ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Umic2000 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ยุทธการมาร์เก็ต การ์เดน''' ({{lang-en|Operation Market Garden}}) เป็นปฏิบัติการทางทหารของ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ในช่วงวันที่ 17-25 กันยายน ค.ศ. 1944 เหนือแผ่นดิน[[:th:เนเธอร์แลนด์|ประเทศเนเธอร์แลนด์]] โดยใช้ยุทธวิธีตีโอบทางดิ่ง ด้วยการส่งกำลังทางอากาศเข้าสู่เขตยุทธบริเวณของนาซีเยอรมัน เพื่อยึดสะพานขนาดใหญ่สำคัญทั้ง 5 แห่ง พร้อมทั้งให้กองพลยานเกราะที่ 30 () เคลื่อนที่ไปตามทางหลวงหมายเลข 69 เพื่อบรรจบกำลังกันที่เมือง[[:en:Arnhem|อาร์นเน็ม (Arnhem)]] เพื่อรวมพลก่อนรุกคืบเข้าสู่[[:en:Ruhr|แคว้นรูห์ (Ruhr)]] ทางตอนเหนือของเยอรมันต่อไป โดยฝ่ายสัมพันธมิตรมุ่งหวังจะเผด็จศึกฝ่ายนาซีเยอรมันให้เสร็จสิ้นก่อนวันคริสต์มาส ปี ค.ศ. 1944
'''ปฏิบัติการ มาร์เก็ตการ์เดน''' (Market Garden) เป็นชื่อแผนปฏิบัติการของ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]] ซึ่งการวางกำลังโดยการหว่านพลร่มกองพันทหารพลร่มที่ 1 ของ[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]และกองพลน้อยพลร่ม[[โปแลนด์]] กองพลพลร่มที่ 82,101 ของ[[สหรัฐอเมริกา]] กระจายตามเขต[[ประเทศฮอลแลนด์]](เนเธอร์แลนด์) เข้าไปยัง[[เมืองไอด์โฮเฟน]] แล้วจะเปิดเส้นทางการรุกรบทางใต้ ให้แก่กองพลรถยานเกราะรักษาพระองค์ของอังกฤษ และทหารราบที่มากับรถลำเลียงของกองทัพที่ 2 เพื่อยึดและป้องกันการทำลายสะพานระหว่างจุดเริ่มต้นจาม[[เมืองไอด์โฮเฟน]]-[[เมืองฮาร์นเฮม]] กองกำลังที่จะกรุยทางให้แก่กองทัพที่ 2 ของอังกฤษได้แก่ กองพันพลร่มที่ 1 อังกฤษ พร้อมกับกองพลน้อยทหารพลร่มของโปแลนด์ และกองพลพลร่มที่82,101,506 ของสหรัฐอเมริกาพร้อมกับกองพันพลร่มที่ 3 บางส่วน เพื่อทำการเข้าตีและยึดเมืองไอด์โฮเฟน แล้วป้องกันสะพานเพื่อการขนกำลังพลของกองทัพที่ 2 อังกฤษและกองพลรถถังยานเกราะรักษาพระองค์
 
โดยในยุทธการดังกล่าวได้มีการปะทะกันอย่างดุเดือดที่เมืองอาร์นเน็ม ระหว่างกองพลปีศาจแดง (The British Red Devils) ของกองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 1 [[:en:1st_Airborne_Division|(1st Airborne Division)]] กับกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 9 โฮเฮนสเตาเฟน [[:en:9_SS|(9th SS Panzer Division Hohenstaufen)]] ของนาซีเยอรมันซึ่งถอนตัวมาพักฟื้นและปรับกำลังที่เมืองนี้นานแล้ว ภายหลังจากภารกิจตีฝ่าวงล้อมของฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยอังกฤษและแคนาดาที่เมืองฟาเลส์ [[:en:Falaise_pocket|(Falaise Pocket)]] ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 12-21 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เพื่อเปิดช่องว่างให้ทหารเยอรมันจากเมือง Merri และเมือง Trun ถอยร่นออกมาทางเมือง Falaise และเป็นหน่วยระวังหลังให้ โดยได้มีการต่อสู้กันอย่างหนักหน่วงที่บริเวณสะพาน John Frost ที่ทอดข้ามแม่น้ำไรน์ (Rhine River) อย่างดุเดือด ก่อนที่ฝ่ายอังกฤษจะยอมแพ้ในเวลาต่อมา และภายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ทำลายสะพานแห่งนี้ทิ้งไป
 
