ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังวินด์เซอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทิวงคตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ก่อนที่จะเสด็จมาประทับที่วังนี้ ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงสถาปนา '''โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว''' เมื่อวันที่ [[1 มกราคม|๑ มกราคม]] [[พ.ศ. 2453|พ.ศ. ๒๔๕๓]] โดยได้พระราชทานวังนี้พร้อมที่ดินบริเวณรอบๆ จำนวน ๑,๐๐๐ ไร่เศษ ให้เป็นสมบัติของโรงเรียน และได้พระราชทานนามใหม่ในเวลาต่อมาว่า '''[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]''' เมื่อวันที่ [[26 มีนาคม|๒๖ มีนาคม]] [[พ.ศ. 2459|พ.ศ. ๒๔๕๙]]
 
วังวินด์เซอร์ ถูกใช้เป็นหอพักของนิสิตโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเรื่อยมา จนมีการตั้ง '''แผนกฝึกหัดครูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย''' ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และสถาปนา[[โรงเรียนหอวัง|โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ขึ้นเมื่อวันที่ [[17 พฤษภาคม|๑๗ พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2472|พ.ศ. ๒๔๗๒]] เพื่อให้นิสิตแผนกฝึกหัดครู ใช้ฝึกความชำนาญในการสอน และได้ใช้อาคารวังวินด์เซอร์ เป็นอาคารเรียน เรียกว่า '''ตึกหอวัง'''
 
เมื่อ [[พ.ศ. 2478|พ.ศ. ๒๔๗๘]] ทางรัฐบาล โดย [[หลวงศุภชลาสัย|นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น.]] อธิบดี[[กรมพละศึกษา]] ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินตำบลวังใหม่จากมหาวิทยาลัย โดยรื้อถอนวังวินด์เซอร์ รวมทั้งเรือนนอน สระน้ำ สวนดอกมะลิ และสวนผักบริเวณรอบๆ เพื่อก่อสร้าง[[กรีฑาสถานแห่งชาติ]] ตั้งชื่อว่า '''[[สนามศุภชลาศัย]]''' เมื่อ [[พ.ศ. 2479|พ.ศ. ๒๔๗๙]] การก่อสร้างแล้วเสร็จ โรงเรียนพลศึกษากลาง และกรมพลศึกษา ย้ายมาอยู่ที่นี้ เมื่อ [[พ.ศ. 2481|พ.ศ. ๒๔๘๑]]
 
ส่วนโรงเรียนมัธยมหอวังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวังฯ ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารเรียนสร้างใหม่ ริม[[ถนนพญาไท]] ซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของ[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] จนถึง [[พ.ศ. 2481|พ.ศ. ๒๔๘๑]]