ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮาส์ (แนวดนตรี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sard112 (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 25:
ลักษณะเด่นขององค์ประกอบทั่วไปของแนวดนตรีเฮาส์คือการมี[[คิกดรัม]]ในทุกๆบีทหรือ[[โฟร์-ออน-เดอะ-ฟลอร์]]บีทในอีกชื่อหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะใช้[[ดรัมแมชชีน]]หรือ[[แซมเพลอร์]]ในการสร้างสรรค์เพลง เสียงของคิกดรัมถูกเสริมโดยคิกฟิลล์ที่หลายหลายผนวกเข้ากับดรอปเอ้าท์ที่ถูกยืดออก ร่องเสียงกลองถูกเติมเต็มด้วยฉาบแบบ[[ไฮ-แฮท]] ที่มักจะมีไฮ-แฮทเปิดบนโน้ตแปดนอกบีท (eighth note off-beats) ในแต่ละคิกเสมอๆรวมไปถึง[[สแนร์ดรัม]]หรือเสียงตบบนบีทที่สองและสี่ของทุกๆบาร์ด้วย รูปแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากจังหวะของเสียงกลองในการเต้น 'โฟร์-ออน-เดอะ-ฟลอร์' ของยุค 1960 และมือกลองดิสโก้ในยุค 1970 โปรดิวเซอร์มักจะแบ่งเสียงกลองตัวอย่างเป็นชั้นๆทำให้สามารถสร้างเสียงที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น พวกเขายังปรับการมิกซ์ของระบบเสียงในคลับขนาดใหญ่รวมทั้งเน้นเรื่องการลดความถี่ในช่วงระดับปานกลางซึ่งเป็นความถี่ระดับพื้นฐานของเสียงมนุษย์และไลน์เครื่องดนตรีระหว่างเบสและไฮ-แฮทอีกด้วย
 
โปรดิวเซอร์ใช้แหล่งเสียงที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปในแนวดนตรีเฮาส์ ตั้งแต่เสียงต่อเนื่องหรือการซ้ำการต่อเนื่องไลน์อิเลคโทรนิคบนเครื่องสังเคราะห์เสียงเช่น [[โรแลนด์]] [[เอสเอช-101]] หรือ [[ทีบี303]] เพื่อบันทึกหรือเก็บตัวอย่างการแสดงสดของมือเบสอิเลคโทรนิคหรือเพียงเพื่อกรองเสียงตัวอย่างจากการบันทึกระบบเสียงสเตอริโอของเพลงคลาสสิกฟังก์หรือเพลงอื่นๆ เบสไลน์ของเฮาส์ค่อนข้างจะชอบใช้โน้ตที่ตกอยู่ในช่วงซิงเกิล-ออคเทฟซึ่งก็คือในช่วงความแตกต่างระหว่างโน้ตตัวแรกกับตัวที่แปดในโน้ตคู่แปด ในขณะที่ดิสโก้เบสไลน์จะสลับระหว่างโน้ตในออคเทฟ-เซพาเรตและมักจะขยายช่วงเสียงให้กว้างขึ้น ผลงานเพลงแนวเฮาส์ในช่วงแรกๆนำเอาส่วนต่างๆของเบสไลน์จากเพลงดิสโก้ในยุคก่อนมาใช้เช่น โปรดิวเซอร์ มาร์ค 'ฮอตรอด' ทรอลแลนที่เลียนแบบส่วนเบสไลน์จากเพลงอิตาเลียนดิสโก้ที่ชื่อ 'ฟีลกู๊ด(แครอทแอนด์บีท)' โดยอิเลคทราทซึ่งร้องร่วมกับทารา บัทเลอร์ เพื่อสร้างผลงานทางดนตรี 'ยัวร์ เลิฟ' ของเขาเองในปี 1986 ร้องโดยเจมี พริ้นซิเพิล ในขณะที่[[แฟรงกี นักเคิลส์]]ได้ใช้โน้ตเดียวกันมาสร้าง 'ยัวร์ เลิฟ' ในเวอร์ชั่นเวอร์ชันของเขาที่ซึ่งประสบความสำเร็จมากกว่าในปี 1987 ซึ่งได้พริ้นซิเพิลมาช่วยร้องให้เช่นกัน
 
เสียงอิเลคโทรนิคและตัวอย่างจากการบันทึกเสียงจากเพลงชนิดต่างๆเช่น [[แจ๊ส]], [[บลู]]และ[[ซินธ์ป็อป]] มักจะถูกใส่ลงไปในฐานเสียงของดรัมบีทและซินธ์เบสไลน์ แนวดนตรีเฮาส์อาจรวมเอา ดิสโก้, โซล หรือเพลงสวดวิงวอนพระเจ้าและการเคาะเพอคัสชั่นอย่าง[[แทมเบอรีน]]มาใช้ การมิกซ์เพลงของเฮาส์ยังรวมถึงการซ้ำ, การตัดทอนเสียง, การลัดจังหวะดนตรีและการขาดตอนของลูปคอร์ทดนตรีซึ่งมักจะประกอบด้วย5-7คอร์ทในจังหวะ4-บีท
บรรทัด 31:
[[เทคโน]]และ[[แทรนซ์]]ซึ่งถูกพัฒนามาเรื่อยๆร่วมกับเฮาส์ได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานของบีทร่วมกันแต่จะพยายามหลบเลี่ยงอารมณ์แบบอิทธิพลทางดนตรีสดและอิทธิพลทางแนวเพลงละตินหรือเพลงของคนดำซึ่งมักจะนิยมแหล่งเสียงและการเข้าถึงเสียงแบบเสียงสังเคราะห์มากกว่า
 
== ประวัติความเป็นมา ==
=== ผู้บุกเบิก ===
 
แนวดนตรีเฮาส์เป็นผลผลิตที่พัฒนามาจาก[[ดิสโก้]]ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง[[โซล]], [[อาร์แอนด์บี]]และ[[ฟังก์]]เข้ากับข้อความการเฉลิมฉลองรื่นเริงที่สื่อถึงการเต้นรำ ความรักและเพศ ทั้งหมดนี้ถูกรวมเข้าด้วยกันด้วยการจัดการแบบซ้ำๆกับเสียงเบสอันสม่ำเสมอของดรัมบีท การรวมเสียงในเพลงดิสโก้บางเพลงนั้นสร้างขึ้นจากเครื่องสังเคราะห์เสียงและดรัมแมชชีน การประพันธ์เพลงบางบทก็เป็นแบบอิเลคโทรนิคเกือบทั้งหมดดังตัวอย่างของ จอร์จิโอ โมโรเดอร์กับผลงานในปลายทศวรรษที่ 1970 เช่นเพลงฮิตของดอนนา ซัมเมอร์ชื่อ 'ไอ ฟีล เลิฟ'จากปี 1977 และอีกหลายผลงานดิสโก้-ป็อปของ เดอะ ไฮ-เอ็นอาร์จี กรุ๊ป ไลม์ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980
เฮาส์ยังได้รับอิทธิพลจากเทคนิคการมิกซ์และการตัดต่อซึ่งถูกค้นพบโดย ดีเจดิสโก้ โปรดิวเซอร์และวิศวกรเสียงอย่างวอลเตอร์ กิบบอนส์, ทอม มูล์ตัน, จิม เบอร์เกส, แลร์รีย์ ลีแวน, รอน ฮาร์ดี้, เอ็็มเอ็มแอนด์เอ็มและอีกหลายๆคนที่ได้สร้างการจัดการเคาะของการบันทึกเพลงดิสโก้ที่มีอยู่ให้ซ้ำได้มากขึ้นและยาวขึ้น ส่วนโปรดิวเซอร์ของเฮาส์ในยุคเริ่มแรกอย่างแฟรงกี้ นักเกิ้ลส์นั้นได้สร้างสรรค์การประพันธ์ดนตรีที่คล้ายกันจากการสแครชโดยใช้แซมเพลอร์, เครื่องสังเคราะห์เสียง, ซีเควนเซอร์และดรัมแมชชีน
 
เพลงเต้นรำอิเลคโทรนิคที่มีมนต์สะกดอย่าง 'ออนแอนด์ออน' สร้างขึ้นในปี 1984 โดยดีเจชาวชิคาโก เจสซี ซวนเดอร์ซึ่งร่วมแต่งเพลงโดยวินซ์ ลอว์เรนซ์ มีองค์ประกอบที่กลายเป็นตัวหลักของเฮาส์ในยุคแรกเช่น เครื่องสังเคราะห์เสียงเบส303กับเสียงร้องน้อยๆ ซึ่งบางครั้งถูกกล่าวอ้างให้เป็น 'การบันทึกแนวดนตรีเฮาส์ชิ้นแรก' แม้ว่าตัวอย่างอื่นๆจากยุคเดียวกันอย่างเพลง 'มิวสิค อีส เอะ คีย์'(1985) ของเจ.เอ็ม. ซิลค์ก็เคยได้รับการเรียกเช่นนั้น
บรรทัด 47:
การบันทึกแผ่นเสียงของชิป อี.ในปี 1985 ที่ชื่อ 'อิส'ส เฮาส์' อาจมีส่วนช่วยในการขยายความของรูปแบบใหม่ของดนตรีอิเลคโทรนิคนี้ อย่างไรก็ตามชิป อี.ได้ให้ความไว้วางใจแก่สมาคมเดอะ นักเกิ้ลส์โดยกล่าวว่า ชื่อมาจากแนวคิดของการตั้งป้ายของการบันทึกเสียงที่ร้านแผ่นเสียง เดอะ อิมพอสเทส อีทีซีที่ซึ่งเป็นที่ๆเขาใช้ทำงานในช่วงต้นยุค 1980 เพลงต่างๆมากมายที่ดีเจ นักเกิ้ลส์ได้เคยเปิดแผ่นที่เดอะ แวร์เฮาส์ถูกตั้งป้ายขึ้นว่า 'ดังได้ฟัง ณ. เดอะ แวร์เฮาส์' ซึ่งถูกเรียกสั้นๆง่ายๆว่า เฮาส์ บรรดาผู้สนับสนุนภายหลังได้ถามถึงเพลงใหม่ๆซึ่งชิป อี.ได้แจ้งว่าเป็นความต้องการที่ทางร้านได้พยายามจะหาโดยการสะสมเพลงฮิตใหม่ๆของคลับ
 
แลร์รีย์ เฮิร์ด หรือ 'มิสเตอร์ ฟิงเกอร์ส' กล่าวว่าคำว่า เฮาส์ นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่าดีเจหลายคนได้สร้างสรรค์งานเพลงของเขาที่บ้านโดยการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงและดรัมแมชชีนรวมไปถึง โรแลด์ ทีอาร์-808, ทีบี-909และเครื่องสังเคราะห์เสียง-ซีเควนเซอร์ เบสไลน์ ทีบี 303 เครื่องสังเคราำะห์สังเคราะห์เสียงเหล่านี้ถูกใช้เพื่อสร้างสรรค์แนวเพลงย่อยอย่าง[[เอซิดเฮาส์]]
 
ฮวน แอทคินส์ ผู้เริ่มสร้างแนวเพลงเทคโนของดีทรอยต์อ้างว่าคำว่า เฮาส์ สะท้อนให้เห็นถึงการประสานอย่างเฉพาะตัวของตัวเพลงกับดีเจ 'เพลงเหล่านั้นคือการบันทึกแผ่นเสียง เฮาส์ ของพวกเขา(เหมือนกับร้านอาหารที่จะต้องมีน้ำสลัดเป็นของตัวเอง)'
บรรทัด 71:
หลายๆเพลงที่แสดงถึงแนวดนตรีแบบชิคาโกเฮาส์นั้นถูกปล่อยออกมาโดยดีเจ อินเตอร์เนชั่นนอล เร้กคอร์ทและแทร็กซ์ เร้กคอร์ท ในปี1985 แทร็กซ์ได้ปล่อย 'แจ๊ค เอะ เบส' และ 'ฟังกิ้ง วิท เดอะ ดรัม อะเกน' โดย ฟาร์เลย์ แจ๊คมาสเตอร์ ฟังก์และในปีต่อมาแทร็กซ์ปล่อย 'โน เวย์ แบ็ก' โดย อโดนิส, 'แคน ยู ฟีล อิท?' และ 'วอชชิ้ง แมชชีน' ของ แลร์รีย์ เฮิร์ด(ฟิงเกอร์ อิงซ์ ณ.ขณะนั้น)และเพลงสดุดีแนวเฮาส์อย่าง 'มูฟ ยัวร์ บอดี้' โดยมาแชล เจฟเฟอร์สันซึ่งช่วยเพิ่มกระแสความนิยมในตัวแนวดนตรีเฮาส์ไปสู่นอกเมืองชิคาโก
 
ในปี 1987 เพลงของ[[สตีฟ 'ซิลค์' เฮอร์เล่ย์]]อย่าง '[[แจ๊ค ยัวร์ บอดี้]]' เป็นเพลงเฮาส์เพลงแรกที่ได้ก้าวเข้าสู่ ยูเค ท๊อป 40 ป็อปชาร์ตเป็นอันดับที่1 ซึ่งในปีนี้ยังมี '[[ปั๊มอัพเดอะโวลุ่ม]]' ของ [[MARRS|เอ็ม/เอ/อาร์/อาร์/เอส]] อีกหนึ่งเพลงที่ได้อันดับที่หนึ่ง ในปี 1989 เฮอร์เล่ย์เปลี่ยนเพลง[[บัลลาด]]นุ่มๆของโรเบอร์ตา แฟลคอย่าง 'อู้ โอ้ ลุค เอ้าท์' ให้กลายเป็นเพลงเต้นรำเอะอะอึกทึก 'ธีม ฟร์อม เอส'เอ็กซ์เพลส'ของวง เอส'เอ็กซ์เพลสเป็นตัวอย่างหนึ่งของเพลงที่ได้รับอิทธิจากดิสโก้ในทำนองแบบฟังกี้ เอซิดเฮาส์ ในเพลงนี้ได้ใช้แซมเปิ้ลจากเพลงของ โรส รอยซ์ที่ชื่อ 'อีส อิท เลิฟ ยู อาร์ อาฟเตอร์'ที่เกิดจากโรแลนด์303 เบสไลน์ ในปี 1989 'ไร้ด์ ออน ไทม์' ของ แบล็กบ๊อกซ์ซึ่งใช้แซมเปิ้้ลแบบดิสเปิ้ลแบบดิสโก้ฮิตจากเพลง 'เลิฟ เซนเซชั่น'ของโลเอตต้า ฮอลโลเวย์ ติดชาร์ตเป็นอันดับ1ใน ยูเค ท๊อป 40 นอกจากนี้เพลง 'ปั๊ม อัพ เดอะ แจม' ของ [[เทคโนโทรนิค]]ยังเป็นหนึ่งในแผ่นบันทึกเสียงแนวเฮาส์ที่สามารถตี ท๊อป 10 บน ยูเอส ป๊อป ชาร์ต หนึ่งปีถัดมา เพลง 'โว้ค' ของ มาดอนนาได้เข้ามาเป็นเพลงฮิตอันดับ1ทั่วโลกกลายเป็นซิงเกิ้ลที่ขายดีที่สุดใน ดับเบิ้ลยูเอ ณ.เวลานั้น ในปี 1992 เพลง 'รีลีส เดอะ เพลสเชอร์' ของเลฟฟิวส์ช่วยเปิดตัวแนวเพลงย่อยน้องใหม่ที่เรียกว่า[[โปรเกรสซีฟเฮาส์]]
 