[[ไฟล์:John_Frost_Brug_(Arnhem)_01.jpg|thumb|200px|right|สะพาน John Frost ในปัจจุบัน ซึ่งบูรณะขึ้นมาแทนสะพานเดิมที่ถูกทำลายหลังจากยุทธการมาร์เก็ต การ์เดนล้มเหลว]]
 
'''ปฏิบัติการ มาร์เก็ตการ์เดน''' (Market Garden) เป็นชื่อแผนปฏิบัติการของ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]] ซึ่งการวางกำลังโดยการหว่านพลร่มกองพันทหารพลร่มที่ 1 ของ[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]และกองพลน้อยพลร่ม[[โปแลนด์]] กองพลพลร่มที่ 82,101 ของ[[สหรัฐอเมริกา]] กระจายตามเขต[[ประเทศฮอลแลนด์]](เนเธอร์แลนด์) เข้าไปยัง[[เมืองไอด์โฮเฟน]] แล้วจะเปิดเส้นทางการรุกรบทางใต้ ให้แก่กองพลรถยานเกราะรักษาพระองค์ของอังกฤษ และทหารราบที่มากับรถลำเลียงของกองทัพที่ 2 เพื่อยึดและป้องกันการทำลายสะพานระหว่างจุดเริ่มต้นจาม[[เมืองไอด์โฮเฟน]]-[[เมืองฮาร์นเฮม]] กองกำลังที่จะกรุยทางให้แก่กองทัพที่ 2 ของอังกฤษได้แก่ กองพันพลร่มที่ 1 อังกฤษ พร้อมกับกองพลน้อยทหารพลร่มของโปแลนด์ และกองพลพลร่มที่82,101,506 ของสหรัฐอเมริกาพร้อมกับกองพันพลร่มที่ 3 บางส่วน เพื่อทำการเข้าตีและยึดเมืองไอด์โฮเฟน แล้วป้องกันสะพานเพื่อการขนกำลังพลของกองทัพที่ 2 อังกฤษและกองพลรถถังยานเกราะรักษาพระองค์
 
แต่แผนปฏิบัติการถูกฝ่ายเยอรมันอ่านออก กองกำลังสัมพันธมิตรทั้งหมดต้องถอยกลับมาตั้งหลักเนื่องจาก การหวานพลร่มในตอนกลางวัน โดยมีการยิงป.ต.อ.[[ปืนต่อสู้อากาศยาน]]เพียงเล็กน้อย แล้วการแซ่ซ้องยินดีของประชาชนชาวดัทช์ที่ออกมาจากบ้านแล้วร่มฉลองต้อนรับเหล่าทหารเมื่อมาถึงเมืองไอด์โอเฟน กองพันพลร่มที่ 2 ของสหรัฐอเมริกาก็ถูก กองพลน้อยรถถังแพนเซ่อร์(Panzer)ที่ 107 ตีแตกกระเจิงไม่เป็นชิ้นดี ในเส้นทางสายเดี่ยวที่จะออกไปยังเมืองอาร์นเฮม จนกองพันพลร่มที่ 2ขนานนามให้ทางสายนี้ว่า "ทางหลวงนรก" จนทำให้ฝ่ายเยอรมันจัดการกับสะพานที่จะขนถ่ายกำลังของอังกฤษให้การส่งกำลังพลล่าช้าในเวลาต่อมา