ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ในปี พ.ศ. 2519 นายแพทย์ขจร และ คุณหญิงนิธิวดี อ้นตระการ พร้อมด้วยบุตร-ธิดา ได้มีศรัทธาถวายที่ดินเพื่อขอให้สร้างวัด 2 ครั้งเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่เศษ ต่อมาคณะผู้สร้างวัดได้ซื้อที่ดินเพิ่มรวมได้เนื้อที่ 366 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา ไม่รวมถึงพื้นที่ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัว รัชกาลที่ 9 ประมาณ 2,500 ไร่
วัดญาณสังวราราม คณะผู้สร้างวัดมุ่งที่จะสร้างเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ และ พระบรมจักรีราชวงศ์ ในฐานะที่ทรงแสดงพระองค์เป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภ์ มีการสร้างปูชนียสถานสำคัญๆ เพื่อเทิดพระเกียรติ ดังนี้
'''1. '''อุโบสถ'''''' ขนาดกว้าง 13.30 เมตร ยาว 21.00 เมตร สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบรีมหาราช โดยดัดแปลงจากแบบพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
'''2. พระพุทธปฏิมาประธานประจำอุโบสถ''' ได้รับการถวายพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์" สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีขนาดประมาณองค์พระพุทธชินสีห์ในประอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร หน้าพระเพลา 5 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางเททองหล่อ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2523 ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรวิหาร
'''3. พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์''' สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระบรมราชวงศ์จักรี มีฐานกว้าง 39.00 เมตร สูง 39.00 เมตร และได้เริ่มดำเนินการสร้างมาตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2524 ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ เพื่อการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ชั้นที่สองประดิษฐานพระเจดีย์ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีชนวนจากพื้นปฐพีถึงที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ด้านนอกชั้นที่สามมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือ พระภปร.ด้านหน้า พระไพรีพินาศ(ด้านขวาของพระภปร. ) และพระชินราชสีหศาสดา (ด้านซ้ายของพระ ภปร.) ส่วนชั้นที่ 2 เป็นซุ่มตราพระมหาจักรีซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอันเชิญขึ้นประดิษฐานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2528
'''4. พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร.สก. ''' มีขนาดกว้าง 9.00 เมตร สูง 33.00 เมตร ปรารภสร้างด้วยความซาบซิ้งในพระคุณของพระพุทธเจ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งยิ่งใหญ่พ้นพรรณา เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ก็ได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อันเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก. ประดิษฐานที่องค์พระมหามณฑป
'''5. ศาลาอเนกกุศล สว.กว.''' สร้างเป้นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กว้าง 17.00 เมตร ยาว 31.00 เมตร น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ และสมเด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2526 ใช้เป็นศาลาฉัน
'''6. พระพุทธปฏิมา อปร.มอ. ประจำศาลาอเนกกุศล สว.กว.''' สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ "อปร." ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระนามภิไธยย่อ "มอ." ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกนาถประดิษฐานที่ผ้าทิตย์ "อปร.มอ." เป็นพระปางสมธิแบบพระ ภปร. หน้าพระเพลา 5 ศอก 1 คืบ 8 นิ้ว
'''7. ศาลาอเนกกุศล มวก.สธ. ''' มีขนาดกว้าง 17.40 เมตร ยาว 21.00 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ชั้นล่างแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 จัดเป็นห้องเก็บวัสดุ ตอนที่ 2 ซึ่งอยู่ใต้ฐานซุกซีพระพุทธไพรีพินาศ จัดเป็นถังเก็บน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค ตอนที่ 3 จัดเป้นห้องเรียนพระปริยัติธรรมและห้องสมุดวัด ชั้นบนพื้นปูหินอ่อนไทย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไพรีพินาศ ใช้เป็นที่สวดมนต์ทำวัตรค่ำ อบรมกัมมัฎฐานเจริญจิตภาวนา เป็นต้น สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
 
นอกจากนี้ คณะผู้สร้างวัดญาณสังวราราม ยังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพรหมเทพ เทวา มีองค์ ท้าววิรุฬหกมหาราช ท้าวมหาราชจตุโลกบาลแห่งทิศทักษิณ ซึ่งให้ความดูแลรักษาพระพุทธศาสนา และ ประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในโลกบาลทิศใต้ โดยสร้างเทวาลัยถวาย อย่างสง่างามชื่อ '''"วนอุทยานจตุรังสี"''' และ'''สร้างศาลาท่านท้าวริรุฬหรมหาราช พุทธบัณฑิต ''' กว้าง 14.00 เมตร ยาว 24.00 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สำหรับเป็นที่พักอาศัยของพุทธศาสนิกชน ผู้มาประพฤติปฏิบัติรักษาศีลฟังธรรมและเจริญจิตภาวนาระยะสั้น 3 - 7 วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางพระสุหร่าย ทรงเจิมพระรูปท่านท้าววิรุฬหกมหาราช ทั้งสองพระรูป แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่หน้าบันทั้งสองข้าง เมื่องวันที่ 27 มิถุนายน 2527 สร้างถวายกุศลท่านท้าววิรุฬหกมหาราชโลกบาล