ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 45:
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ตั้งอยู่ เลขที่ ๙๙๙ ถนนพระราม ๙ ซอย ๑๙ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นที่ลุ่มว่างเปล่า ขอบเขตที่ดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อที่ทั้งหมด ๘ – ๒ – ๕๔ ไร่ด้านทิศเหนือ ยาว ๒๓๔ เมตร ติดกับโรงเรียนสมาคมไทย – ญี่ปุ่น และที่ว่างเปล่าของเอกชน ด้านทิศตะวันออก ยาว ๖๑.๕ เมตร ติดคลองลาดพร้าว ด้านทิศใต้ ยาว ๒๑๗ เมตร ติดกับที่ดินที่กันไว้เป็นถนนทางเข้า ด้านทิศตะวันตก ยาว ๖๕ เมตร ติดกับโรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ของกรุงเทพมหานคร เดิมเป็นที่ลุ่มว่างเปล่า ขอบเขตที่ดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อที่ทั้งหมด ๘ – ๒ – ๕๔ ไร่ด้านทิศเหนือ ยาว ๒๓๔ เมตร ติดกับโรงเรียนสมาคมไทย – ญี่ปุ่น และที่ว่างเปล่าของเอกชน ด้านทิศตะวันออก ยาว ๖๑.๕ เมตร ติดคลองลาดพร้าว ด้านทิศใต้ ยาว ๒๑๗ เมตร ติดกับที่ดินที่กันไว้เป็นถนนทางเข้า ด้านทิศตะวันตก ยาว ๖๕ เมตร ติดกับโรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ของกรุงเทพมหานคร
 
พระอุโบสถ : ปฐมเหตุแห่งความประหยัด
== ศาสนสถาน-ถาวรวัตถุ ==
แรกเริ่ม การออกแบบพระอุโบสถ นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ๑๐ กรมศิลปากร (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมในวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ได้นำแบบพระอุโบสถขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร มีรับสั่งให้ย่อลง ให้มีขนาดกระทัดรัด สอดคล้องกับลักษณะของชุมชน ด้วยไม่โปรดสิ่งที่ใหญ่โตเกินความจำเป็น มีพระราชประสงค์ให้วัดนี้เป็นวัดของชุมชนพระราม ๙ เพื่อให้ประกอบศาสนกิจ จากเดิมที่ออกแบบให้ภายในพระอุโบสถจุคนได้ ๑๐๐ คนเศษ ทรงให้ลดเหลือเพียง ๓๐ — ๔๐ คน ลดงบประมาณจากที่ตั้งไว้ ดิม ๕๗ ล้านบาท เป็นไม่เกิน ๓ ล้านบาท เหล่านี้ ชี้ให้เห็นพระราชนิยมที่ประหยัด เรียบง่าย เน้นเพียงการใช้ประโยชน์สูงสุดที่สำคัญ และมีพระราชประสงค์ให้เป็นตัวอย่างของการสร้างวัดสำหรับชุมชนอีกด้วย
{{โครงส่วน}}
 
นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น จึงน้อมรับพระราชกระแสมาออกแบบพระอุโบสถใหม่ โดยเน้นประโยชน์ในอาคารอย่างคุ้มค่า วัสดุก่อสร้างทั้งหมดเป็นของที่ผลิตในประเทศ ส่วนรูปแบบทางศิลปกรรมเป็นการผสมผสานรูปแบบอย่างสถาปัตยกรรมปัจจุบัน โดยได้ต้นเค้าจากพระอุโบสถวัดต่างๆ ดังนี้
 
- พระอุโบสถวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร เช่น รูปทรงเสาของเสาอุโบสถ
- พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม เช่น ความเรียบง่ายและมุขประเจิด
- พระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นต้นแบบในการผูกลายปูนปั้นประดับหน้าบัน
 
โครงสร้างอุโบสถวันพระราม ๙ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคมมุงกระเบื้องทำด้วยแผ่นเหล็กสีขาว องค์ประกอบเครื่องบนหลังคาเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตาน ประดับหน้าบันด้วยลายปูนปั้นปิดทองเฉพาะที่ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ช่อฟ้า ใบระกาเป็นลวดลายปูนปั้นไม่ปิดทองประดับกระจก ผนังและเสาก่ออิฐฉาบปูนเรียบทาสีขาว บานประตูหน้าต่างใช้กรอบอะลูมิเนียม ลูกฟักเป็นกระจก เพดานพระอุโบสถเป็นเพดานไม้เรียบ แต่ได้มีผู้มีจิตศรัทธาถวายโคมระย้าเป็นพุทธบูชาประดับไว้แทนรวม ๔ ช่อ
 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดให้จารึกคาถาเยธมมาฯ ณ ที่นี้ ใช้อักษรอริยกะ ซึ่งเป็นอักษรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงประดิษฐ์ขึ้น แบบเดียวกับที่พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์
 
== ข้อมูลจำเพาะ ==