ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความน่าสะพรึงกลัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saver (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saver (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ฤดูร้อน [[พ.ศ. 2336]] การปฏิวัติของฝรั่งเศสส่งผลกระทบ ทั้งการภายในและกลุ่มผู้ก่อกบฏจากราชวงศ์ต่างๆ ในยุโรป ทำให้เกิดความกลัวว่าการปฏิวัติจะขยายลุกลามสู่ ประเทศโดยรอบที่ปกครองโดย[[ระบบกษัตริย์]] จึงส่งกองกำลังมาประชิดชายแดนฝรั่งเศส จนเกิดการประทะกันกับทหารของฝ่ายสาธารณรัฐฝรั่งเศส
 
กองกำลังต่างชาติได้ข่มขู่ฝรั่งเศสให้ปล่อย[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แหเงฝรั่งเศสแห่งฝรั่งเศส]] และคืนราชสมบัติให้พระองค์ [[ดยุค]]แห่งบรุนสวิก ประเทศ[[ปรัสเซีย]]ถึงกับขู่ว่าจะเข้าปล้น[[ปารีส]] หากชาวปารีสแตะต้องพระบรมวงศานุวงศ์
และมีกระแสความเชื่อสงสัยว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เองอาจเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับรัฐบาลต่างชาติ ให้บุกฝรั่งเศสเพื่อเข้ามาฟื้นฟูระบอบกษัตริย์
 
บรรทัด 27:
ท่ามกลางการต่อต้านภายในและการรุกรานของต่างชาติทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ภารกิจหลักของรัฐบาลสาธารณรัฐฯ จึงเน้นที่สงคราม ในวันที่ [[17 พฤษภาคม]] สภาลงมติให้เกณฑ์ทหารเข้ากองกำลัง และในวันที่ 5 กันยายนนั้นเอง รัฐสภาก็ได้ลงมติรับ "ความเหี้ยมโหด" ให้มีความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญโดยอนุมัติให้ปราบปรามข้าศึกศัตรูภายในประเทศได้โดยเด็ดขาด
 
ผลที่ตามมาคือการใช้กำลังปราบปราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธภาพของกรรมาธิการความั่นคง ได้มีการออกกฎหมายอีกหลายฉบับ วันที่ [[9 กันยายน]] ได้ออกกฎหมายจัดตั้งกองกำลังร่วมประชาชนฝ่ายปฏิวัติเพื่อบังคับให้ชาวนามอบผลผลิตให้แก่รัฐตามที่รัฐต้องการ วันที่ [[17 กันยายน]]มีการออกกฎหมายให้อำนาจการจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เข้าข่ายเป็น ''ผู้ก่ออาชญากรรมต่อเสรีภาพ'' วันที่ [[29 กันยายน]] รัฐสภาได้เพิ่มการกำหนดราคาตายตัวที่ต่ำลงสำหรับธัญพืช ขนมปังและสินค้าจำเป็นอีกหลายอย่าง รวมทั้งการกำหนดค่าแรงตายตัวให้ต่ำลง กิโยตินได้กลายเป็นสัญลักณ์แห่งการประหารชีวิตที่ต่อเนื่อง [[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส]] ได้ถูกบั่นพระเศียรด้วยกิโยตินไปก่อนหน้าการเริ่มยุคแห่งความเหี้ยมโหดนี้ไปแล้ว [[มารี อองตัวแนต|พระนางมารี อองตัวแนต]] พวก Girondin ฟิลิปเป Égalité ผู้ซึ่งลงคะแนนให้ประหารพระเจ้าหลุยส์ มาดามดรแลนด์และผู้คนอีกมากมายได้ถูกประหารโดยกิโยติน ศาลคณะปฏิวัติได้พิพากษาประหารชีวิตคนหลายพันคนด้วยกิโยติน ผู้เคราะห็ร้ายจำนวนมากถูกฝูงชนทุบตีจนตายอย่างโหดร้าย ประชาชนจำนวนมากตายเนื่องจากการมีตวามเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ไม่น้อยที่ถูกประหารเพียงด้วยข้อสงสัยเล็กๆ น้อยๆ หรืออาจเพียงเป็นบังเอิญผู้มีส่วนได้เสียเพียงเล็กน้อยกับฝ่ายตรงข้าม ผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่ถูกลากตัวไปกับเกวียนไม้แบบเปิดที่ทำไว้เฉพาะสำหรับการประจานนักโทษ และถูกโห่ประจานไปตลอดทาง
 
เหยื่อของยุคแห่งความเหี้ยมโหดที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยศาลฝ่ายปฏิวัตินับได้ประมาณ 40,000 คน เป็นชนชั้นปกครองชั้นสูง 8% พระ 6% ชนชั้นกลาง 14% และอีก 70% เป็นคนงานและชาวนายากจนที่ถูกกล่าวหาว่ากักตุน หนีทหาร ก่อกบฏและก่ออาชญากรรมอื่นๆ ในกลุ่มสังคมเหล่านี้ พระแคทอลิกมีสัดส่วนการสูญเสียมากที่สุด