ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อูมามิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
Boomkk (คุย | ส่วนร่วม)
ดรงอิเคดะ เป็น ดร.อิเคดะ
บรรทัด 25:
 
== เภสัชวิทยาของรสอูมามิ ==
[[ไฟล์:umami_receptor.jpg|thumb|right|220px|umami recptor]]แต่เดิมเชื่อว่ารสอูมามินั้นเกิดจากการผสมผสานของรสชาติหลักทั้ง 4 รส แต่จากการค้นพบของ ดรงอิเคดะดร.อิเคดะ และการศึกษาการรับรสชาติต่างๆ ในมนุษย์พบว่า รสอูมามิเป็นรสชาติที่มีความแตกต่างจากรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม โดยสิ้นเชิง ในปัจจุบันหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เชื่อได้ว่ามีตัวรับรส ([[taste receptors]]) จำเพาะที่เมื่อถูกกระตุ้นแล้วทำให้เกิดรสอูมามิได้ โดยนักวิจัยพบว่ามีตัวรับรสอูมามิอยู่หลายชนิดด้วยกัน
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2000 กลุ่มวิจัยจากสหรัฐอเมริกาได้ทำการค้นพบตัวรับรสอูมามิชนิด metabotropic glutamate receptor type 4 ([[mGluR4]]) บนลิ้น<ref>Chaudhari, N, Yang H, Lamp C, Delay E, Cartford C, Than T, Roper S. The taste of monosodium glutamate: Membrane receptors in taste buds. J Neurosci 1996;16:3817-26.</ref><ref>Kurihara, K. & Kashiwayanagi, M. Introductory remarks on umami taste. Ann NY Acad Sci 1998;855:393-7.</ref>ซึ่งมีความแตกต่างจาก mGluR4 ที่พบในสมอง นั้นคือ mGluR4 ที่อยู่บนต่อมรับรส (taste bud) จะพบในรูป truncate form คือมีส่วนที่ยื่นออกมาจากผิวของ taste recptor cell (TRCs extracellular domain) สั้นกว่า และความแตกต่างนี้ทำให้ความชอบ (affinity) ของ taste mGluR4 และ brain mGluR4 มีความแตกต่างกัน โดยพบว่าต้องใช้กลูตาเมตในการกระตุ้น taste mGluR4 ด้วยความเข้มข้นสูงกว่า brain mGluR4<ref>Purves D, Augustine GJ, Fitzpatrick D, Katz LC, LaMantia A, McNamara JO, et al. Neuroscience. 2nd ed. Sunderland: Sunderland (MA) : Sinauer Associates, Inc.;2001.</ref>
ไม่กี่ปีให้หลัง ก็ได้มีงานวิจัยยืนยันว่ามีตัวรับรสชนิดจับต่างคู่ (heterodimers) ของตัวรับรส T1R1 และ T1R3 ที่มีบทบาทในการรับรู้รสอูมามิของมนุษย์<ref>Li X, Staszewski L, Xu H, Durick K, Zoller M, Adler E. Human receptors for sweet and umami taste. Proc Natl Acad Sci USA 2002;99 (7) :4692-6.</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/อูมามิ"