ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาธร ศรีกรานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 137:
 
== '''ประวัติวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีส่วนพระองค์''' ==
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินผู้เพียบพร้อมด้วยพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรี เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพราะระหว่างนั้นมีการก่อสร้างเพิ่มเติมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ได้ทรงรวบรวมพระประยูรญาติบางองค์และคนสนิทมาเล่นดนตรีกันและพระราชทานชื่อวงนี้ว่า "วงลายคราม”ลายคราม" ขึ้นเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์วงแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ผู้ที่ทรงคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทใกล้ชิด ได้แก่ หม่อมเจ้า วิมวาทิตย์ รพีพัฒน์, หม่อมเจ้า แววจักร จักรพันธ์, หม่อมเจ้า กัมปลีสาน ชุมพล, หม่อมเจ้า ชมปกบุตร ชุมพล, หม่อมหลวง เดช สนิทวงศ์,หม่อมหลวง อุดม สนิทวงศ์, หม่อมหลวงพวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์, หม่อมหลวง ประพันธ์ สนิทวงศ์ , หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์ พงษ์อมร กฤษดากร, นายสุรเทิน บุนนาค ,นายดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ,นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ และ นายสมัยสารท สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ฯลฯ ตามลำดับ มาร่วมบรรเลงดนตรีกัน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานทุกเย็นวันศุกร์ ส่วนนักร้องประจำวงมี หม่อมเจ้า มูรธาภิเศก โสณกุล และ หม่อมเจ้า ขจรจบกิติคุณ กิติยากร พระราชทานนามวงดนตรีนี้ว่า "วงลายคราม” ลายคราม" บรรเลงเพลงประเภทต่างๆ เช่น เพลงคลาสสิก เพลงสากลเก่าๆ และเพลงแจ๊ส เป็นต้น ดนตรีประเภทที่โปรดนั้น คือ ดนตรีแจ๊ส ดิ๊กซีแลนด์ (Dixieland Jazz) ซึ่งเป็นสไตล์ชาวอเมริกันแห่งเมืองนิวออลีนส์ หลัง พ.ศ. ๒๔๕๙ (ค.ศ. ๑๙๑๖) เป็นแจ๊สที่มีจังหวะตื่นเต้นครึกครื้นและสนุกสนานเร้าใจ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นระบายอารมณ์และความรู้สึกออกมาเป็นทำนองเพลงได้อย่างเสรี ซึ่งทรงตั้งวงได้ง่าย เพราะใช้เครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้นก็สามารถเล่นได้ เหมาะสำหรับนักดนตรีสมัครเล่นที่จะจับกลุ่มตั้งวงขึ้นในหมู่มิตรสหายที่คุ้นเคยได้เป็นอย่างดี "วงลายคราม" จึงเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์วงแรก
 
 
ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ซึ่งมีทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้ง “สถานีวิทยุ อ.ส.” ขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ตัวอักษรย่อ อ.ส. ทรงนำมาจากคำว่า พระที่นั่งอัมพรสถาน) เพื่อใช้เป็นสื่อกลางให้ความบันเทิงและสาระประโยชน์ ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชน ปัจจุบันสถานีวิทยุ อ.ส. ได้ย้ายมาตั้งในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อมา มีการปรับปรุงวงดนตรีลายคราม เนื่องจากนักดนตรีกิตติมศักดิ์เหล่านั้นเริ่มทรงพระชรามากขึ้น ไม่สามารถมาร่วมเล่นดนตรีได้อย่างเต็มที่ จนเหลือแค่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ,หม่อมเจ้าชมปกบุตร ชุมพล, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์พงษ์อมร กฤดากร, หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ และนายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เท่านั้น นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหานักดนตรีเข้ามาถวายงานเพิ่มเติมจนครบวงให้สามารถเล่นต่อไปได้ ต่อมาจึงได้รับพระราชทานชื่อวงใหม่นี้ว่า “วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีกับ วง อ.ส.วันศุกร์ บรรเลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.เป็นประจำทุกวันศุกร์ ทรงจัดรายการเพลง และทรงเลือกแผ่นเสียงเอง บางครั้งโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟังโทรศัพท์ขอเพลงจากวงดนตรีที่กำลังบรรเลงได้ด้วย ปัจจุบันนี้(พ.ศ.๒๕๔๙) วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ มีอายุ ย่างเข้า ๕๑ ปีแล้ว
 
<!--
'''สมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ สมัยแรก&nbsp;ๆ '''นั้น ได้แก่ หม่อมเจ้าชมปกบุตร ชุมพล,หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์พงษ์อมร กฤษดากร, หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์, พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (องคมนตรี) , เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) , หม่อมหลวงเสรี ปราโมช, เรือตรี อวบ เหมะรัชต์, นายเดช ทิวทอง, นายดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา,นายไพบูลย์ ลีสุวัฒน์, นายเสนอ ศุขะบุตร, นายนนท์ บูรณสมภพ, นายกวี อังศวานนท์, นายสุวิทย์ อังศวานนท์, นายถาวร เยาวขันธ์, พลโท ทพ.ทวีศักดิ์ ทวีศรี, นายสันทัด ตัณฑนันทน์, นายอุทิตต์ ทินกร ณ อยุธยา, นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นายพัลลภ สุววรณมาลิก และที่เข้ามาภายหลังได้แก่ นายธรรมรักษ์ ทินกร ณ อยุธยา, นายอนิรุธ ทินกร ณ อยุธยา , ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ และ พลตำรวจเอก เสริม จารุรัตน์ ตามลำดับ
 
บรรทัด 149:
'''นักดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ณ ปัจจุบัน''' ได้แก่ พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (ศิลปินแห่งชาติ และ องคมนตรี) (ทรัมเป็ต) ,เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) (เปียโน) , พลโท ทันตแพทย์ ทวีศักดิ์ ทวีศรี (ทรัมเป็ต) ,นายนนท์ บูรณสมภพ (บาริโทนแซกโซโฟน) ,นายถาวร เยาวขันธ์ (กลอง) ,นายกวี อังศวานนท์ (เทเนอร์แซกโซโฟน) ,นายสุวิทย์ อังศวานนท์(ทรอมโบน), นายพัลลภ สุววรณมาลิก(ทรอมโบน),นายสันทัด ตัณฑนันทน์ (ทรอมโบน) ,นายอนิรุธ ทินกร ณ อยุธยา (เบส) และ ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (อัลโตแซกโซโฟน )
 
-->
<!-- ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด สิงหาคม 2549 โดย น.ส. ปฤณ สุภัควณิช -->
 
==ลิงก์ภายนอก==