ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินโปเลียนที่ 3"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MelancholieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: am:ናፖሌኦን 3ኛ
Saver (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 35:
== ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ==
 
เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนประทับอยู่ใน[[สหราชอาณาจักร]]จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติใน[[เดือนกุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2391]] ที่ประเทศฝรั่งเศส และมีการปลด[[พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์]]ออกจากราชบัลลังก์และสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระองค์ก็สามารถนิวัติกลับประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระองค์ก็ได้กระทำเช่นนั้น พระองค์ได้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ใน[[การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2391]] และพระองค์ก็ได้เป็น[[ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส|ประธานาธิบดีพระองค์แรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส]] แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก ทั้งถูกมองว่าเป็นนักปราศรัยระดับปานกลางและล้มเหลวในการทำให้สมาชิกประทับใจอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังคิดว่าการที่พระองค์ประทับอยู่นอกประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลานานทำให้พระองค์ตรัส[[ภาษาฝรั่งเศส]]โดยมีสำเนียงเยอรมันแทรกเข้ามาด้วย
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ได้ประกาศเป็นที่เรียบร้อยแล้วและมี[[การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2391|การเลือกตั้งในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2391]] ซึ่งเจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนชนะด้วยคะแนนถล่มทลาย ด้วยคะแนนเสียงกว่า 5,454,000 (หรือประมาณ 75% ของทั้งหมด) ผู้สมัครคู่แข่งที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับสองคือ [[หลุยส์ อูแชน กาวาญัค]] ซึ่งได้คะแนนเสียงไป 1,448,000 คะแนน หลุยส์-นโปเลียนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน พระองค์กล่าวว่าพระองค์เป็นดั่ง "ทุกสิ่งทุกอย่างของทุกคน" พวกนิยมกษัตริย์ขวา (ซึ่งสนับสนุนพระประยูรญาติ[[ราชวงศ์บูร์บง]]หรือ[[ออร์เล-อง]]) และชนชั้นกลางส่วนมากสนับสนุนพระองค์ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์เป็น "ผู้สมัครที่แย่น้อยที่สุด" ซึ่งคาดหมายว่าพระองค์จะเป็นผู้รื้อฟื้นความแข็งแกร่งกลับคืนมา หลังจากเสถียรภาพของประเทศฝรั่งเศสสั่นคลอนหลังจากการปฏิวัติโค่นล้มกษัตริย์ใน[[เดือนกุมภาพันธ์]] และป้องกันการปฏิวัติสังคมนิยมอีกด้วย ในทางกลับกัน ชนชั้นล่างซึ่งทำงานในด้านอุตสาหกรรม สนับสนุนหลุยส์-นโปเลียนจากการแสดงมุมมองการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่สู้ชัดเจนนัก ในการชนะเลือกตั้งของพระองค์นั้น คะแนนส่วนมากมาจากมวลชนชนบทซึ่งไม่ได้รับความรู้ทางการเมือง