ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปืนเล็กยาวจู่โจม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ms:Raifal tempur
Umic2000 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:M16A1 brimob.jpg|thumb|right|250px|ปืนไรเฟิลจู่โจม[[เอ็ม16]] ถูกใช้ครั้งแรกโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ และใช้กระสุน 5.56x45 ม.ม.แบบนาโต้]]
'''ปืนเล็กยาวจู่โจม'''หรือ'''ปืนไรเฟิลจู่โจม''' เป็น[[ปืนเล็กยาว]]หรือ[[คาร์บิน]] ซึ่งยิงกระสุนปืนเล็กยาวแต่ยิงด้วยอัตราการยิงเป็นแบบอัตโนมัติและค่อนข้างถี่ ปืนเล็กยาวจู่โจมเป็นอาวุธขนาดเล็กแบบพื้นฐานในกองทัพส่วนใหญ่ ซึ่งมาแทนที่ปืนเล็กยาวประจัญบานกล (Battle rifle) ที่มีขนาดใหญ่ ยาวกว่า อย่าง[[ปืนเล็กยาว เอ็ม1 กาแรนด์]]และ[[เอสวีที-40]] ใน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ตัวอย่างสำหรับปืนเล็กยาวจู่โจม เช่น [[เอเค 47]] [[เอ็ม16]] [[ฟามาส]] [[สไตเออร์ เอยูจี]] ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติก็ได้แก่ [[เออาร์-15]]
 
== คำนิยาม==
 
คำว่า''ปืนเล็กยาวจู่โจม''หรือ''ปืนไรเฟิลจู่โจม''นั้นเป็นคำที่แปลมาจากคำใน[[ภาษาเยอรมัน]]ที่ว่า คือ ''Sturmgewehr'' ("ไรเฟิลพายุ") ที่ตั้งโดย[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]<ref>"[http://www.lonesentry.com/articles/ttt07/stg44-assault-rifle.html Machine Carbine Promoted]," ''Tactical and Technical Trends'', No. 57, April 1945</ref> "พายุ"ถูกใช้เป็นการเปรียบเทียบกิริยาการโจมตี อย่างการระดมโจมตีที่เสมือนพายุกระหน่ำ
 
การแปลความหมายของ''ปืนเล็กยาวจู่โจม''หรือ''ปืนไรเฟิลจู่โจม''กลายมาเป็นชื่อโดยทั่วไปของอาวุธปืนที่ได้รับออกแบบเหมือนกับเอสทีจี 44 (''Sturmgewehr 44, StG 44'') ในการจำกัดความนั้น อาวุธปืนจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้จึงจะจัดว่าเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม
เส้น 45 ⟶ 46:
ริเบย์รอล 1918 (''Ribeyrolle 1918'') อาจเป็นอาวุธขนาดกระทัดรัดที่เลือกการยิงได้แบบแรกโดยใช้กระสุนกลางที่ในปัจจุบันนิยามว่าเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม ปลอกกระสุนมีพื้นฐานมาจากปลอก .351 วินเชสเตอร์และแคบจนเป็นกระสุน 8 ม.ม.เลเบล มันปรากฏตัวครั้งแรกในกองทัพเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 มันมีชื่อเป็นทางการว่า''ปืนคาร์บินกล {{lang|fr|Carabine Mitrailleuse}}'' ({{lang-en|machine carbine}}; {{lang-de|Maschinenkarabiner}}) มันถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2464 เพราะว่ามันไม่แม่นยำพอในระยะไกลเกิน 400 เมตร
 
[[ปืนเล็กยาวอัตโนมัติปืนเล็กกล เอ็ม 1918 บราวน์นิง]]หรือบาร์ ({{lang-en|''M1918 Browning Automatic Rifle, BAR''}}) ได้เลียนแบบความคิดของโชแชทแต่ไม่ได้ผลิตออกมาหรือใช้ในจำนวนที่มากจนกระทั่งจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การพัฒนาต่อมาได้เพิ่มลำกล้องและไฟพ็อคที่หนักขึ้นซึ่งทำให้มันเหมือนกับ[[ปืนกล]]ขนาดเบาหรือ[[อาวุธอัตโนมัติประจำหมู่]]ในปัจจุบัน บาร์รุ่นนี้ถูกผลิตออกมาจำนวนมาก ใช้อย่างกว้างขวาง และทำหน้าที่ได้ดีในทศวรรษที่ 1960 ในกองทัพของสหรัฐฯ และชาติอื่นๆ
 
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง [[ปืนกลมือ]]ได้เข้ามามีบทบาทเช่นกัน อย่าง[[วิลลาร์ เพอโรซา]] [[เบเรทต้า โมเดล 1918]] และ[[เอ็มพี18]] อาวุธเหล่านี้ได้มีองค์ประกอบเหมือนกันกับปืนเล็กยาวจู่โจม แต่พวกมันใช้กระสุนขนาด 9x19 ม.ม.ของของปืนพก ผู้สร้าง[[ปืนกลมือทอมป์สัน]]เดิมทีตั้งใจที่จะใช้กระสุนของปืนเล็กยาว อย่างไรก็ตามระบบกลไกที่สามารถรับมือพลังของพวกมันได้นั้นไม่มีและกระสุน .45 เอซีพีจึงถูกเลือกมาใช้แทน อาวุธปืนเหล่านี้ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งในชั้นของ[[ปืนกลมือ]] แต่เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาปืนเล็กยาว