปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในแหล่งน้ำรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยสามารถตรวจพบได้เป็นระยะทางถึง 1,000 เมตร และความเข้มข้นของการปนเปื้อนของบ่อน้ำตื้นทุกบ่อมีแนวโน้มมากขึ้นในฤดูฝนในทุกเทศบาล ถึงแม้ว่าลักษณะดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของแต่ละ เทศบาลจะแตกต่างกัน
บรรทัด 76:
****6) คุณภาพของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของพื้นที่ศึกษา เมื่อพิจารณาถึงลักษณะดินที่ใช้เป็นที่ทิ้งขยะมูลฝอยแล้ว เห็นได้ว่า คุณภาพน้ำในฤดูแล้งในรัศมี 500 เมตร ของเทศบาลเมืองระยอง ซึ่งมีลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินทรายร่วน มีความสกปรกและไม่ได้มาตรฐานเมื่อเทียบกับที่ทิ้งขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองชลบุรี ซึ่งมีลักษณะดินเป็นดินปนทราย คุณภาพน้ำในฤดูแล้ง ได้มาตรฐานน้ำดื่มทุกแหล่งน้ำทั้งนี้อาจเนื่องจากลักษณะดินที่เป็นดินทราย หรือทรายร่วนมีการซึมผ่านของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย ผ่านได้เร็วและแพร่กระจายไปปนเปื้อนแหล่งน้ำใกล้เคียงได้ง่าย ผิดกับลักษณะดินที่เป็นดินร่วนปนทราย น้ำซึมผ่านขยะมูลฝอยไหลซึมผ่านได้ช้าและยังมีขบวนปฏิกิริยาในดิน(Soil Mechanism) อีกทำให้ความเข้มข้นของความสกปรกลดลงได้ในระหว่างที่มีการเคลื่อนที่ไปยังแหล่งน้ำใกล้เคียง
****7) ลักษณะของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เจือจางกว่าน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองชลบุรี และเทศบาลเมืองระยอง แต่คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราสกปรกกว่าอีก 2 เทศบาล อาจเป็นเพราะดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนดินเหนียว อีกทั้งใช้เป็นที่ทิ้งขยะมูลฝอยเป็นเวลานาน ทำให้สะสมความสกปรกได้มากกว่าดินทรายและดินร่วนปนทราย หรืออาจเป็นผลเนื่องมาจากขบวนการปฏิกิริยาในดิน ของดินแต่ละชนิด
**[[ศศิธร วงศ์หิรัญมาศ]] (2539) ได้ศึกษาแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ที่ฝังกลบขยะมูลฝอยของเทศบาลนครสวรรค์ พบว่ามีปริมาณสารอินทรีย์อยู่ระหว่าง 8.5–256 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานองค์กรอนามัยโลก 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร) ฟอสเฟตมีปริมาณ 0.07-0.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนเตรดและคลอไรด์ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
**[[วรรณพร แจ้งปิยะรัตน์, ธเรศ ศรีสถิตย์]] (2535) ได้ศึกษาการปนเปื้อนของปรอท แคดเมี่ยม และแมงกานีส ในดินตะกอนใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร พบว่า ดินตะกอนในบริเวณบ่อพักน้ำชะขยะมูลฝอยของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขม มีการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิด เช่น ปรอท แมงกานีส ในปริมาณสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานโดยเฉพาะตะกอนดินบริเวณใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช พบว่ามีการปนเปื้อนของปรอทและแมงกานีส เฉลี่ย 2.377 และ 311.0 ไมโครกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ส่วนบริเวณใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขม พบว่ามีการปนเปื้อนของปรอท และแมงกานีส เฉลี่ย 0.663 และ 845.8ไมโครกรัมต่อกรัม ตามลำดับ และถ้าน้ำชะขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพของแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากมีสารละลายมากเกินไป เช่น สารละลายโซเดียม แคลเซียมคาร์บอเนต เหล็ก และอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งแล้วแต่ว่า น้ำชะขยะมูลฝอยที่มีคุณลักษณะเช่นใด
**[[วีรวรรณ ปัทมาภิรัต]] (2530) ศึกษาน้ำชะขยะมูลฝอยจากโรงกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร พบว่า มีโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูงปนเปื้อนอยู่ เช่น ปรอท มีความเข้มข้น เท่ากับ 3.5 –4.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ลักษณะสีของน้ำชะมูลฝอยเป็นสีน้ำตาลแก่จนถึงสีดำ และมีกลิ่นแอมโมเนียอย่างชัดเจน
**[[ธรณิศาร์ ทรรพนันท์, ธเรศ ศรีสถิตย์]] (2535) ได้ศึกษาปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักบริเวณบ่อรับน้ำชะขยะมูลฝอยที่สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช พบว่า มีปรอทปนเปื้อนอยู่ในช่วง 2.47 – 39.13 ไมโครกรัมต่อลิตร และสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขมพบในช่วง 1.13 – 3.74 ไมโครกรัมต่อลิตร สำหรับแมงกานีส ตรวจวัดได้ 0.01–2.88 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนการตรวจวัด แคดเมี่ยมไม่พบในระดับที่สูงกว่า 0.03 มิลลิกรัมต่อลิตร
**[[ศิริรัตน์ ชาญไววิทย์, ประเสริฐ ศิริรัตน์]] (2536) ศึกษาผลกระทบของน้ำชะขยะมูลฝอยต่อคุณภาพน้ำใต้ดินในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยการเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อน้ำตื้น และบ่อน้ำบาดาลรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยในรัศมี 6 กิโลเมตร ผลการวิเคราะห์พบว่า มีการปนเปื้อนของสารมลพิษในน้ำบ่อตื้นบริเวณสถานที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ในระยะ 40 เมตร มีปริมาณที่สูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก สารมลพิษที่พบว่าปนเปื้อน ได้แก่ คลอไรด์ เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว แคดเมี่ยม และแบคทีเรีย และการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยสามารถปนเปื้อนไปได้ไม่เกิน 100 เมตรจากสถานที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองหาดใหญ่
 
== การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ==