ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโตวจื่อ นักแสดง[[อุปรากรจีน]]ชาย ที่ได้รับการฝึกฝนให้รับบทเป็นตัวนาง กับซือโถว เพื่อนรุ่นพี่ที่คอยปกป้องโตวจื่อมาตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้น โตวจื่อใช้ชื่อในการแสดงว่า เฉิงเตี้ยอี้ มีชื่อเสียงโด่งกับกับบทอวี้จี่อัน นางสนมของ[[เซี่ยงอี่]] (หรือ ฌ้อปาอ๋อง 232-202 ปีก่อนคริสตกาล) แม่ทัพแห่ง[[แคว้นฉู่ตะวันตก]]ในยุค[[ราชวงศ์ฉิน]] ที่แสดงโดยซือโถว โดยใช้ชื่อในการแสดงว่า ต้วนเสี่ยวโหลว บทบาทของทั้งคู่มาจาก[[อุปรากรปักกิ่ง]]ที่โด่งดังเรื่อง "ฌ้อปาอ๋อง" เกี่ยวกับการรบเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างเซี่ยงอี่ กับ[[หลิวปัง]]และสถาปนา[[ราชวงศ์ฮั่น]] และเรื่อง "ศาลาโบตั๋น" ภาพยนตร์นำเสนอความสัมพันธ์แบบสามเส้าแบบ ชาย-ชาย-หญิง <ref>[http://www.oknation.net/blog/julyrhapsody/2007/07/21/entry-1 อัตลักษณ์ที่สับสนกับศิลปะต้องห้าม - Farewell to My Concubine]</ref> ระหว่าง เฉิงเตี้ยอี้ (รับบทโดย เลสลี่ จาง) กับ ต้วนเสี่ยวโหลว (รับบทโดย จาง เฟิงอี้) และ[[นางโลม]]ชื่อ จูเสียน (รับบทโดย กง ลี่) <ref>[http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=bookofpear&month=08-2007&date=23&group=11&gblog=1 Farewell my Concubine พบกันเพื่อจาก]</ref> โดยภาพยนตร์จบลงที่ความตายของเฉิงเตี้ยอี้ โดยใช้ดาบเชือดคอตัวเอง เช่นเดียวกับในบทอวี้จี่อัน ที่ตัวเองเป็นผู้เล่น
 
ภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและการเมืองจีนในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 ตั้งแต่ยุค[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง]] การพ่ายแพ้ของ[[กองทัพญี่ปุ่น]] การโค่นล้ม[[พรรคก๊กมินตั๋ง]]โดย[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]] ผ่านยุค[[การปฏิวัติทางวัฒนธรรม]]ที่[[งิ้ว]]กลายเป็นสิ่งต้องห้าม จนมาถึงยุคปัจจุบัน <ref>[http://girlfineday.blogspot.com/2006/09/farewell-my-concubine-boy-meets-boy.html Farewell My Concubine & Boy meets Boy, คอลัมน์ Food for Thought, นิตยสาร s-exchange]</ref> เป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเพียงเรื่องเดียวที่ได้รับ[[รางวัลปาล์มทองคำ]] จาก[[เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์]] ประจำปี 1993
 
==อ้างอิง==