แนวดนตรีเฮาส์ยังมีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดข้อความเกี่ยวกับการเมืองการปกครองแก่กลุ่มบุคคลผู้ที่ถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมอีกด้วย มันปรากฏต่อผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมกับสังคมหลักของอเมริกาได้ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะถูกใช้โดยกลุ่มชายชาวแอฟริกัน-อเมริกัน แฟรงกี้ นักเกิ้ลส์ได้ทำการเปรียบเทียบในทางที่ดีของเฮาส์ว่าเป็นเสมือนกับโบสถ์ของผู้ที่ร่วงหล่นลงมาจากความสุภาพสง่างามในขณะที่มาแชล เจฟเฟอร์สันเปรียบเฮาส์เป็นดั่งศาสนาเก่าแก่ที่ผู้คนต่างยินดีที่ได้กรีดร้องอย่างมีความสุข ดีปเฮาส์นั้นมีความคล้ายคลึงกับข้อความแห่งอิสรภาพหลากหลายข้อความสำหรับชุมชนคนผิวดำ ทั้งซีดีเฮาส์ 'พรอมิสต์ แลนด์'ของ โจ สมิธและ 'ไอ แฮฟ อะ ดรีม' ของดีบีต่างมีข้อความที่มีลักษณะคล้ายกับบทปาฐกถาอย่าง 'ไอ แฮฟ อะ ดรีม' ของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง 'ซัมเดย์' โดยซีซี โรเจอร์ได้ผลักดันให้เกิด[[กอสเปลเฮาส์]] นอกจากนี้เฮาส์ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับเพศที่มีความลึกลับ มันไปไกลถึงขนาดว่ามีความเพ้อคลั่งเกี่ยวกับการกระตุ้นทางเพศอันลึกลับ เพลง 'เบบี้ ว๊อนส์ ทู ไร้ด์' ของ เจมี พริ้นซิเพิลเริ่มจากการเป็นนักสวดแต่ที่น่าแปลกใจคือเนื้อหาของเพลงได้พูดถึงหญิงผู้ซึ่งเป็นภรรยาลับที่ต้องการให้ผู้ชาย'ขี่'เธอตลอดทั้งเพลง
 
[[เฮาส์แดนซ์]]เป็นแนวที่มีความเก่าแก่กว่าเฮาส์เสียอีกเนื่องจากมันเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ตอนปลายแห่งยุคดิสโก้อันเป็นช่วงเวลาของไนท์คลับอย่าง แวร์เฮาส์ของชิคาโกและลอฟ แอนด์ พาราไดส์ การาจจากนิวยอร์คจจากนิวยอร์ก เฮาส์แดนซ์นำเอาองคืประกอบการเต้นมาจากหลากหลายแหล่งเช่น ยุคลินดี้, แอฟริกัน, ละติน, บราซิลเลียน, แจ๊ส, แ๊ท๊ปแท๊ปและแม้กระทั่งสมัยนิยมอย่างโมเดิร์น
 
เฮาส์แดนซ์เป็นที่ถูกถกเถียงกันเรื่อยมาว่าสามารถแตกออกเป็นสามสไตล์อันได้แก่ ฟุตเวิร์ค, แจ๊คกิ้งและลอฟติ้ง รวมไปถึงเทคนิคอันหลากหลายและสไตล์ย่อยอย่าง สเก๊ตติ้ง, สต๊อมปิ้งและชัฟเฟิลลิ้ง นอกจากนี้ยังรวบรวมเอาการเคลื่อนไหวจากแหล่งต่างๆอย่าง แว้กกิ้ง, โวกูอ้ง, คาโปเอร่า, แท๊ปและการเต้นรำแบบละตินอย่าง ซัลซา ความหลากหลายที่กว้างขวางของการเคลื่อนไหวมาจาก แจ๊สและสไตล์ของบีบ๊อปหรือแม้กระทั่งจากการสืบสายมาจากแอฟริกันและละติน