ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โนพลอมแพลม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
'''โนพลอมแพลม''' <ref>เป็นคำล้อเลียน "โนพร็อบเบลม" (''No Problem'', ไม่มีปัญหา) คำพูดติดปากพล.อ. [[ชาติชาย ชุณหะวัณ]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อให้สัมภาษณ์[[นักข่าว]]</ref> เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ของ [[แอ๊ด คาราบาว]] แต่เป็นชุดแรกที่ใช้ชื่อจริงคือ [[ยืนยง โอภากุล]] ปรากฏบนปกเทป อัลบั้มชุดนี้เดิมออกจำหน่ายวันที่ 1 ตุลาคม [[พ.ศ. 2533]] แต่ติดเงื่อนไขที่มีเพลงซึ่งไม่ผ่านการเห็นชอบจาก [[คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์]] (กบว.) อยู่ 3 เพลง คือ ''ไอ้หำ'' กับ ''ขนม'' ซึ่งถูกห้ามออกอากาศเด็ดขาด และเพลงเปิดอัลบั้ม ''โนพลอมแพลม'' ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขอยู่หลายครั้งกว่าจะผ่านการอนุมัติให้สามารถออกอากาศทาง[[วิทยุ]]และ[[โทรทัศน์]]ได้ อัลบั้มนี้จึงออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในปลายเดือน[[พฤศจิกายน]] ภายใต้ชื่อสังกัดใหม่ "[[ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์]]" (ซึ่งปัจจุบัน บ.วอร์เนอร์ มิวสิก ประเทศไทย ถือลิขสิทธิ์ผลงานเพลงที่ทำกับดี-เดย์ เพื่อวางจำหน่ายซ้ำ)
 
เพลงต่างๆ ในชุดนี้ [[ยืนยง]]ได้ตีแผ่ประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ[[การเมือง]] [[เศรษฐกิจ]] [[สังคม]] [[สิ่งแวดล้อม]] โดยที่แต่ไม่มีเพลงรักอย่างมีเหตุผลเช่นในอัลบั้มก่อนๆ โดยยืนยงประกาศจุดยืนตรงข้ามกับรัฐบาล(สมัย [[พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] นายกรัฐมนตรี) <ref> http://www.carabao2524.com/board/show.php?ques_no=2365 </ref> มีเพลงที่พอเป็นที่รู้จักและมีการเผยแพร่สืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน อย่าง "สืบทอดเจตนา" ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อรำลึกแด่ [[สืบ นาคะเสถียร]]
 
ด้วยในด้านดนตรีที่หนักแน่นขึ้น พร้อมกับเนื้อหาที่เข้มข้นยิ่งขึ้น แสดงตัวตนของยืนยงได้อย่างเด่นชัดที่สุด ส่งผลให้อัลบั้มชุดนี้ได้รับการประกาศชื่อให้ได้รับรางวัล[[สีสันอวอร์ด]] สาขาอัลบั้มยอดเยี่ยม ประจำปี 2533 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กำหนดรางวัลนี้ขึ้นมาและยังใช้กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน