ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอทีวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนกล่องข้อมูล
บรรทัด 48:
 
บริษัทผู้เข้าประมูล มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ <ref>http://www.oknation.net/blog/adisak/2006/12/18/entry-1/comment</ref> คือ
*กลุ่มสยามทีวี มีแกนหลักคือ [[ธนาคารไทยพาณิชย์]], กลุ่ม[[บริษัท สหศินิมา จำกัด|บจก.สหศินิมา]](มี[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]]ถือหุ้นใหญ่), กลุ่มหนังสือพิมพ์[[เดลินิวส์]], กลุ่มบอร์นของนาย[[บริษัท บอร์น แอนด์ เอสโซซิเอทท์ จำกัด|บจก.บอร์น แอนด์ เอสโซซิเอทท์]] ของนาย[[ไตรภพ ลิมปพัทธ์]], [[สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น]], [[หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ย]] และ[[หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว]] กลุ่มนี้เสนอผลตอบแทนสูงสุดประมาณปีละ 1000 ล้านบาท ตลอดทั้งอายุสัมปทาน 25 ปี ประมาณ 25000 ล้านบาท
*กลุ่มผู้ผลิตรายการ ประกอบด้วย กลุ่ม[[เนชั่น มัลตืมีเดีย กรุ๊ป |เครือเนชั่น]], กลุ่ม[[บริษัท แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด|บจก.แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่นส์]] ของนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา โดยมี ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นผู้ควบคุมเนื้อหา, กลุ่ม[[บริษัท มติชน จำกัด(มหาชน)|บมจ. มติชน]] และกลุ่ม [[บริษัท สามารถ คอปเปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)|บมจ.สามารถ คอร์ป]] กลุ่มนี้ได้คะแนนเนื้อหาเป็นอันดับหนึ่ง แต่เสนอผลตอบแทนตามเกณฑ์ขั้นต่ำประมาณปีละ 500 ล้านบาท
 
ในปี พ.ศ. 2538 ผลการประมูล สรุปว่า กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ในเครือ[[ธนาคารไทยพาณิชย์]] ได้รับสัมปทานและอนุมัติ ให้เป็นผู้ดำเนินงานบริหารสถานีฯ เป็นเวลา 30 ปี (สิ้นสุดวันที่ [[3 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2568]]) โดยให้ออกอากาศทางช่อง 26 จาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ค่าสัมปทาน 25,200 ล้านบาท จากราคากลาง 10,000 ล้านบาท และได้มีการลงนามในสัญญากับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เมื่อวันที่ [[3 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2538]] โดยมีนาย[[อภิลาศ โอสถานนท์]] ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงนามสัญญากับนาย[[เกษม จาติกวณิช]] ประธานกรรมการ และนาย[[โอฬาร ไชยประวัติ]] รองประธานกรรมการบริษัท สยาม อินโฟเทนเมนท์ จำกัด
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไอทีวี"