ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Modernkoro (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Modernkoro (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่''' ({{Lang-en|Mobile Number Portability}} หรือ MNP) คือ การบริการที่ผู้ใช้บริการ[[โทรศัพท์เคลื่อนที่]]สามารถขอให้ผู้ให้บริการโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไปใช้บริการของ[[ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่]]รายอื่นได้ ซึ่งการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิทธิของผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุในการกีดกันขัดขวาง หรือหน่วงเหนี่ยวการโอนย้ายผู้ให้บริการไม่ได้
 
ตามประกาศ[[คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ]] เล่ม 126 ตอนพิเศษ 109 ง วันที่ [[3 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2552]] การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นเครื่องมือที่สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการ สถานที่ หรือประเภทบริการ การส่งเสริมการบริการโทรคมนาคม สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม เพื่อการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมอย่างคุ้มค่าสำหรับการให้บริการโทรคมนาคมต่อสาธารณะ<ref name="ประกาศกทช1">ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่</ref> ซึ่งคาดว่าการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถให้บริการได้ภายในเดือน[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2553]]<ref>[[http://www.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=5325&Itemid=33 การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่]]</ref>
 
การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศมีการเริ่มใช้งานในปี[[ค.ศ. 1997]] โดยประเทศสิงคโปร์ได้เริ่มใช้เป็นแห่งแรก<ref name="ช่างพูด">สุภาวดี อร่ามวิทย์ และ ชัยเชษฐ์ สายวิจิตร. "สิทธิการคงเลขหมายโทรศัพท์มือถือ Mobile number portability". ''วารสารช่างพูด'' ฉบับที่ 6/50 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> และอีกหลายๆประเทศทั่วโลก เช่น อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส และล่าสุดในปี[[ค.ศ. 2009]] ที่[[ประเทศอินเดีย]]